22 ส.ค. 2023 เวลา 15:16 • การเมือง

ชัยวุฒิ แห่ง DES เตรียมปิด Facebook ในไทยภายใน 1 เดือน

ข่าวด่วนจาก Breaking Pop
Instant Pop
1
วันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) พร้อมด้วยศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายธวัชชัย พิทยโสภณ รักษาการเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้แถลงการณ์เกี่ยวกับ Facebook
1
นายชัยวุฒิกล่าวว่า “DES อยู่ระหว่างการเรียบเรียงหลักฐานจากผู้กระทำความผิดบน Facebook เพื่อส่งศาลให้มีการปิด Facebook ภายในสิ้นเดือนนี้ และขอให้ศาลสั่งปิด Facebook ภายใน 7 วัน เนื่องจากแพลตฟอร์มได้รับการโฆษณาจากผู้กระทำความผิด และหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อในการลงทุนและซื้อสินค้าบน Facebook”
4
“ที่ผ่านมามีผู้เสียหายมากกว่า 200,000 ราย จาก 300,000 ราย มีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านบาท ถ้า Facebook อยากทำธุรกิจในประเทศไทย เขาต้องแสดงความรับผิดชอบกับสังคมไทย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงได้คุยกับ Facebook อยู่ตลอด แต่กลับไม่สกรีนผู้มาลงโฆษณา ทำให้ประชาชนชาวไทยได้รับความเสียหายมูลค่าหลายล้านบาท”
10
โดยทาง DES ได้มีการส่งหนังสือขอให้บริษัท META (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Facebook ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจาก ‘มีการซื้อขายโฆษณาบนแพลตฟอร์มและส่งข้อมูลให้ Facebook ทำการปิดกั้นโฆษณาหลอกลวงไปแล้วกว่า 5,301 โฆษณา/เพจปลอม’ อีกด้วย
6
นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า “ทั้งนี้จะมีการแนะนำให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มด้วย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย ขณะที่ทางดีอีเอสจะประสานกับทางตำรวจทำการรวบรวมหลักฐานเพื่อฟ้องต่อศาลเพื่อปิดกั้นแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กไม่ให้บริการในไทย เนื่องจากผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ ในการสบคบกับผู้กระทำผิด โดยการรับเงินโฆษณาจากมิจฉาชีพเหล่านี้”
5
“การเสนอปิดกั้นเฟซบุ๊กนั้นเป็นการทำตามหน้าที่ ที่ผ่านมาพบการซื้อโฆษณามาหลอกลวงคนไทยจำนวนมาก โดยจะดำเนินการภายในเดือนนี้ แล้วก็มีดุลยพินิจของศาลว่าจะมีคำสั่งปิดกั้นหรือไม่ เป็นอำนาจของศาล และแพลตฟอร์มก็มีสิทธิร้องคัดค้าน ส่วนจะเป็นการกระทบสิทธิของผู้ใช้งานทั่วไปหรือไม่นั้น ก็คงต้องให้ศาลเป็นผู้พิจารณา และก็ไม่กลัวทัวร์ลง”
“โดยตนจะขอทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ฟ้องเฟซบุ๊กเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด ถือเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายก่อนลงจากตำแหน่งรัฐมนตรี”
7
แถลงการณ์โดย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES)
1
โดยสรุปก็คือ นายชัยวุฒิ ได้มองว่า ทาง Facebook ได้รับเงินจากการโฆษณาของผู้กระทำความผิดมิจฉาชีพในการลงโฆษณา และหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อในการลงทุนและซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก โดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งทาง DES ก็ได้รวบรวมเสนอศาลเพื่อขอสั่งปิดไปแล้ว แต่ทางเพจก็มีการเปิดใหม่เรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้นสักที
อุบายของมิจฉาชีพในเฟซบุ๊กหลอกลงทุน หรือ โจรไซเบอร์
เรามาดูอุบายต่างๆของมิจฉาชีพ หรือโจรไซเบอร์กันบ้างว่า มีรูปแบบอย่างไร มักมาในรูปแบบไหน เพื่อเป็นการป้องกันระวังภัยกัน
1
ปัจจุบันโจรไซเบอร์ หรือมิจฉาชีพจะหลอกให้ประชาชนหลงเชื่อและโอนเงินออกจากบัญชีด้วยกลวิธีใหม่ๆ เช่น การเทรดเหรียญดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์, การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล, การลงทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศ และการลงทุนหุ้นในเครือบริษัทชื่อดัง โดยกลอุบายจะมาในรูปแบบดังต่อไปนี้
1. มิจฉาชีพมักจะมีการโฆษณาชักชวนโดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงเกินจริง โดยใช้เวลาลงทุนไม่นานและง่ายดาย เป็นอีกรูปแบบที่ทำให้มีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนมากเพราะคาดหวังในผลตอบแทนดังกล่าว เช่น เงินลงทุน 10,000 บาท ระยะเวลา 15 วัน จะได้รับกำไร 50%
1
2. การันตีผลตอบแทน โดยกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน เช่น 30% ต่อสัปดาห์ หรือการการันตีว่าจะได้รับผลตอบแทนแน่นอน หากลงทุนไม่เป็นก็มีผู้เชี่ยวชาญคอยลงทุนให้
3. อ้างชื่อบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือมีการนำภาพของดารา ศิลปิน หรือนักธุรกิจชื่อดังต่าง ๆ มาแอบอ้างว่าบุคคลเหล่านั้นก็ร่วมลงทุนด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการลงทุน
4. ไม่สามารถตรวจสอบธุรกิจได้ หากมีการชักชวนให้ร่วมลงทุนแต่ไม่มีสินค้า ไม่มีแผนธุรกิจ หรืออ้างว่าแพลตฟอร์มอยู่ต่างประเทศ ทำให้ตรวจสอบข้อมูลการเงินไม่ได้ ก็เข้าข่ายว่าอาจจะเป็นมิจฉาชีพ
1
5. ให้รีบตัดสินใจลงทุน โดยมักจะเสนอสิทธิพิเศษเฉพาะช่วงเวลาเหล่านั้นให้ เช่น หากไม่ลงทุนตอนนี้จะพลาดโอกาสที่ได้ผลตอบแทนดี ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รีบตัดสินใจลงทุน
สถิติคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในไทย
ที่ผ่านมามีผู้เสียหายจำนวนมากกว่า 200,000 รายหรือประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์จาก 300,000 ราย มีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 10,000 ล้านบาท โดยพบว่า
  • ก่อน พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมไซเบอร์ ( 1 ม.ค.- 16 มี.ค. 66) เฉลี่ย 790 เรื่องต่อวัน ขณะที่สถิติการอายัดบัญชี ก่อนมี พ.ร.ก. มีการขออายัด1,346 ล้านบาท อายัดทัน 87 ล้านบาท คิดเป็น 6.5 %
  • หลังมี พ.ร.ก. (17 มี.ค.- 31 ก.ค.66) เกิดรวม 80,405 คดี เฉลี่ย 591 คดีต่อวัน
พบว่า หลังมี พ.ร.ก.ปราบอาชญากรรมไซเบอร์ สถิติการเกิดคดีลดลงเฉลี่ย 199 คดี/วัน และมีการขออายัด 2,792 ล้านบาท อายัดทัน 297 ล้านบาท คิดเป็น 10.6 %
กฎหมายในการเอาผิด Facebook
1. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14 ส่วนความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2
2. พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ที่มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.66 เพื่อช่วยดูแลคุ้มครองผู้ถูกหลอกลวง ช่วยระงับยับยั้งการโอนเงินและติดตามเงินคืนได้ทันมากขึ้นโดยเจ้าของบัญชีม้าหรือเบอร์ม้า จะมีโทษทางอาญาหนัก จำคุก 3 ปี หรือ ปรับ 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2
รวมถึงผู้ที่ได้เป็นธุระจัดหา โฆษณา ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หมายเลขโทรศัพท์ก็มีโทษอาญาหนักเช่นกัน คือ จำคุกตั้งแต่ 2-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2-5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1
ผลกระทบของการปิด Facebook ในประเทศไทย
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า Facebook ถือเป็นโซเชียลมีเดีย ที่คนไทยใช้มากสุดปี 2023 กันเลยทีเดียว โดยสถิติจาก datareportal เว็บไซต์การเก็บข้อมูลดังของโลก ได้กล่าวว่า Facebook ยังคงเป็นโซเซียลมีเดียที่คนไทยเล่นกันมากที่สุดในปี 2023 ถึงแม้ว่า ตอนนี้จะมี Tiktok ที่เข้ามาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว โดยมีผู้ใช้ 48.10 ล้านคนในประเทศไทยในช่วงต้นปี 2023
ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเลยว่า ถึงแม้ว่า จำนวนจะลดลงจากปีก่อนๆ แต่ Facebook ก็ยังครองอันดับ 1 ที่มีคนไทยใช้งานมากสุด ดังนั้นหาก Facebook ต้องปิดตัวจริงในประเทศไทย อาจจะส่งกระทบผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
1. ร้านค้า พ่อค้า แม่ค้า
: มีร้านค้า หลายแบรนด์มากมาย ที่เปิดร้านออนไลน์ผ่านทางเพจของ Facebook ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook Market ก็เป็น 1 ในช่องทางรายได้ของพ่อค้า แม่ค้าหลายๆคน หาก Facebook ถูกปิดไป ก็อาจเป็นการปิดช่องทางการค้าขายของพ่อค้าแม่ค้าไปอีก 1 ทางใหญ่ๆกันเลย
1
2. Influencer
: นอกจากรายได้จากร้านค้าออนไลน์แล้ว หลายคนก็ได้เป็น Influencer จาก Facebook เช่นกัน ซึ่งการปิดตัวในประเทศไทย อาจทำให้ช่องทางของ Influencer ต้องปิดไปด้วย
3. นักธุรกิจ และคนทั่วไป
: แน่นอนว่า หลายคนยังใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสาร ติดต่องาน ติดต่อธุรกิจ ซึ่งหากบางคนเล่นเพียง Facebook อย่างเดียว ก็อาจจะต้องรีบสมัครช่องทางอื่นๆเพื่อรองรับ ไหนจะเรื่องข้อมูลต่างๆที่อยู่ใน Facebook ที่สำคัญๆ หรืออยากเก็บไว้อีก ต้องทำเรื่องสำรองข้อมูลกันเยอะแน่ๆ
2
ซึ่งจากคอนเมนต์ของผู้ใช้งาน ก็มีทั้ง 2 ทางทั้ง เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่ส่วนมากจะไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุด เหมือนเป็นการปิดกั้นช่องทางการรับข่าวสารอีกด้วย หลายคนยังใช้ Facebook ในการหารายได้ ในการติดต่อสื่อสาร และเป็นคลังเก็บข้อมูลอีก
แต่ถ้ามองจากวิกฤติให้เป็นโอกาส ก็อาจมองได้ว่า นี้อาจจะเป็นโอกาสที่ทำให้โซเซียลมีเดียอื่นๆ จะได้เติบโตในประเทศไทยก็ได้ เช่น Blockdit นี้
1
แต่ถึงอย่างไร .. เราต้องมาลองดูกันว่า ทาง META (Thailand) กันว่าจะออกมาตอบโต้อย่างไรบ้าง หรือจะมีแผนนโยบายอะไรในการรองรับปัญหานี้ เพื่อที่จะทำให้ Facebook ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย บางทีเราอาจจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ออกมารองรับในการแก้ไขปัญหาโจรไซเบอร์กันก็ได้นะ
หากมีข่าวสารอัพเดตอย่างไร ทาง Instant Pop จะมาอัพเดตข้อมูลให้ทุกคนอีกครั้ง
อ้างอิง
———————————————
หากคุณอยากได้การจัดงาน #Event แบบเต็มรูปแบบและครบวงจร ในส่วนของระบบลงทะเบียนหน้างาน หรือต้องการทำงาน Trade ในรูปแบบ Business Matching รวมไปถึงงาน Live Streaming และงาน #Virtual ต่างๆ สามารถติดต่อเราได้ที่ ..
Website : www.eventpass.services
LINE Official @eventpassservices
#Eventpass #Eventpassinsight #Eventpassservices

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา