3 ต.ค. 2023 เวลา 06:03 • การศึกษา

ภาษาไทยน่ารู้ : ก๋วยเตี๋ยว ก๊วยเตี๋ยว หรือ ก้วยเตี๋ยว

คำนี้เป็นประเด็นนะคะ ว่าเขียนยังไงดี ต่างกันแค่ที่วรรณยุกต์ตัวแรกค่ะ
เราเขียนกันว่ายังไงคะ
ที่ถูกต้อง เขียนได้ 2 แบบ จาก 3 แบบค่ะ คือ ก๋วยเตี๋ยว และก๊วยเตี๋ยว
คือใช้ได้ทั้งไม้จัตวา ไม้ตรี แต่ไม่ใช่ไม้โท ค่ะ
เพราะฉะนั้น ก้วยเตี๋ยว ที่สะกดด้วยไม้โท จึงผิด
สาเหตุที่ใช้ได้ทั้งสองแบบเพราะ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ปี พศ.2554 ยอมให้ใช้ทั้ง
สองแบบค่ะ
ตอนแรกยอมรับแค่ ก๋วยเตี๋ยว ตอนหลังยอมรับเพิ่มให้ใช้คำที่สะกดว่า ก๊วยเตี๋ยว ด้วยค่ะ
เหตุผลที่ยอมรับเห็นจะเพราะ มีคนพูดและสะกด ก๊วยเตี๋ยว กันเยอะ ทั้งๆที่ตอนนั้น ก๋วยเตี๋ยว
ต่างหากที่เป็นการสะกดที่ถูกต้อง
ทีนี้มันก็เลยเป็นประเด็นค่ะว่า ราชบัณฑิตฯ ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการระบุ ไม่ใช่ยอมรับ
ไปเรื่อย ตามๆ กันไป ถ้าไปยอมรับสิ่งผิดให้เป็นถูกเพียงเพราะ"ใครๆก็ทำกัน" มันใช่เหรอ
แล้วจะมีหลักเกณฑ์ทำไม บางคนถึงขั้นบอกว่า จะมีราชบัณฑิตฯเพื่อ? ??
บางคนก็บอกว่า ถ้าใช้หลักแบบนี้ เดี๋ยวก็ยอมรับ "นะค่ะ"
มาคิดๆดู เค้าก็คอมเมนต์ถูกนะ
จะเห็นได้ว่าคนไทยเรา sensitive กับเรื่องการสะกดมากนะคะ ราชบัณฑิตฯ จะไปยอมหยวน
ให้คำไหนง่ายๆ เพียงเพราะ"คนใช้กันเยอะ" ไม่ได้แล้วค่ะ ถ้าไม่ออกมาแถลงให้ชัดว่าใช้เกณฑ์
อะไร โดนถล่มแย่เลย
เป็นกำลังใจให้แอด ขยันโพสต์บทความดีๆ ด้วยการช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันนะคะ
การกดติดตามมีความหมายกับแอดมากเลยค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา