26 ส.ค. 2023 เวลา 12:47 • ประวัติศาสตร์

“อินเดีย” ขึ้นแท่นสู่มหาอำนาจใหม่แห่งเอเชียใตเ

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อินเดียนำยาน “จันทรายาน-3” ลงจอดบนพื้นดวงจันทร์สำเร็จเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และจีน
ไม่เพียงแต่เดินตามรอยในด้านอวกาศเท่านั้น แต่อินเดียมีบริษัทสตาร์ทอัพยูนิคอร์นมากถึง 106 บริษัทเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและจีน
บ่งบอกว่าอินเดียให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ
จึงไม่น่าแปลกใจนักกับการก้าวขึ้นมาของอินเดียในห้วงอวกาศ เพราะอินเดียมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร ทรัพยากรในด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจังมาเป็นเวลาหลายสิบปี
ในแง่เศรษฐกิจ อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกและคาดการณ์จะเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2027
และในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับสังคมสูงวัย แต่ประชากร 2 ใน 3 ของอินเดียคือวัยทำงานอันเป็นทรัพยากรขุมใหญ่ที่พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ความเป็นดาวเด่นของอินเดียแทบทุกด้านจึงชวนมองย้อนไปในราว 5,000 ปีที่แล้วสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อันเป็นหนึ่งในรากเหง้าประวัติศาสตร์สำคัญของอินเดีย
ลุ่มแม่น้ำสินธุ 1 ใน 4 อารยธรรมสำคัญของโลก อันมีความโดดเด่นทั้งด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจการค้า
ซึ่งไม่น้อยไปกว่าอินเดียในวันนี้…
⭐ เทคโนโลยีก้าวหน้า
จากที่กล่าวไปว่า ปัจจุบันอินเดียเริ่มก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และถ้าเรามองย้อนกลับไปราว 5,000 ปีที่แล้ว อารยธรรมแม่น้ำสินธุรากเหง้าอารยธรรมโบราณของอินเดียก็มีเทคโนโลยีล้ำสมัยไม่แพ้กัน
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (The Indus River Valley Civilization) หรือ อารยธรรมชาวฮารัปปัน (Harappan Civilization) แม้จะเกิดมาหลายพันปี
หากแต่เพิ่งมีการค้นพบในปี 1856 มานี้และถือเป็นการค้นพบ 1 ใน 4 อารยธรรมสำคัญของโลกอันยิ่งใหญ่ โดยปัจจุบันคือบริเวณตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานไปถึงปากีสถาน และตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
ชาวฮารัปปันถือเป็นชาวโบราณกลุ่มแรกที่ถูกค้นพบในลุ่มแม่น้ำสินธุที่มี และที่น่าสนใจคือเมืองฮารัปปาเทคโนโลยีก้าวหน้าในยุคนั้นหลายอย่าง
ประการแรกคือ สถาปัตยกรรมชั้นสูงอย่างอู่ต่อเรือ โกดัง แท่นอิฐ และกำแพงป้องกัน โดยเฉพาะระบบระบายน้ำทิ้งที่ใช้งานในเมืองต่าง ๆ จนทั่วภูมิภาคถือเป็นควาวทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าระบบอื่น ๆ ที่พบในเมืองบริเวณร่วมสมัย
และยังมีสิ่งประดิษฐ์สำคัญที่ถูกค้นพบมากที่สุดในเมืองลุ่มแม่น้ำสินธุ นั่นก็คือ “แมวน้ำ” ซึ่งเกิดจากการแกะสลักและตัดแต่งลวดลายอย่างสวยงาม โดยมีการระบุและประทับตราดินเหนียวบนสินค้าเหมือนกับฉลากยี่ห้อในปัจจุบัน ถือเป็นอีกหนึ่งความเชี่ยวชาญล้ำหน้าสมัย 5,000 ปีที่แล้ว
นอกจากนี้ ระบบและเครื่องมือในการวัดความยาวยังมีความแม่นยำที่ดีเยี่ยม เช่น การทำเครื่องหมายความยาวของงาช้างที่เล็กเพียง 1.6 มิลลิเมตร แต่ที่เด่นชัดที่สุดคือขนาดอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างเมืองมีขนาดเท่ากันทุกก้อน เรียกว่าเป็นระบบการวัดขั้นสูงและก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้น
⭐ เศรษฐกิจการค้า
การค้าดี เศรษฐกิจก็ดี เป็นสมการที่แยกกันไม่ขาด และเศรษฐกิจของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็เติบโตเพราะการค้า อันเป็นผลพวงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการขนส่ง
1
ชาวฮารัปปันเป็นกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่ใช้การขนส่งแบบล้อ ใช้วัวลากเกวียนขนส่งซึ่งยังพบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียใต้ปัจจุบัน
และมีการสร้างเรือสำหรับการขนส่งทางน้ำจากการค้นพบการขุดลอกคลองขนาดใหญ่อันเป็นจุดจอดเทียบท่าในชายฝั่งเมือง Lothal
นอกจากนี้ ยังเห็นภาพมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น เช่น การนำเข้าแร่ธาตุจากอิหร่าน อัฟกานิสถาน หยกจากจีน หรือการส่งออกรูปปั้นแกะสลักและเครื่องประดับไปยังเมโสโปเตีย
⭐ เส้นทางสู่อวกาศของอินเดีย
ความสำเร็จในด้านเทคโนโลยีอวกาศของอินเดียไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อินเดียมีความพยายามพัฒนาโครงการอวกาศผ่านการจัดตั้งองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) มาตั้งแต่ปี 1969 และก้าวแรกคือการปล่อยดาวเทียมดวงแรกของอินเดียชื่อ อารยภาตะ (Aryabhata) ในปี 1975
อีกไม่กี่ปีถัดมา ISRO ได้เปิดตัวภารกิจประสบความสำเร็จเช่น ภารกิจยานอวกาศ Mars Orbiter และภารกิจ Chandrayaan ไปยังดวงจันทร์
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของอินเดียในด้านเทคโนโลยีอวกาศ
ปัจจุบัน เทรนด์ภาคอวกาศของอินเดียเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้จาก
1
1) การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน:
โดยองค์กร ISRO เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในภาคอวกาศอย่างแข็งขันและการระดมทุนมากกว่า 245.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมการสำรวจภาคอวกาศ
2) การเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ:
องค์กร ISRO ทำข้อตกลงกับหลายประเทศเพื่อทำภารกิจและแบ่งบันเทคโนโลยีร่วมกัน เช่น Microsoft มีการลงนามกับ ISRO ในการสนับสนุน Start up ด้านเทคโนโลยีผ่านเครื่องมือและแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีการจัดหาเครื่องมืออื่น ๆ ให้ เช่น MS Azure และเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI
3) ความมุ่งมั่นจริงจังในภารกิจสำรวจอวกาศ:
อินเดียเอาจริงเอาจังกับการสำรวจอวกาศเป็นเวลาหลายสิบปี และเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สามารถส่งยานอวกาศ Mangalyaa ไปสำรวจอวกาศได้ในความพยายามครั้งแรก และจะมีภารกิจส่งมนุษย์ชุดแรกขึ้นสู่อวกาศในปีนี้อีกด้วย
4) การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อยู่เสมอ:
ISRO ทำงานในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ยานพาหนะที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ หรือเทคโนโลยี Inflatable Aerodynamic Decelerator (IAD) ที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่าทำให้การลงจอดปลอดภัยมากขึ้น
5) การขยายบริการดาวเทียม:
ISRO ให้บริการผ่านดาวเทียมในพื้นที่ต่างๆ เช่น การสำรวจระยะไกล การนำทางด้วยดาวเทียม และอุตุนิยมวิทยาผ่านดาวเทียม นอกจากนี้ ISRO ยังเปิดเผยข้อมูลจากดาวเทียมคุณภาพสูงแก่นักศึกษา สตาร์ทอัพ และบริษัทเทคโนโลยีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ให้ศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคต
ผู้เขียน : ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา