Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvestWay
•
ติดตาม
21 ต.ค. 2023 เวลา 06:16 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมประเทศไทยมี "ความอ่อนไหว" ต่อเงินเฟ้อที่มาจากราคาพลังงานมากเป็นพิเศษ
ประเทศไทยซึ่งทั่วโลกมักเรียกกันว่า "ดินแดนแห่งรอยยิ้ม" มีเศรษฐกิจที่มีชีวิตชีวาด้วยภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวที่เจริญรุ่งเรือง
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความเจริญรุ่งเรืองภายนอกนี้ ประเทศไทยยังมี "ความเปราะบางต่อภาวะเงินเฟ้อ" ในหลายมิติ โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่มาจากราคาพลังงาน
ครั้งนี้จะมาบอกเล่ากันคร่าวๆ ว่าทำไมราคาพลังงานถึงส่งผลกับเงินเฟ้อในไทยเป็นพิเศษ
ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานพบว่า ไทยมีการใช้พลังงานในเชิงพานิชณ์ซึ่งรวมแล้วเทียบเท่ากับน้ำมันดิบปริมาณ 1.995 ล้านบาร์เรลต่อวัน
โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น น้ำมัน 44% (887), ก๊าซธรรมชาติ 38% (751), ถ่านหิน 12% (231), ลิกไนต์ 3% (67), พลังงานน้ำและไฟฟ้านำเข้า 3% (61)
แต่กว่า 1.585 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ 79% ของปริมาณที่เราใช้นั้นมาจาก "การนำเข้า"
โดยในส่วนที่นำเข้าประกอบด้วย น้ำมัน 60%, ถ่านหิน/ลิกไนต์ 20%, ก๊าซธรรมชาติและLNG 17% และไฟฟ้า 3%
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
หากดูจากสัดส่วนที่กล่าวมานี้ หลายๆคนอาจเริ่มเข้าใจแล้วว่า ทำไมประเทศไทยจึงมี "ความอ่อนไหว" ต่อเงินเฟ้อที่มาจากพลังงาน
งั้นเรามาต่อกันที่ว่าทำไมประเทศไทยจึงมีการนำเข้าพลังงานที่สูงแบบนี้ โดยเราจะมาดูที่อัตราส่วนการพึ่งพาตนเองในด้านเชื้อเพลิง
1
●
น้ำมัน
ประเทศไทยใช้น้ำมันอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 9 แสนกว่าบาร์เรลต่อวัน
แต่เรามีการพึ่งพาตนเองในด้านเชื้อเพลิงจากน้ำมันอยู่ที่ 13% เท่านั้น จากปริมาณการใช้น้ำมันทั้งหมดในประเทศ
ซึ่งถือว่า "ต่ำมาก" เพราะว่าประเทศไทยนั้นแทบไม่มีแหล่งน้ำมันของตนเองเลย ทำให้ไทยจำเป็นต้องมีการนำเข้าน้ำมันที่สูงกว่าพลังงานประเภทอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็น "ปัจจัยหลัก" ของเงินเฟ้อที่มาจากราคาพลังงานของไทยเลยก็ว่าได้
หากเรามาดูการนำเข้าน้ำมันทั้งหมดของประเทศไทยจะพบส่วนใหญ่มาจาก สหรัฐเอมิเรตส์ 47% และซาอุดิอาระเบีย 15% ซึ่งทั้งสองเป็นสมาชิกองค์กรของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC)
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา OPEC ได้มีการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันอยู่หลายครั้ง บวกกับปัจจัยอื่นๆ อย่างสงคราม การเมืองโลก และการแข่งขันกันระหว่างผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งสามารถกระทบกับประเทศไทยที่มีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันที่สูงได้นั่นเอง
หากราคาพลังงานอย่างน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่เป็น "เครื่องจักรเศรษฐกิจหลัก" ของไทย รวมถึงระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นหลัก และภาคประชาชนจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย
ซึ่งราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มต้นทุนทางธุรกิจเหล่านั้น ซึ่งพวกเขาก็จะส่งต่อต้นทุนนั้นไปทางสินค้าและบริการของพวกเขาเอง ท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง
●
ก๊าซธรรมชาติ
ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 3,588 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ในส่วนของก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยเรามีการพึ่งพาตนเองได้มากถึง 64% จากปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมดในประเทศ และมีการนำเข้าอยู่ที่ 36% ถือว่าเราพึ่งพาตนเองได้พอสมควร
ซึ่งเรานำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า 56%, อุตสาหกรรม 23%, โรงแยกก๊าซ 16% NGV 3% และอื่นๆอีก 2%
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
ซึ่งในด้านก๊าซธรรมชาติ แม้ประเทศไทยการมีการพึ่งพาตนเองได้พอสมควร แต่หากว่าราคาก๊าซธรรมชาติโลกปรับตัวสูงขึ้น ก็จะกระทบกับเงินเฟ้อที่มาจากพลังงานของประเทศไทยได้เช่นกัน เพียงแต่น้อยกว่าราคาน้ำมัน
เพราะเราใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าและใช้ในอุตสาหกรรมมากพอสมควร เนื่องด้วยประเทศไทยมีโรงงานการผลิตมากมาย และการที่มีไฟฟ้าสำรองไม่ขาดจึงถือเป็นจุดแข็งของไทยอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ดี หากมันราคาขึ้นก็กระทบเรื่องต้นทุนของภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมได้ ซึ่งก็นำไปสู่เงินเฟ้อได้เช่นเดียวกับน้ำมัน
●
ถ่านหิน/ลิกไนต์
ประเทศไทยมีการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์เป็นจำนวน 1,261,000 ตัน โดยใช้ในอุตสาหกรรม 49% และการผลิตไฟฟ้า 51%
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
ในส่วนถ่านหิน/ลิกไนต์ เรามีการพึ่งพาตนเองที่ 35% จากปริมาณการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ทั้งหมดในประเทศและอีก 65% เรานำเข้า ซึ่งถือว่านำเข้าสูงรองจากน้ำมัน
หากมันราคาขึ้นผลกระทบก็จะเหมือนกับพลังงานประเภทอื่นๆ และส่งผลกับเงินเฟ้อที่มาจากพลังงานของประเทศไทยได้พอสมควร ด้วยสัดส่วนการนำเข้าที่สูงแบบนี้
โดยภาพรวมแล้ว จากข้อมูลตัวเลขและสัดส่วนการนำเข้าที่เผยแพร่โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
เมื่อประเมินจากตัวเลขนำเข้าพลังงานหลายๆประเภทแล้ว จึงสรุปได้ว่าประเทศไทยนั้นจัดอยู่ใน "กลุ่มประเทศพึ่งพาพลังงานจากภานนอก" แม้ว่าพลังงานบางประเภทเราจะยังพอพึ่งพาตนเองได้บ้างก็ตาม
และด้วยตัวเลขการนำเข้านี้เอง หากราคาสินค้าพลังงานเหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้น จากปัจจัยต่างๆ เช่น สงคราม การเมืองโลก การแข่งขัน เศรษฐกิจ และอื่นๆ
ด้วยทรัพยากรพลังงานภายในประเทศที่จำกัด และความต้องการด้านพลังงานของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ หากราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น
สิ่งนี้สามารถผลักดันต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทต่างๆภายในประเทศ แล้วนำไปสู่การผลักต้นทุนเหล่านั้นไปในสินค้าและบริการของพวกเขา ทำให้สินค้าและบริการราคาเพิ่มขึ้น เป็นผลทำให้เกิดเงินเฟ้อในท้ายที่สุด
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงไม่แปลกเลยที่ทำไมประเทศไทยมี "ความอ่อนไหว" ต่อเงินเฟ้อที่มาจากราคาพลังงานมากเป็นพิเศษ
บทความนี้เป็นเพียงแค่การยกข้อมูลปัจจัยบางส่วนมานำเสนอเท่านั้น จริงๆความสัมพันธ์ของราคาพลังงานกับเงินเฟ้อ นั้นมีอีกมากมายกว่าที่กล่าวไว้ เพื่อนๆ หรือนักลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ด้วยตนเอง
References:
https://www.eppo.go.th/images/Energy-Statistics/energyinformation/Energy_Statistics/00All.pdf
https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/52a283c8-91f9-4b35-8157-2b2b42312602/page/p_ny1bybg6oc
https://gdcatalog.energy.go.th/ne/
ข่าวรอบโลก
เศรษฐกิจ
การลงทุน
6 บันทึก
4
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
INVESTING NEWS AND ECONOMY SERIES by InvestWay
6
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย