23 ก.ย. 2023 เวลา 09:54 • ประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น ตอนที่ 7 อาทิตย์อัสดง

ยุคโชวะ ตอนที่ 3 สิ้นสุดสงคราม
เพิร์ลฮาร์เบอร์ ถือเป็นฐานทัพเรือใหม่ที่ทาง ประธานธิบดี เดลาโน โรเซอเวลต์ ตัดสินใจย้ายมาจาก ซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเชื่อว่าในชัยภูมินี้สามารถยันกำลังพลของทางจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ดีกว่าถ้าเกิดสงครามในพื้นที่แปซิฟิก
เมื่อปลายพฤจิกายน ค.ศ.1941 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เตรียมเรือรบสำหรับการโจมตีทั้งหมด 6 ลำ ได้แก่ Akagi Kaga Hiryu Soryu Zuikaku และ Shokaku ทั้งหมดบรรทุกเครื่องบิน 408 ลำ โดย 360 เป็นเครื่องบินสำหรับการโจมตี อีก 48 ลำเป็นเครื่องบินสำหรับการอารักขาเรือลาดตระเวนกับเรือบรรทุกเครื่องบน ซึ่งเรือทั้ง 6 ลำนี้สร้างขึ้นด้วยน้ำมือของจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่อู่ต่อเรือใหญ่ คือ อู่ต่อเรือคือเระที่ฮิโรชิมา อู่ต่อเรือโยโกสึกะใกล้อาวโตเกียว อู่ต่อเรือมิตซูบิชิ และอู่ต่อเรือที่นางาซากิ
เรียงตามลำดับ Akagi Kaga Hiryu Soryu Zuikaku และ Shokaku
วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ภายใต้แผนการของจอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ(Yamamoto Isoroku) ถือเป็นการโจมตีแบบฉับพลันหรือไม่ทันได้ตั้งตัว เป็นการผิดธรรมเนียมในการประกาศสงคราม โดยปกติแล้วจากโจมตีในระดับนี้จะต้องมีการประกาศสงครามก่อนการโจมตีเพื่อให้อีกฝ่ายได้ทันตั้งตัว
ซึ่งจอมพล ยามาโมโตะ ตั้งใจจะประกาศสงครามผ่านทางเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกรุงวอชิงตันดีซี กล่าวคือในแผนนี้จะให้สาสน์ประกาศสงครามนี้ถือรัฐบาลสหรัฐอเมริกาคือเพนตากอน ถึงก่อนการโจมตีประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น เพื่อให้สหรัฐมีเวลาเตรียมตัวน้อยที่สุด
ภาพแผนที่การสมรภูมิในมหาเอเชียบูรพา และ จอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ(Yamamoto Isoroku) ผู้คิดแผนโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
แต่ความผิดพลาดในเวลานั้นเนื่องจากยังใช้วิธีการโทรเลขอาจเกิดความล้าช้าได้ 2 ขั้นตอน 1 อาจเป็นตอนแปลรหัสจากยามาโมโตะไปที่สถานทูต 2 จากสถานทูตแปลรหัสไปกรุงวอชิงตันดีซี ในความผิดพลากนี้ไม่ปรากฏชัดว่าเพราะอะไร แต่ผลก็คือสาสน์ประกาศสงครามไปถือล่าช้ากว่าการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ในมุมมองของทางสหรัฐพฤติกรรมนี้ถือเป็นอาชญากรสงคราม
ณ เวลานั้นพื้นที่ของเพิร์ลฮาร์เบอร์อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอก พลเรือเอกฮัสแบนด์ อี คิมเมล (Husbasnd Edward Kimmel) ถูกโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัว มีเรือรบ 3 ลำในตอนนั้น Enterprise, lexington และ Saratoga ไม่ได้ประจำการเพราะลาดตระเวนอยู่ในพื้นที่โดยรอบ ญี่ปุ่นมาพร้อมเครื่องบินรบ 353 ลำแบ่งการโจมตีออกเป็น 2 ระลอก
พลเรือเอกฮัสแบนด์ อี คิมเมล (Husbasnd Edward Kimmel)
โดยทางฝั่งสหรัฐมีผู้เสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย สำหรับเรือรบที่เสียหาย USS Arizona, USS Oklahoma, USS Weat Virginia, USS California, USS Nevada, USS Tennessee สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน Pennsylvania ที่ พลเรือเอกฮัสแบนด์ประจำการอยู่เสียหายเพียงเล็กน้อย และเครื่องบินได้รับความเสียหาย 180 ลำ
ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มีการเรียกประชุมด่วนและแถลงการโดยประธานธิบดีเดลาโน โรเซอเวลต์ สรุปรวมทุกอยากได้ดี
Yesterday Dec 7 th of 1941 a date which will live in infamy
ประธานธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์
กล่าวคือเมื่อวานนี้ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 เป็นวันที่พวกเราอยู่ในชีวิตอย่างอับอาย
อย่างที่ได้กล่าวไปตอนที่แล้วว่าการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์เป็นแค่บทโหมโรงเด็ดปีกพญาอินทรีก่อนที่ดวงอาทิตย์ของจักรวรรดิญี่ปุ่นจะสาดแสงไปยังพื้นที่อื่นๆของมหาเอเชียบูรพา
ประธานธิบดีสหรัฐอเมริกา แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์
หลังจากที่โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ 1 วัน คือวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1941 อย่างที่เราได้ไล่เรื่องเวลาของเอเชียแปซิฟิกเมื่อตอนที่แล้วถ้านับตามเวลาประเทศไทยถือว่าเป็นคนละวันแต่จริงๆแล้วเวลาห่างกันไม่ถึง 1 ชั่วโมง จักรวรรดิญี่ปุ่นได้โจมตีฟิลิปปินส์ที่เกาะลูซอน ภายใต้การนำของนายพลมาซาฮารุ ฮมมะ (Masaharu Homma) ผู้บัญชาการของกองทัพสหรัฐที่ฟิลิปปินส์ ณ เวลานั้นดื้อรั้นใช้ยุทธการตั้งรับที่เสี่ยงเกินกว่าเหตุ
ผลคือเสียพื้นที่สำคัญคือเกาะลูซอน ภายในเวลา 2 สัปดาห์ และเสียทั้งพื้นที่ฟิลิปปินส์ในเดือน พฤษภาคม ผู้บัญชาการของกองทัพสหรัฐที่ฟิลิปปินส์ในเวลานั้นคือ ดักลาส แมกอาเธอร์(Douglas MacArthur) ภายหลังเขาจะมีบทบาทสำคัญและยังเป็นจอมพลระดับสูงเพียงไม่กี่คนในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาที่ได้ 5 ดาว ณ เวลานั้นเขาต้องหนีอย่างอับอายไปตั้งหลักที่ออสเตรเลีย เขาได้ประกาศไว้ว่า "เราจะกลับมา"
I came out of Bataan and I shall return
ดักลาส แมกอาเธอร์ (Douglas MacArthur)
ภาพแผนที่การโจมตีเกาะลูซอน ซึ่งทางญี่ปุ่นโจมตีกระหนาบทั้งเหนือและใต้
ภายใต้การนำของ ฮิซาอิจิ เทราอุจิ (Hisaichi Terauchi) โจมตีพื้นที่สำคัญของดัสอีส อินดี้ คือชื่อเดิมของอินโดนีเซียก่อนประกาศเอกราช ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญของภูมิภาคเพื่อยุทธปัจจัยในการทำสงครามอย่างต่อเนื่อง และยึดครองได้สำเร็จในเดือนมีนาคมของปี ค.ศ.1942 ถ้าสังเกตุในแง่มุมของเวลา ปฏิบัติการโจมตีพื้นที่มหาเอเชียบูรพานี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันทั้งหมดเลย
กรอบเวลาใกล้เคียงกันเลย วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1941 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เปิดแนวรบอีก 1 เส้นทางคือบริติช มาลายาและบริติช เบอร์มาที่เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร แต่การจะเข้าไปโจมตีได้นั้นจะต้องผ่านประเทศหนึ่งที่ไม่ได้เป็นอาณานิคมของใครแล้วก็ไม่ใช่เป้าหมายของจักรวรรดิญี่ปุ่นแต่เป็นทางการผ่านเพื่อเป้าหมายของจักรวรรดิญี่ปุ่น นั้นก็คือประเทศไทย
รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายดิเรก ชัยนาม และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมินตรีของไทย
เมื่อ 2 นาฬิกา ของวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1941 เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เออิจิ มูราชิมา (Teiji Tsubokami) ได้ติดต่อรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในเวลานั้นก็คือ นายดิเรก ชัยนาม ยื่น 2 ทางเลือกให้ไทย 1 คือประกาศสงครามกับทหารของพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ 2 คือยอมจำนนและเปิดทางให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น ณ เวลานั้นทางญี่ปุ่นได้มีกำลังพลรอท่าอยู่ที่ชายฝั่งคอคอดกระ ฝั่งสงขลา ในเวลาเช้า จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมินตรีของไทยได้ประชุมคณะรัฐมนตรีและได้เลือกทางเลือกที่ 2 ยอมจำนนและเปิดทางให้กับจักรวรรดิญี่ปุ่น
ในช่วงเวลาเดียวกันที่อีกซีกโลกนั้นคือเวลา ตี 1 ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ Winston Churchill นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ได้ประชุมและคาดการไว้แต่แรกแล้วว่าจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องโจมตีอาณานิคมของอังกฤษแน่นอน เมื่อเวลา 8 นาฬิกาตามเวลาของสหราชอาณาจักร ได้ประกาศสงครามกับประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นประเทศแรก ตามมาติดๆด้วย ฝรั่งเศส เนเธอร์แลน สหรัฐอเมริกา
Lockheed P-38
6 เดือนหลังจากความเจ็บปวดของการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกาได้ชัยในยุทธการมิดเวย์และสมรภูมิที่กัวดัลคะแนลที่หมู่เกาะโซโลมอน เป็นการทวงแค้นจากจักรวรรดิญี่ปุ่น 18 เมษายน ปี ค.ศ.1943 สหรัฐอเมริกาสามารถสังหารจอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ โดยการส่งฝูงบิน Lockheed P-38 จำนวน 16 ลำ ประกบยิงเครื่องบิน Mitsubishi G4M ซึ่งยามาโมโตะกำลังโดยสารอยู่เพื่อไปสำรวจพื้นที่ปาปัวนิวกินี้รวงเป็นผลสำเร็จ
ศพของจอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดอกเบญจมาศขั้นสูงสุด ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยึดพื้นที่แปซิฟิกจากฝั่งอักษะที่ละน้อย ฟิลิปปินส์ เมียนมา บริติช มาลายาและบริติช เบอร์มา และเริ่มเข้าแผ่นดินญี่ปุ่นทางตอนใต้ที่เกาะริวกิวหรือโอกินาว่า ทหารญี่ปุ่นสวนใหญ่เสียชีวิตจากการทวงแค้นทางฝ่ายสัมพันธมิตร แต่กระทั้นทหารญี่ปุ่นในแผ่นดินญี่ปุ่นวางแผนต้านทางกองทัพสหรัฐได้เป็นอย่างดี และได้มีการเรียกกองทหารที่เก่งกาจที่สุดกลับมาจากแมนจูเรีย ร่วมแล้วมีทหารญี่ปุ่นปกป้องแผ่นดินแม่ 2 ล้านกว่าคน
ลิตเติลบอยและแฟตแมน ตามลำดับ
ในที่สุดสหรัฐตัดสินใจใช้ระเบิดปรมาณู 2 ลูก ลิตเติลบอยที่ใช้ยูเรเนียมระเบิดเมืองฮิโรชิมาและแฟตแมนที่ใช้พลูโตเนียม ถล่มนางาซากิ เหตุผลที่ต้องระเบิดที่สองเมืองนี้เพราะมีอุตหกรรมเหล็ก และผลิตอาวุธยุทธปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินสงคราม พระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 หรือปีโชวะที่ 19 พระสุรเสียงของพระองค์ถูกถ่ายทอดไปทั่วประเทศ
2 กันยายน ค.ศ.1945 เรือรบ USS missouri เทียบท่าที่อ่าวโตเกียวสนธิสัญญาการยอมแพ้ของญี่ปุ่นก็ถูกลงนามทั้งสองฝ่าย โดยมีนายกรัฐมนตรีต่างประเทศ มาโมรุ ชิเงมิตสึ (Mamoru Shigemitsu) และจอมพลดักลาส แมกอาเธอร์ (Douglas MacArthur) ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพผสมฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรนำกำลังเข้าควบคุมญี่ปุ่น วางพื้นฐานใหม่ให้กับญี่ปุ่นเพื่อที่จะได้ไม่สามารถกลับมาทำสงครามล้างแค้นได้อีก
นายกรัฐมนตรีต่างประเทศ มาโมรุ ชิเงมิตสึ (Mamoru Shigemitsu)
1 ในเรื่องที่วางรากฐานให้ใหม่คือ ญี่ปุ่นไม่สามารถมีกองทัพได้จะมีได้แต่เพียงกองกำลังปกป้องตัวเอง พร้อมยกเลิกระบบบริษัทในกลุ่มไซบัสสึที่เป็นเหมือนเส้นเลือดใหญ่ให้กับกองทัพพระจักรพรรดิ แตกบริษัทออกเป็นบริษัทย่อยๆนับร้อยบริษัท จัดตั้งศาลพิจารณาคดีอาชญากรสงคราม มีผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด 4,700 คน ประหารชีวิต 1,000 คน รวมถึงโทโจ ฮิเดกิ สำหรับเจ้าชายโคโนเอะ ฟูมิมาโระ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ฆ่าตัวตายก่อนถูกตัดสิน
สำหรับพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะและเชื่อพระวงศ์ทุกคนไม่ได้รับการดำเนินคดีใดๆ บางข่าวก็ว่าเนื่องจากพระองค์ไม่ได้มีพระอาจอำนาจใดๆ เพราะการตัดสินใจทุกอย่างเป็นของนักการเมืองกับนักการทหาร บางก็ว่าพระองค์มีบทบาทในการขยายอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นแต่เพราะพระองค์เปรียบเสมือนสมมุติเทพของนิกายชินโตเป็นศูนย์รวมใจของชาวญี่ปุ่นถ้าเกิดอะไรขึ้นกับพระองค์จะต้องเกิดสงครามล้างแค้นแน่นอน
บริษัทในกลุ่มไซบัสสึ แตกกลุ่มบริษัทออกมา
วันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1945 ได้มีภาพจอมพลดักลาส แมกอาเธอร์ (Douglas MacArthur) แต่งกายอย่างไม่เป็นทางการเข้าพบกับพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้ถูกถ่ายทอดออกมา แต่ทางญี่ปุ่นไม่ประสงค์จะให้นำภาพนี้ออกเผยแพร่ออกไปเพราะทำให้พระวรกายของพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะเตี้ยเล็กไม่สูงใหญ่สมกับสมมุติเทพ แต่แมกอาเธอร์ ได้ยืนยันกับทุกฝ่ายว่าต้องใช้ภาพนี้เท่านั้น เพื่อบอกให้ญี่ปุ่นรู้ว่าถ้าทำให้พญาอินทรีโกรธจะต้องเจอกับอะไร ทั้งหมดทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องขมขื่นกับสิ่งที่ตนเองนั้นได้รับ
จอมพลดักลาส แมกอาเธอร์ถ่ายภาพพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ ซึ่งเป็นภาพที่ญี่ปุ่นไม่ประสงค์จะให้นำภาพนี้ออกเผยแพร่
จากปีโชวะที่ 19 ถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นก็สามารถยืนยันกลับมาได้ไม่ใช่ทางสงครามแต่เป็นในแง่มุมทางเศรษฐกิจที่โตถึงปีละ 10% ทุกปีติดต่อกันจนใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกในช่วงกลางของยุค 80 ถึงจะเป็นชาติที่พ่ายแพ้สงคราม แต่ก็ถือเป็นชาติหนึ่งที่ให้ทึ่งที่สุดในโลกได้
ติดตามตอนต่อไป รุ่งอรุณกลับมาอีกครั้ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา