6 ต.ค. 2023 เวลา 14:09 • สุขภาพ

HCTZ

HCTZ(Hydrochlorothiazide) เป็นยาลดความดัน กลุ่มยาขับปัสสาวะ ในกลุ่ม ไทอะไซด์(Thiazide ) ที่มีการใช้มานานแล้ว แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีทางเลือกในการใช้ยาลดความดันมากขึ้น ทำใ้ห้ ยาตัวนี้ ยังมีการใช้อยู่แต่น้อยลงไป วันนี้จะมาเล่าให้ฟังนะคะ
#กลไกการออกฤทธิ์ของยา
ออกฤทธิ์โดย ลดการดูดกลับของโซเดียมที่ท่อไต ทำให้การดูดกลับน้ำเข้าสู่ร่างกายลดลง จึงทำให้ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง เลือดที่ไหลเวียนเข้าหัวใจ เพื่อสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายก็ลดลงเช่นกัน จึงทำให้ความดันลดลง
#ข้อบ่งใช้หลักๆ คือ
1.รักษาภาวะบวมน้ำที่เกิดจากโรคต่างๆ
2. ใช้รักษาความดันโลหิตสูง
#อาการข้างเคียง
ทำให้มึนงง ปวดศีรษะ มีระคายเคืองทางเดินอาหาร เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย
**อาการปัสสาวะบ่อย มักจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 อาทิตย์แรก และจะค่อยๆลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้าผู้ป่วยยังมีปัสสาวะบ่อยมากจริงๆให้ปรึกษาแพทย์ได้คะ
#วิธีรับประทาน
รับประทาน วันละ 1 ครั้ง ตอนเช้า หรือถ้ามีรับประทาน 2 มื้อ ก็แนะนำให้รับเป็นรับประทานวันละ 2 ครั้งตอนเช้าและเที่ยง เพื่อป้องกันการปัสสาวะช่วงกลางคืน
#ข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ในผู้ที่ไม่มีปัสสาวะ
.
2.ระวังการใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาซัลฟาเนื่องจากยามีโครงสร้างทางเคมีบางส่วนเป็นซัลฟา แต่มีโอกาสแพ้น้อยกว่ากลุ่มซัลฟาที่เป็นยาฆ่าเชื้อ
.
3. ห้ามใช้ในผู้หญิงที่ให้นมบุตร
.
4.อาจทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมต่ำได้ แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานผลไม้ หรืออาหารที่มีโปแตสเซียมสูงได้
.
5.ห้ามใชัใน ผู้ที่มีภาวะ ตับ-ไต บกพร่องอย่างรุนแรง
.
6.ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคเกาต์เพราะอาจจะทำให้ยูริคในเลือดสูงได้
7.อาจทำให้ผู้ป่วย มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือไขมันในเลือดสูงขึ้นในขนาดยาสูงมากกว่า 25 mg ต่อวัน
#สรุป เนื่องจากในปัจจุบัน มียาลดความดันในกลุ่มอื่นๆที่ดีกว่า และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าความนิยมในการใช้ยาตัวนี้จึงน้อยลง แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยา ชนิดนี้ เพื่อเสริมยาลดความดันตัวอื่น หรือ ใช้ในกรณีที่มีอาการบวมน้ำจากสาเหตุใดๆก็ตาม หรือใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะตัวอื่นในกรณีที่ใช้ยาขับปัสสาวะตัวเดียวแล้วไม่ได้ผล
ขอขอบคุณผู้อ่านที่ติดตามบทความและแชร์นะคะ พบกันใหม่ในวันจันทร์คะ แอดมอนขอพักสมองแปปคะ 😀☺
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
1. review of anti hypertensive treatments
2.ตำราเภสัชกรครอบครัว โดย สมาคม เภสัชกรรมโรงพยาบาล แห่งประเทศไทย
3.short note pharmacotherapy โดย อ.ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
โฆษณา