4 ต.ค. 2023 เวลา 10:28 • การศึกษา

ภาษาไทยน่ารู้ : สเต๊ก หรือ สเต็ก หรือ เสต็ก

อาหารชนิดนี้เราเขียนยังไงดีคะ ใครๆ ก็เคยกิน ใครๆก็พูดได้ แต่
ใครๆ ก็เขียนได้รึเปล่าคะ หมายถึงเขียนให้ถูกน่ะนะ
คำตอบคือ สเต๊ก ค่ะ
สเต๊ก เป็นคำยืมมาจากภาษาสแกนดิเนเวียว่า steik ตั้งแต่ตอนกลาวของ
ศตวรรษที่15 แล้วค่ะ แล้วเรามาเขียนคำอ่านให้เป็นภาษาไทย ถือเป็นคำทับศัพท์ค่ะ
หลักเกณฑ์ในการบัญญัติเป็นคำทับศัพท์อย่างหนึ่งของราชบัณฑิตยสถานคือ
ไม่ใส่วรรณยุกต์หรือไม้ไต่คู้ ทีนี้เราก็เคียงใช่มั้ยคะ อ้าว สเต๊ก ใส่ไม้ตรี
มันก็จะมีข้อยกเว้นอีกอย่างค่ะ คือ ถ้าคำนั้น ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้
นานแล้ว ก็ใช้ตามนั้นไปเลย มันเข้าเกณฑ์ตรงนี้แหละค่ะ
ทีนี้ เราคงเคยได้ยินใช่มั้ยคะ เวลาที่เราไปกินสเต๊กที่ราคาแพงหน่อย หรือที่ที่
เค้าชำนาญเรื่องสเต๊กโดยเฉพาะ จะสร้างความลำบากใจให้เรา เพราะเค้า
จะถามว่า จะให้สุกระดับไหน ก็จะมี 4 ระดับค่ะ แยกเป็น
rare, medium rare, medium well, well done
บางครั้งเค้าก็แยกง่ายๆแค่ rare, medium, wellนะคะ แล้วแต่ร้านค่ะ
ส่วนใหญ่คนไทยเรามักชอบแบบ well done ใช่มั้ยคะ หรือมันแค่ครอบครัวของแอด
ตอนเด็กๆ ที่แอดยังไม่่ประสีประสา พ่อแม่จะ play safe ไว้ก่อน สั่ง well done ให้
แอดทุกที แอดก็เลยติด ถ้าเป็นสเต๊ก ต้อง well done
แต่พอออไปสู่โลกกว้าง เพื่อนต่างชาติ หรือ เพื่อนคนไทยที่ชื่นชอบสเต๊กมากๆบางคน
จะมองแอดแปลกๆ ค่ะ เพราะเค้าจะสั่ง medium rare หรือใครที่แอดวานซ์มากๆ
ก็จะสั่ง rare ไปเลย ประมาณว่า ถ้ากินแบบ well done จะเสียของ ไม่รับรู้รสชาติของ
เนื้อจริงๆ
ระดับการสุก ก็ขึ้นอยู่กับการใช้ไฟค่ะ ถ้าปรุงนาน ใช้ไฟนานก็ well done แค่นั้นเองค่ะ
ช่วยเป็นกำลังใจให้แอดด้วยการกดไลค์กด กดแชร์ กดติดตามกันนะคะ สิ่งเหล่านี้มีความหมายกับแอดมากจริงๆค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา