18 ส.ค. 2023 เวลา 07:12 • ความคิดเห็น
อยากเล่นโทรศัพท์ให้น้อยลง ควรทำไงดี ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องเล่นตลอด ช่วยแนะนำทีครับ อยากเลิกติดโทรศัพท์ ?
คำถามนี้ถูกลบ
ลอง "ปฏิบัติ (ภาวนา)" ดูค่ะ
ส่วนตัวเราเริ่มปฏิบัติตาม "แนวทางของพระอาจารย์ต้น ธรรมนาวา" มาได้เกือบจะสองเดือนแล้วค่ะ ซึ่งตอนแรกเราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อหวังที่จะพัฒนาตัวเองนะคะ แต่เราทำเพราะเราอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร
แต่ปรากฏว่าผลการปฏิบัติมันส่งผลต่อ "พฤติกรรม" ของเรามาก ๆ เลยค่ะ
ซึ่งเราเดาว่ามันน่าจะเป็นเพราะการปฏิบัติมันคือการที่เราทำงานกับจิตของตัวเอง และเนื่องจากจิตเป็นสภาพที่แสดงความรู้สึก ความจำ ความคิด และการรับรู้ ซึ่ง "เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม" ของเรา เมื่อสภาพโดยรวมของจิตเปลี่ยน พฤติกรรมจึงเปลี่ยนตามไปด้วย
ขั้นตอนแรกของการปฏิบัติตามแนวทางพระอาจารย์ต้นคือ "การระลึกถึงพระรัตนตรัย"
การระลึกถึงพระรัตนตรัยสามารถทำได้โดยการ "นึกคิดในใจย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ" ว่า...
พุทโธ เม นาโถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ธัมโม เม นาโถ พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
สังโฆ เม นาโถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
(ถ้าจะให้ดีควรศึกษาทำความเข้าใจในความหมายของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ให้แจ่มแจ้งก่อนนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจเกิดความลังเลสงสัยได้)
โดยให้ระลึกถึงบทนี้ "ตลอดเวลา" ที่ไม่ได้กำลังฟัง พูด อ่าน เขียน และใช้ความคิดอยู่
จากความเข้าใจของเรา การที่การระลึกถึงพระรัตนตรัยสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเราได้ เป็นเพราะการระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นการฝึกจิตให้ "เลิกยึดโยง" กับความรู้สึก ความจำ ความคิด และการรับรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการแสดงพฤติกรรม
ยกตัวอย่างกรณี "พฤติกรรมติดโทรศัพท์" แล้วกันค่ะ
ก่อนที่เราจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่นจนนำไปสู่ความเพลินในการเสพสื่อ กระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นคือ...
การรับรู้: เห็นโทรศัพท์ -> ความจำ: 'การเล่นโทรศัพท์มันเคยทำให้เราลืมความทุกข์ได้นี่นา' -> ความคิด: 'เราจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมานอนเล่นอย่างมีความสุขบนเตียงที่แสนนุ่มในห้องที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำ' -> พฤติกรรม: หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น ... แล้วก็เพลินยาวไป~
ซึ่งจากประสบการณ์ของเรา บางครั้งกระบวนการนี้อาจไม่ได้เริ่มต้นที่การรับรู้ แต่อาจมา "เริ่ม" ที่ความจำเลยก็ได้
แต่การระลึกถึงพระรัตนตรัยคือการหาที่เกาะเกี่ยวและสร้างสติให้กับจิต มันจะทำให้จิตไม่จมไปกับความรู้สึก ความจำ ความคิด และการรับรู้จนโงหัวไม่ขึ้น แต่มันเป็นการฝึกให้จิตเป็น "ผู้ดู"
ดังนั้น เราจะรู้เท่าทันความรู้สึก ความจำ ความคิด และการรับรู้ของจิต และเมื่อเรารู้เท่าทัน เราจึงจะสามารถเลือกทำพฤติกรรมที่ "อยากทำหรือควรทำ" ได้ ไม่ใช่ทำไปตามการบงการของจิต
ถ้าฝึกไปเรื่อย ๆ จะเห็นได้ชัดเลยว่า "ทุกพฤติกรรมที่เราแสดงออกมานั้น มันมีความคิดนำหน้ามาก่อนเสมอ" แม้แต่การลุกเดินไปเข้าห้องน้ำก็เช่นกัน
และเมื่อจิต "ชิน" กับการเป็นผู้ดูแล้ว เมื่อนั้นเราจึงจะสามารถใช้ชีวิตตามเจตจำนงของเราได้อย่างแท้จริง
สามารถศึกษาแนวทางการปฏิบัติของพระอาจารย์ต้น ธรรมนาวาเพิ่มเติมได้ที่...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา