Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2023 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
Black Death โรคระบาดครั้งใหญ่ที่ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
โรคระบาดเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นมากับมนุษยชาติในทุกสมัย โดยเฉพาะในช่วงที่ยังไม่มีวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทำให้มนุษย์ต้องบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย
กาฬโรคเป็นอีกหนึ่งโรคระบาดที่คร่าชีวิตมนุษย์บนโลกไปหลายล้านคน และถึงแม้โรคระบาดจะสิ้นสุดไปแล้ว หากแต่ทิ้งรอยแผลทางเศรษฐกิจไว้มากมาย
อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่กล่าวถึงผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจนั่นคือ กาฬโรคมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยยะสำคัญ
Bnomics จึงจะมาพูดถึงเรื่องราวของ ‘กาฬโรค’ ในวันนี้
📌 รู้จัก Black Death
ทราบกันดีว่ากาฬโรคเป็นโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์มาสู่คน โดยกาฬโรคมีการระบาดครั้งใหญ่ในโลกถึง 3 ครั้ง
ยุคที่ 1 ยุคกลางตอนต้น ค.ศ. 541 -700 สมัยจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีโรคระบาดที่ชื่อว่า
‘กาฬโรคแห่งจัสติเนียน’ ทำให้ชาวคอนสแตนติโนเปิลเสียชีวิตไปกว่า 40% คาดว่ามาจากธัญพืชที่นำเข้าจากอียิปต์ และแพร่ระบาดไปยังฝรั่งเศส นักวิจัยพบว่า มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน และทำให้ประชากรยุโรปลดลงถึง 50%
ยุคที่ 2 คริสตวรรษที่ 14 - 19 เกิดกาฬโรคครั้งใหญ่ ‘Great Plague’ ซึ่งเริ่มมาจากตอนใต้ของอินเดียและจีนแพร่ระบาดไปยังเส้นทางสายไหมจนทั่วเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลกโดยเฉพาะอิตาลี ประชากร 2 ใน 3 ประเทศเสียชีวิต และในปี 1400 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่ลอนดอน ประชากร กว่า 70% เสียชีวิตจนเรียกว่า ‘The Great Plague of London’ การแพร่ระบาดต่อเนื่องมาจนถึงคริสตวรรษที่ 17 ทำให้ประชากรยุโรปเสียชีวิตถึง 25 ล้านคน นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์จึงได้ชื่อว่า ‘Black Death’
2
ยุคที่ 3 คริสตวรรษที่ 19-20 เป็นการระบาดครั้งสุดท้าย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 12 ล้านคนทั่วโลก จนภายหลังนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส Alexandre Emile Jean Yersin ค้นพบเชื้อที่ก่อโรคเรียกว่า เชื้อแบคทีเรีย Baicllus pestis จึงนำไปสู่การคิดค้นวิธีรักษาในเวลาต่อมา
📌 แล้วสาเหตุของการระบาดคืออะไร?
มี 3 สาเหตุหลัก ดังนี้
1.การเพิ่มขึ้นของเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ
มนุษย์มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันเป็นเวลาหลายพันปี แต่เมื่อมีเส้นทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงไม่ได้เพียงแต่ขนส่งสินค้า หากแต่ยังนำพาเชื้อโรคและแบคทีเรียจากดินแดนหนึ่งไปอีกที่อย่างง่ายดาย ในศตวรรษที่ 6 เกิดการระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ในจักรวรรดิไบเซนไทน์ คาดว่ามาจากธัญพืชและเมล็ดข้าวที่นำมาจากอียิปต์ และแพร่ระบาดไปเป็นวงกว้าง ทำให้ประชากรยุโรปกว่า 50% เสียชีวิต
2.การเพิ่มขึ้นของประชากรในเมือง
เมื่อเศรษฐกิจดี จึงเกิดการขยายของเมืองมากขึ้น ผู้คนไหลทะลักเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อไม่มีระบบการจัดการเมืองที่ดีพอ จึงทำให้เกิดเป็นชุมชนแออัด เกิดการสะสมของสิ่งปฏิกูล ประชาชนมีสภาวะความเป็นอยู่แบบไร้สุขอนามัย ในศตวรรษที่ 14 ยุโรปเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจและประชากรโดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ แต่ขณะนั้นยังไม่มีระบบการจัดการสาธารณสุขที่ดีพอ เมื่อโรคระบาดแพร่จากเอเชียมายุโรป จึงคร่าชีวิตชาวยุโรปไปกว่า 1 ใน 3
3.ขาดความรู้ทางการแพทย์
สมัยนั้น มนุษย์ยังไม่รู้จักเชื้อแบคทีเรีย จึงไม่มีความเข้าใจเรื่องเชื้อก่อโรคและการแพร่ระบาด มนุษย์จึงอยู่กับความกลัว บางคนมองว่าโรคระบาดคือบทลงโทษของพระเจ้าจึงมีการลงโทษตนเองเพื่อแสดงความสำนึกผิด จะมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Flagellants หรือ ‘ผู้เฆี่ยนตีตนเอง’ จะเดินไปตามถนนแล้วใช้แส้หรือเชือกตีร่างกายตนเองจนเลือดตกยางออก จนในยุคศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์มีการค้นพบเชื้อก่อโรคจึงนำไปสู่การค้นพบวิธีรักษา ทำให้เกิดการระบาดครั้งสุดท้ายในช่วงศตวรรษที่ 19
📌 โรคระบาดลดความเหลื่อมล้ำ จริงหรือ?
ในงานวิจัยของ Guido Alfani อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแห่งมหาวิทยาลัยบ็อกโคนี ประเทศอิตาลี กล่าวว่า กาฬโรคส่งผลกับเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แน่นอนว่าในระยะสั้นต้องส่งผลในเชิงลบในการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากมาย รวมถึงการสูญเสียแรงงาน ทักษะความรู้ ที่ประเมินค่ามิได้
หากแต่เมื่อดูผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาวกลับส่งผลในเชิงบวกอย่างมีนัยยะสำคัญไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ปรับสมดุลของประชากรโลก ประโยชน์ทางผลผลิตการเกษตร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยค้นพบว่าผลกระทบจากกาฬโรคในระยะยาวช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอีกด้วย (โดยเฉพาะในอิตาลี) หลังกาฬโรคระบาด ทำให้กลุ่มคน 10% ที่ร่ำรวยที่สุดในสังคมต้องสูญเสียความมั่งคั่งไปถึง 15%-20% และไม่สามารถจะกลับไปมีความมั่งคั่งเช่นเดิมได้อีก มองว่ามี 2 ประการ ดังนี้
ประการแรกคือ ‘อัตราค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น’ เพราะหลังจากโรคระบาดคนล้มตายไปมาก ทำให้แรงงานคนกลายเป็นที่ต้องการไม่ว่าจะแรงงานมีทักษะหรือไร้ทักษะก็มีค่าแรงสูงขึ้น
และอีกเหตุผลคือ ‘การกระจายตัวของมรดกจำนวนมาก’ เป็นเพราะอัตราการเสียชีวิตสูงมาก ทำให้คนจำนวนมากได้รับมรดกทรัพย์สินเกินกว่าความจำเป็นหรือต้องการ หลายคนจึงนำทรัพย์สินไปเสนอขายในตลาด บวกกับคนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นตามที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้คนสามารถเข้าซื้อและครอบครองทรัพย์สินได้ง่ายขึ้น
ผู้เขียน : ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : บริษัท ก่อการดี จำกัด
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
References:
https://en.wikipedia.org/wiki/Black_Death
https://www.history.com/topics/middle-ages/black-death
https://www.history.com/topics/middle-ages/black-death
https://www.historyandpolicy.org/policy-papers/papers/the-economic-consequences-of-plague-lessons-for-the-age-of-covid-19
ความรู้รอบตัว
ประวัติศาสตร์
การแพทย์
6 บันทึก
15
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
All About History
6
15
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย