27 ส.ค. 2023 เวลา 04:29

EP. 6 the king never smile

ในจํานวนเก้าครั้ง ที่มีทหารทําการปฏิวัติได้สําเร็จ และหลายครั้งที่ล้มเหลว ย่อมมีผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อ รวมทั้งเหตุการณ์ที่โหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยก็คือ การฆ่าหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2519 ที่ทหารอ้างว่ากระทําไปเพื่อเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์ของชาติ
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 พลเอกสุจินดา ผู้โกงกินประเทศได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นําทหารสูงสุด พลเอกสุจินดาได้ทําการปฏิวัติในปี 2534 และได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ภูมิพล และต่อมาได้รับตําแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ได้ประจันหน้ากันกับกลุ่มชุมนุมผู้ประท้วงที่สงบเสงี่ยม
พลเอก สุจินดา คราประยูร เมื่อ พ.ศ. 2534 เจ้าของวาทะอมตะ “ผมจำเป็นต้องเสียสัตย์” เพื่อมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนจะนำสู่ “พฤษภาทมิฬ”
สุจินดาสั่งการให้ทหารยิงปืนกราดไปยังเหล่าผู้เดินขบวน โดยอ้างว่าพวกผู้เดินขบวน มีความเป็นภัยต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามวันต่อมากษัตริย์ได้เข้าไปยุติเรื่องราวเหล่านี้ และอย่างที่เห็นกันว่า สุจินดาได้รับการปกป้องจากกษัตริย์ โดยที่ กษัตริย์ได้ทําการตําหนิว่าคู่ปรปักษ์ ด้วยน้ำเสียงที่แหบแห้ง และโยนความผิดไปที่นายจําลอง มากกว่าสุจินดา
คลิปภาพเหตุการณ์จริง พฤษภาทมิฬ บันทึกสีดำ ภาพแห่งความอัปยศ ที่ทหารทำกับประชาชน
การที่กษัตริย์ภูมิพลเข้าไปไกล่เกลี่ยกรณีขัดแย้งนี้เป็นเวลาราวสิบเอ็ดชั่วโมง ในพฤษภาทมิฬ เป็นการกระทําที่ปราศจากความประหม่า และสร้างผลงานให้กับตนเองอีกครั้ง หลายปีผ่านไปภาพของเหตุการณ์นั้นที่กษัตริย์ออกมาตักเตือนคู่ปรปักษ์ทั้งสอง คือ สุจินดา และ จําลอง ได้นําออกมาเปิดเผยทางโทรทัศน์และโรงภาพยนตร์ซ้ำแล้วซ้ำเหล่า รวมทั้งทําเป็นหนังสือเพื่อเตือนความทรงจําของคนไทย 60 ล้านกว่าคน ว่าสาเหตุที่ทําให้ประเทศไทยที่ดํารงคงอยู่รอดมาได้นั้น ก็เพราะบารมีของราชวงศ์จักรีที่คุ้มครองชาติไทย
กษัตริย์ภูมิพล เป็นกษัตริย์ที่ไม่เหมือนใครในศตวรรษที่ยี่สิบ ที่ต้องการแข่งขันมีอํานาจกับ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในสมัยใหม่ แทนที่จะยอมรับตําแหน่งของตนเองอย่างในประเทศอังกฤษหรือญี่ปุ่น กษัตริย์ภูมิพลทําตัวเป็นตัวเอกในด้านการเมือง การสร้างความสําเร็จเหล่านี้ เป็นการเสี่ยงตนเองอย่างยิ่ง
ระบบราชาธิปไตยนั้นเหมือนดาบสองคม ถ้าทําสําเร็จก็คือได้รับการยกย่องสถาบันกษัตริย์ ถ้าล้มเหลวก็คือทําลายทั้งระบบและบารมี เพราะบารมีคืออํานาจที่แท้จริงในระบบราชาธิปไตย และยากต่อการสร้างสม บรรดากษัตริย์และราชินีในปัจจุบัน ส่วนมากต่าง ก็หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงกับการเมืองชั้นต่ำสวะ กษัตริย์ ภูมิพลไม่ใยดีต่อกฎเกณฑ์เหล่านี้
ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่นําตัวเข้าไปมีบทบาททางด้าน การเมือง แต่ดูเหมือนจะเป็นการเพิ่มชัยชนะและสร้างภาพพจน์ให้ดีและยิ่งใหญ่มากขึ้น จะเห็นได้จากในกรณีวิกฤตกาลต่างๆ ยกเว้นเหตุการณ์ฆ่าหมู่ในปี 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กษัตริย์ทําการพลิกแพลงวิกฤตกาลต่างๆจนกลายเป็นวีรบุรุษ โดยการกําจัดคนชั่ว ปกป้องรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตย นี่คือการแสดงที่แนบเนียมน่าเชื่อถือของกษัตริย์ภูมิพล
สําหรับพวกผู้ดีชั้นสูง ที่สนับสนุนและหาผลประโยชน์กับราชบัลลังก์ มันเหมือนกับการเยาะเย้ย ถากถาง ทําไปเพื่อปกป้องพวกเจ้าขุนมูลนาย ชนชั้นสูง นายทหาร และนักธุรกิจใหญ่ๆ แต่กษัตริย์ภูมิพลเห็นว่าเป็นการอวดดีและเห็นแก่ได้ เพราะกษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้เชื่อถือในการปกครองด้วยระบบธรรมราชา ที่มีนโยบายในการปกครองประเทศตามหลักธรรมในพุทธศาสนา ท่านคิดว่าพวกที่ทําตัวเป็นบริวารล้อมรอบท่านนั้นไม่มีความจริงใจในการใช้ หลักแห่ง ธรรม ท่านรู้ว่ามีแต่ชาวบ้านหรือชนชั้นชาวนาเท่านั้นที่มีความเชื่อถือในตัวท่าน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา