7 พ.ย. 2023 เวลา 03:00 • การศึกษา

เปิดพื้นที่การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom 🧑‍🏫

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 🦠😷 เป็นสาเหตุให้โรงเรียนแทบทุกแห่งต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน 🏫 แต่ก็ได้นำมาซึ่งโอกาสที่สำคัญต่อระบบการศึกษา ด้วยการเปิดพื้นที่การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom 🧑‍🏫💫 ที่จะมาช่วยเปลี่ยนความคิดและกลับทิศทางให้พื้นที่ร่วมกันของครูและนักเรียนไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภายในห้องเรียนอีกต่อไป 😍
📚 ซึ่งจะเชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
ด้านที่ 1 ผู้เรียนรู้: Learner Person • การเรียนรู้บริหารจัดการตนเอง สามารถปรับตัวในโลกดิจิทัล และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต 👩‍💻🌟
ด้านที่ 2 ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม: Innovative Co-creator) • มีทักษะการทำงานร่วมกัน ความรอบรู้ทางดิจิทัล และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ตนเอง 💡
📜 ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่:
>> Covid ยังอยู่…สอนแบบกลับด้านดูไหม https://bit.ly/3qK3jBo
>> ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับการสอนคณิตศาสตร์ https://bit.ly/46e7llR
>> 20 Flipped classroom apps for teachers
>>มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561
📚 รูปแบบแนวคิดของห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
 
⭐ Flipped Classroom เป็นการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ระหว่างการเรียนแบบ E-learning 💻 และการเรียนแบบห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) เข้าด้วยกัน 🧑‍🏫 โดยแนวคิดหลักของ Flipped Classroom จะมุ่งเน้นไปที่การให้นักเรียนได้ศึกษาบทเรียนด้วยตนเองมาล่วงหน้า ผ่านคลิปวิดีโอของบทเรียนนั้น ๆ บนระบบ E-learning ที่คุณครูผู้สอนได้จัดเตรียมเอาไว้ 👩‍💻
หลังจากนั้น คุณครูจะเปิดห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) แบบ Live ผ่านระบบออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ Zoom, Google Meet หรือ LINE ✏️ โดยให้นักเรียนได้เข้ามาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหา 💁💭 ร่วมกับการเฉลยการบ้านแบบฝึกหัด เพื่อสร้างความเข้าใจและช่วยทำให้นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น 🔎
📝 ความแตกต่างระหว่าง ห้องเรียนปกติ และ ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
ห้องเรียนปกติ •
💁ครูผู้สอนจะเป็นผู้บรรยายเนื้อหาในห้องเรียน ✏️ โดยนักเรียนจะเป็นผู้ฟังและจดบันทึกเนื้อหาที่เรียน 👉 จากนั้นครูจะมอบหมายการบ้านให้นักเรียนกลับไปทำตามที่ครูสอนเองคนเดียวที่บ้าน 📓
ห้องเรียนกลับด้าน •
ครูผู้สอนจะเป็นผู้มอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง 👩‍💻✨ ผ่านสื่อการสอนต่าง ๆ อาทิ วีดิทัศน์ เอกสาร หรือบทความต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนจัดทำขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีเวลาทำความเข้าใจบทเรียนล่วงหน้า 🤩 หลังจากนั้นครูผู้สอนจะจัดกิจกรรมขึ้นในชั้นเรียน 📜 โดยมีครูผู้สอนคอยให้คำแนะนำและกระตุ้นให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านคำถามต่าง ๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการร่วมกันสรุปเนื้อหาที่ได้จากการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันอย่างแท้จริง 🧑‍🏫
🔎 การเตรียมการสอนในห้องเรียนแบบ Flipped Classroom
ก่อนสอน 📝
1️⃣ วางแผน • การจัดการเรียนการสอน โดยออกแบบแผนการสอน 📊 ตามเนื้อหาที่ต้องการสอน
2️⃣ บันทึก • บันทึกวิดีโอการสอนและตรวจสอบรายละเอียดเนื้อหาในคลิปวิดีโอที่บันทึกไว้ให้ครบองค์ประกอบตามแผนการสอนข้างต้น 🎬✨
3️⃣ เผยแพร่ • ในแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ 👩‍💻 พร้อมเขียนอธิบายเนื้อหาในวิดีโอดังกล่าว และสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual classroom) 💭
ในห้องเรียน 🧑‍🏫
4️⃣ ทบทวน • เตรียมการทบทวนบทเรียน 📖 ให้ผู้เรียนเพิ่มเติมจากคลิปวิดีโอที่ให้ศึกษามาก่อน
5️⃣ แลกเปลี่ยน • ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 💡 พร้อมแบ่งกลุ่มทำงานในหัวข้อที่คุณครูได้มอบหมายไว้ 👦👧
6️⃣ เสนอความคิดเห็น • ให้ผู้เรียนแต่ละคนเสนอความคิดเห็น ⭐ จากการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ และซักถามข้อสงสัยหลังจบการเรียนการสอน ✏️
หลังการสอน 🗂️
7️⃣ ตรวจงาน • คุณครูตรวจงานที่นักเรียนส่งมา ✅
8️⃣ ปรับแก้ • คุณครูดูจุดบกพร่องและจุดที่ต้องแก้ไขของงาน ✒️
9️⃣ ประเมิน • คุณครูให้นักเรียนส่งงานที่ปรับแก้แล้วกลับคืนมาอีกครั้ง ✍️ เพื่อประเมินผลว่านักเรียนมีความเข้าใจในสิ่งที่ครูชี้แนะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ✨
🌟 การเรียนแบบ Flipped Classroom ดีอย่างไร
ผู้สอน 🧑‍🏫
1. สามารถมุ่งสู่ส่วนที่ซับซ้อนของบทเรียนได้เร็วขึ้น• เนื่องจากผู้เรียนได้มีการเตรียมตัวศึกษาเนื้อหาก่อนเริ่มเรียน 📚 แม้จะมีจุดที่ยังไม่เข้าใจก็สามารถจดเนื้อหาในส่วนนั้นมาถามให้ชั้นเรียนได้ 💡 ทำให้คุณครูลดการใช้เวลาเมื่อการสอนเริ่มต้นขึ้น
2. ผู้สอนรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เรียน• เนื่องจาก Flipped Classroom มีการป้อนความรู้ให้ผู้เรียนก่อนชั้นเรียนจะเริ่ม ✏️ ผู้สอนจึงสามารถตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคนผ่านกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนได้ ซึ่งจะทำให้สามารถรู้ว่าผู้เรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อยเพียงใด ได้แบบรายคนก่อนจะปรับปรุงแก้ไขต่อไป 📝
3. ผู้สอนสามารถทำเวลาที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์ • ผ่านการทบทวนเนื้อหาที่สำคัญและข้อสงสัยของผู้เรียน 🔎 เพื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
ผู้เรียน 👦👧
1. ค้นพบจุดที่เข้าใจยากของบทเรียนตั้งแต่เนิ่น ๆ • การได้มีโอกาสเตรียมตัวทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนก่อนเข้าชั้นเรียน 📜✨ จะทำให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวไม่เข้าใจในส่วนไหนตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนและพร้อมสำหรับการค้นหาคำตอบในชั้นเรียนจริงมากขึ้น ✅
2. เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้ • Flipped Classroom เน้นไปที่การสร้างความรู้ผ่านการทำกิจกรรม, การนำเสนอ, การพูดคุย และแบบฝึกหัดในชั้นเรียน 💁💭 เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นหาปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นและค้นหาคำตอบที่ควรจะเป็น 👉 ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนไอเดียต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ⭐
💻 แนะนำแอปพลิเคชันสำหรับการสอนแบบ Flipped Classroom
การสร้างห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 🌟 คุณครูผู้สอนสามารถนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือ 🧩✏ เพื่อช่วยจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการทำงาน และวางแผนการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น 📝🙆
โดยวันนี้น้องพาเพลินมี 5 แอปพลิเคชัน ที่เหมาะกับการสอนแบบ Flipped Classroom มาแนะนำให้กับผู้สอนทุกท่าน 🧑‍🏫 เพื่อการนำพัฒนาการสอน ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น 😍✨
1️⃣ Edpuzzle • https://edpuzzle.com/
2️⃣ Duolingo • https://www.duolingo.com/
3️⃣ ClassFlow • https://classflow.com/
4️⃣ Kiddom • https://www.kiddom.co/
5️⃣ ShowMe • https://www.showme.com/
#OECnews #สภาการศึกษา #flippedclassroom #ห้องเรียนกลับด้าน
📝OEC NEWS สภาการศึกษา
• LINE: @OECNews | http://line.me/ti/p/@OECNews

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา