Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากห้องยา
•
ติดตาม
25 ก.ย. 2023 เวลา 15:35 • สุขภาพ
ยา Allopurinol ยาลดกรดยูริก
สำหรับคนที่เป็นโรคเก๊าท์ และต้องได้รับ ยาลดกรดยูริก ผู้ป่วยมักจะได้รับยา #Allopurinol เป็นยาพื้นฐานตัวแรก ที่แพทย์จะสั่งใช้ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังคะ ก่อนจะเข้าเรื่องยา ขอปูพื้นเรื่องโรคเก๊าท์ก่อนนะคะ
.
#โรคเก๊าท์เกิดจากอะไร
.
โรคเก๊าท์เกิดจากกรดยูริกในเลือดสูง เกินจุดอิ่มตัว ทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือโมโนโซเดียมยูเรต ไปสะสมบริเวณไขข้อและเนื้อเยื่อทำให้เกิดข้ออักเสบ ผิดรูป ถ้าเป็นเรื้อรังนานๆก็ทำให้เกิดก้อนบริเวณข้อ เป็นนานเข้าอาจทำให้มีผลต่อไตได้
.
#ยูริกในเลือดสูง เกิดจาก พิวรีนในอาหาร( ➡️เป็นยูริก)+ร่างกายผลิตเอง>>> ร่างกายกำจัดออกไป
โดยปกติ 👧 > 6 mg/dl 👨>7 mg/dl ซึ่งพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักพบในผู้สูงอายุด้วย
.
#อาการทั่วไป จะมีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นข้อเดียวก่อน พบบ่อยที่สุดคือข้อหัวแม่เท้า จากนั้นอาจเป็นที่ข้ออื่นๆ อาการปวดมักเป็นตอนกลางคืน หากไม่รักษาอาจจะมีอาการอยู่ถึง 3 ถึง 14 วัน
.
#ข้อบ่งใช้
.
ใช้ป้องกันการกำเริบของโรคเก๊าท์
.
รักษาภาวะกรดยูริคในเลือดสูง เนื่องจากการใช้ยาเคมีบำบัด
.
ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วจากกรดยูริก ในคนที่เป็นโรคไต
.
#การออกฤทธิ์ของยา Allopurinol
.
ยับยั้งการสร้างกรดยูริก
.
สำหรับโรคเก้าท์ ขนาดเริ่มต้นคือ 100 mg ต่อวัน ค่อยๆปรับเพิ่มทีละน้อย จนถึง 600 mg ต่อวัน
.
#อาการข้างเคียงโดยทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ
.
#ข้อควรระวัง
.
-ในระหว่างวันควรดื่มน้ำเยอะ ให้ได้เยอะๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้วเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไต
.
-ในผู้ป่วยรายใหม่ ที่เพิ่งเริ่มใช้ยา ต้องเฝ้าระวังอาการแพ้ที่รุนแรงได้ ซึ่งโดยเฉลี่ย ระยะเวลาเกิดขึ้นภายใน 10 ถึง 21 วัน โดยในปัจจุบันสามารถตรวจยีน HLA-B*58.01(อ้างอิง 4) ผู้ที่มียีนชนิดนี้มีโอกาสที่จะแพ้ยา allopurinol ได้สูง แบบ SJS (อ้างอิง 3), TEN ( อ้างอิง 3)
.
**การตรวจยืนประเภทนี้ แอดมินไม่สามารถให้ข้อมูลเรื่องรายละเอียด ราคา และแหล่งที่ตรวจได้นะคะ
.
-ผู้ป่วยไตบกพร่อง ต้องปรับขนาดยา
-ในสัปดาห์แรกของการใช้ยา อาจทำให้โรคเก๊าท์กำเริบได้ จึงควรให้ยา colchicine หรือ ยาแก้ปวดตัวอื่นร่วมด้วย
.
เพื่อให้การควบคุมโรคได้ดีขึ้น ควรหลีกเลี่ยงหรือควบคุมอาหารที่ทำให้ยูริกสูง(อ้างอิง 5)
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
.
1.โรคเก้าท์ดูแลอย่างไรดี
is.gd/IRvjCY
.
2.Short Note Pharmacotherapy โดยอาจารย์ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
.
3.
https://drive.google.com/uc?export=download&id=17kA79Dz8ihmCm6A6fraVYDygB8KSqlgY
.
4 ตรวจยีนแพ้ยา Aloopurinol
is.gd/QPqTIt
.
5.บทความอาหารสำหรับโรคเก้าท์
https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/285
เครดิตภาพจาก Brgfx :Freepik
health
สุขภาพ
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย