16 ก.ย. 2023 เวลา 09:05 • ประวัติศาสตร์

ญี่ปุ่น ตอนที่ 6 มหาเอเชียบูรพา

ยุคโชวะ ตอนที่ 1 สังหารพญามังกร
1
เริ่มต้นในปี ค.ศ.1931 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มต้นรุกรานพื้นที่แมนจูเรียปัจจุบันคือเหลียวตง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีทรัพยากรที่จำเป็นต่อการขยายเศรษฐกิจ การผลิต และการสงคราม อันได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน และน้ำมัน 3 สิ่งนี้จำเป็นต่อการขยายอำนาจของจักรวรรดิ
1
ญี่ปุ่นได้สถาปนาให้พื้นที่แมนจูเรียเป็นรัฐแมนจูกัว ภาษาจีนกลางเรียก หมั่นโจวกั๋ว ในปี ค.ศ.1931 ในช่วงเวลาของรัฐบาลเจียง ไคเชก และเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากการประนามและการต่อต้านจากนานาประเทศร่วมถึงประชาชนในพื้นที่ จึงได้มีการตั้ง อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ อดีตพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงให้เป็นรัฐบาลหุ่นเชิด มีอำนาจแต่เพียงในนามเท่านั้น
1
ดินแดนยึดครองของญี่ปุ่นช่วงต้นสงคราม แสดงดินแดนแมนจูเรีย (ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นแมนจูกัว)และเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น (สีชมพู)
เมื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดได้แล้วก็เริ่มที่จะรุกรานเข้าไปตามแนวชายฝั่งของแผ่นดินจีน จนขยายไปเป็นสงคราม จีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (Sino-Japanese War II) ในปี ค.ศ.1937 ในเวลานั้นญี่ปุ่นใช้ทหารบกจำนวนประมาณ 4 ล้านนาย ในการรุกรานประเทศจีน ทางฝั่งจีนมีกำลังพลถึง 14 ล้านนาย แต่ไม่สามารถต้านทานทหารญี่ปุ่นได้ โดยเริ่มไปที่ต้นเหนือของประเทศจีน ระเบิดสะพานมาโคโปโล ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ ลงใต้มาเรื่อยๆจนถึง หนานกิง
ณ เวลานั้น หนานกิงเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือจีนก๊กมินตั๋ง ในเหตุการณ์นี้ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักกับความโหดเหี้ยมและการทารุณของสงครามที่เกิดจากจักรวรรดิญี่ปุ่น ชื่อเหตุการณ์ "การสังหารหมู่ที่หนานจิง" (Rape of Nanjing) เริ่มต้นในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1937 ดำเนินมาต่อเนื่องทั้งปล้น ฆ่า ข่มขืน 6 สัปดาห์ ทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่นกระทำกับประชาชนชาวจีนเหมือนไม่ใช่มนุษย์ มีผู้เสียจากเหตุการณ์นี้ ประมาณ 2 แสนคน ยังไม่นับผู้ที่พิการ คนที่ถูกข่มขืนจนมีแผลใจไปชั่วชีวิต
เหตุการณ์ "การสังหารหมู่ที่หนานจิง" ภาพแรกทหารชาวญี่ปุ่นฝั่งชาวจีนทั้งเป็น ภาพที่สองทหารญี่ปุ่นตัดคอชาวจีน  ภาพที่สามเป็นศพของชาวจีนพลเรือนที่ถูกสังหาร
จากการกระทำต่างๆของทางจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่มองจากมุมของชาวโลก ทำให้ในสายตาของชาวโลกที่มีต่อญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง เจ้าอาณานิคมตะวันตกเริ่มที่จะไม่ไว้ว่างใจต่อญี่ปุ่นแล้วเริ่มคิดได้ว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นคงจะไม่หยุดความทะเยอทะยานอยู่เพียงแค่นี้แล้ว ซึ่งทางจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ตระหนักได้ถึงสิ่งนี้
ภายในปี ค.ศ.1937 สถานการณ์ทางฝั่งยุโรป อังกฤษกับฝรั่งเศสกำลังอยู่ภายใต้ความตึงเครียดเพราะสงครามในยุโรปพร้อมที่จะระเบิดขึ้นตลอดเวลา แล้วก็เป็นการยากที่จะส่งกำลังมาเสริมในฝั่งของอาณานิคมเอเชีย เพื่อป้องกันจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งในเวลานั้นนาซีเยอรมันได้เดินหน้าผนวก ออสเตรีย รุกรานเช็คโกโลวาเกีย
และเริ่ม การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อุบัติ ทำให้ทั้งโลกรู้ว่าเป้าหมายต่อไปก็คือ ประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร
การรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่น
เมื่อสมรภูมิยุโรปเริ่มขึ้นจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และการก็เป็นดังคาดไว้เมื่อข่าวประเทศฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อนาซีเยอรมันกระจายออกไป 14 มิถุนายน ค.ศ. 1940 จักรวรรดิญี่ปุ่นตัดสินใจบุกอินโดจีนแล้วยึดครองได้ภายในแค่ 4 วัน โดยผู้นำการบุกคือนายพล อาเกโตะ นากามูระ (Nakamura Ageta) ยึดครองอินโดจีนได้ทั้งหมดภายในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1940
คงจะไม่เป็นการดีที่จะทำสงครามโดยไม่มีพันธมิตรเลยแล้วเป็นการยากที่จะขยายอำนาจโดยไม่มีเพื่อน เมื่อคิดได้ดังนี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้รัฐมนตรีเจ้าชายโคโนเอะ ฟูมิมาโระ ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ได้ลงนามกันที่เบอร์ลิน 27 กันยายน ค.ศ.1940 โดยมีผู้ลงนามทั้ง 3 ฝ่ายได้แก่ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี รักาลีซโซ ชิอาโน ประเทศญี่ปุ่น ซาบูโร คูรูซุและมีอดอล์ฟฮิตเลอร์เป็นพยาน จากเหตุการณ์นี้ทำให้เค้าลางของสงครามโลกสมรภูมิแปซิฟิกเริ่มขึ้นทีละน้อยแล้ว
1
เรียงตามรูป รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี รักาลีซโซ ชิอาโน ประเทศญี่ปุ่น ซาบูโร คูรูซุ
ณ เวลานั้นผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ก็ทำให้เป็นกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เบื้องต้นประธานธิบดี แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์ ได้ใช้วิธีทางการทูตโดยเจรจากับจักรวรรดิญี่ปุ่น 1 ในเงื่อนไขของการเจรจาก็คือขอให้ทางญี่ปุ่นปลดปล่อยอินโดจีนให้กลับคืนสู่ฝรั่งเศส แน่นอนว่าทางจักรวรรดิญี่ปุ่นปฎิเสธและแสดงท่าทีก้าวร้าวโดยต่อเนื่อง ทำให้ทางสหรัฐอเมริกาต้องเล่นไม้แข็ง
จะขออธิบายผลประโยชน์ทางการค้าของทั้งสองประเทศก่อน กล่าวคือ สหรัฐถือเป็นคู้ค้าอันดับต้นๆของจักรวรรดิญี่ปุ่นมาโดยตลอด สินค้าที่ญี่ปุ่นต้องการจากสหรัฐได้แก่ เหล็ก โลหะ น้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันซึ่งถือเป็นปริมาณ 90% ของการน้ำเข้าทั้งหมด ดังนั้นถ้าสหรัฐยุติการส่งสินค้าเหล่านี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นจะอ่อนแอทันที
ประธานธิบดี แฟรงคลิน เดลาโน โรเซอเวลต์
ไม้แข็งไม้แรกของสหรัฐอเมริกาคือสั่งห้ามจักรวรรดิญี่ปุ่นผ่านคลองปานามา ทำให้ทางจักรวรรดิญี่ปุ่นเคลื่อนที่ทางเรือไปที่มหาสมุทรแอตแลนติกต้องเป็นอัมพาต และไม้สองคือมาตรการ คว่ำบาตร (Embargoes) ไม่ค้าขายด้วย ระงับการส่งออกเหล็ก โลหะ น้ำมัน ไปที่ญี่ปุ่น
1
ยุคโชวะ ตอนที่ 2 เด็ดปีกพญาอินทรี
จักรวรรดิญี่ปุ่นตระหนักดีว่าไม้แข็งของสหรัฐจะทำให้แผนขยายอำนาจของตัวเองในมหาเอเชียบูรพาสะดุดลงได้ ทำให้ความคิดของรัฐบาลญี่ปุ่นแตกออกเป็น 2 เสียง โดยเสียงแรก คือ กระทรวงสงครามของญี่ปุ่นเชื่อว่าต้องรุกรานสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะโดนพญาอินทรีเล่นงาน โดยผู้นำความคิดนี้คือ เจ้าชายโคโนเอะ ฟูมิมาโระ
1
คลองปานามา
เสียงที่สองคือ จักรวรรดิญี่ปุ่นไม่พร้อมที่จะมีเรื่องกับพญาอินทรี โดยผู้นำความคิดนี้คือ พระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ แต่สุดท้ายเป็นไปอย่างที่เรารู้กัน เจ้าชายโคโนเอะ ฟูมิมาโระได้โน้มน้าวพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้สำเร็จ ยินยอมให้ญี่ปุ่นรุกรานสหรัฐอเมริกาได้เป็นผลสำเร็จ
รัฐมนตรีกระทรวงสงครามของญี่ปุ่น คือ ฮิเดกิ โทโจ เขาผู้นี้ได้เคยไปเยือนสหรัฐอเมริกา มีความเห็นว่าประชาชนอเมริกามีชีวิตที่ติดสะดวกสบายเกินไปไม่เอาจริงเอาจังเหมือนชาวญี่ปุ่น และเขาผู้นี้เป็นสถาปนิกในการวางแผนที่โจมตีเพิล ฮาเบอร์ โดยแผนการโจมตีเริ่มในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 เวลา 7 นาฬิกา 48 นาที ในช่วงเช้าตามเวลาของฮาวาย เวลาประเทศไทยก็คือ 22 นาฬิกา 48 นาที
เรียงตามลำดับ เจ้าชายโคโนเอะ ฟูมิมาโระ และ ฮิเดกิ โทโจ
กล่าวคือ เหลือเวลาที่ประมาณ 1 ชั่วโมงก็จะเข้าเที่ยงคืน และการโจมตีฟิลิปปินส์ คราวน์โคโลนีของบริติชเอ็มไพร์(รัฐเวอร์จิเนียในปัจจุบัน) ฮองกง มาลายู เริ่มในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1941 กล่าวคือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่โจมตีเพิล ฮาเบอร์ หมายความว่าแผนปฏิบัตการเด็ดปีกพญาอินทรีเป็นแค่บทโหมโรง
ติดตามตอนต่อไป อาทิตย์อัสดง
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ญี่ปุ่น ตอนที่ 6

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา