8 ต.ค. 2023 เวลา 12:22 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ตลาดหุ้น 20 ปีมานี้สอนอะไรเราบ้าง

เฮียนั่งคิดถึงเรื่องหัวข้อที่อยากจะเขียนวันนี้มาซัก 2-3 อาทิตย์แล้วนะครับ แต่ก็ยังหาประเด็นหลักไม่ได้ว่าบทความนี้ถ้าเขียนออกมาจริงๆจะสื่อถึงอะไร ก็ที่คิดก็เลยกลายเป็นแค่ความคิดอยู่แค่นั้น จนกระทั่งรายการ Clubhouse ครั้งล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ความคิดก็ต่อกันติดเป็นรูปเป็นร่าง
ถ้าเราถามว่าหุ้นตัวไหนคือหุ้นที่ดี และลักษณะของหุ้นที่ดีต้องเป็นยังไง เฮียมั่นใจพอสมควรว่าคำตอบที่ได้รับจากคนที่ตอบในสาขาอาชีพที่ต่างๆกันก็จะตอบอะไรออกมาแตกต่างกันพอสมควร สิ่งที่นึงเฮียมักจะย้ำเสมอว่ากำไรจากตลาดหุ้นนั้นจะสะท้อนถึงความรู้และความเข้าใจในหุ้นตัวนั้นๆ แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ หากเฮียจะเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม สิ่งแรกที่เฮียนึกออกคือ “โลกเราตอนนี้เคลื่อนไปข้างหน้าเร็วกว่าที่เราทุกคนคิดไว้มาก”
หลักการพื้นฐานการลงทุนคือสร้างผลกำไร แต่อีก 2 ข้อที่เฮียอยากจะเน้นย้ำว่าต้องนำมาคำนวณด้วย “ความเสี่ยง” และ “แนวโน้มหลักของธุรกิจนั้นๆ” เพราะหากเรามองบรรทัดสุดท้ายที่คำว่ากำไรเท่าไหร่ แต่หากเราไม่ได้นำเรื่องความเสี่ยงเข้ามาคำนวณในการตัดสินใจลงทุน หลายๆครั้งที่เฮียเห็นว่านักลงทุนรายย่อยมักจะผิดพลาดเพราะเพิ่มความเสี่ยงเข้าไปมากเกินไป ซึ่งในประเด็นนี้เฮียจะนำมาเขียนแยกเป็นอีกหนึ่งบทความ
1
ประเด็นหลักของสิ่งที่อยากจะสื่อในวันนี้คือการวิเคราะห์แนวโน้มหลักของอุตสาหกรรมที่เราจะเข้าไปลงทุน ชาวแก๊ง 4 โมงที่ติดตามเฮียมาตลอดจะพอทราบว่าเฮียไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เวลานักวิเคราะห์เทพออกมาเชียร์แต่ละรอบเฮียก็เฉยๆ แต่เฮียไม่ได้ปฏิเสธว่าหุ้นธนาคารไม่ใช่หุ้นที่ดีนะ แต่มันไม่ใช่หุ้นที่หน้าเทรดตรงกับสไตล์ของเฮียใช้เท่านั้นเอง
เฮียโตมาในยุค 90s ซึ่งอยู่ในช่วงที่ประเทศเรากำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด(เอาจริงๆมันก็ต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงยุค 80s แล้วล่ะครับ) ในช่วงนั้นเศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและโชว์ตัวเลขที่น่าจะประทับใจเนื่องจากฐานในการคำนวนตัวเลขทางเศรษฐกิจมันต่ำ(เช่นเดียวกับกรณีเวียดนามช่วง 10 ปีที่ผ่านมา)
ทำให้เราถูกจับตาว่าเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในภูมิภาค ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคือกลไกการปล่อยเงินเข้าสู่ระบบ นี่เป็นเหตุที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ถูกมองว่าเป็นหุ้น Blue chip และภาพลักษณ์นี้ก็ติดตามกลุ่มนี้เรื่อยมา
อีกกลุ่มนึงที่เฮียจำได้แม่นว่าคือพระเอกของตลาดหุ้นในช่วง 20 ปีก่อนคือหุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เมื่อชนชั้นกลางกำลังเติบโตขึ้นในช่วงต้นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความพยายามยกระดับฐานะของชนชั้นกลางก็มากขึ้น เมื่อบวกเข้ากับทรัพยากรด้านที่ดิน ต้นทุนแรงงานที่ไม่แพง และคู่แข่งไม่เยอะ ทำให้หุ้นที่มีรายได้จากหมู่บ้านจัดสรรกลายเป็นหุ้นที่ทุกคนต้องเล่น
เฮียอยากจะย้อนกลับมาในหุ้นที่เป็นดาวเด่นในยุคปัจจุบัน เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าหุ้นธนาคารพาณิชย์และหุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หมดเสน่ห์ไปแล้วอย่างสิ้นเชิง พวกเราก็ยังเล่นหุ้นเหล่านี้อยู่ในตลาดเพียงแต่ถ้าเราเปิดใจจริงๆเราจะพบว่ามีอีกหลายธุรกิจที่โดดเด่นมากกว่าหุ้น 2 กลุ่มดังกล่าวที่เฮียเขียนก่อนหน้านี้
1
ถ้าเราเอาหุ้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาเป็นตัวตั้ง เฮียอยากให้ดูช่วงปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าหุ้นนิคมอุตสาหกรรมมีการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นมากๆ หุ้นกลุ่มนี้เป็นหุ้นกลุ่มแรกๆที่เฮียแนะนำในการสัมมนาเดือนมกราคมที่โรงแรม Ascott ว่าจะเติบโตแน่นอนเนื่องจากการเม็ดเงินที่เตรียมเข้ามาลงทุนในไทยที่ถูกอั้นไว้มานานจะเริ่มมีการไหลกลับเข้ามานับจากปีนี้เป็นต้นไป(เรื่องนี้
จะขอพูดในอีกบทความเช่นเดียวกัน เพราะเฮียมองว่าเป็นประเด็นน่าสนใจมากที่จะเขียนถึง) และเราจะเริ่มเห็นการย้ายออกของอุตสาหกรรมเก่าที่ประเทศไทยเริ่มไม่ได้เปรียบ และจะมีการลงทุนในอุตสาหรรมประเภทใหม่ที่เราเตรียมโดดเข้าแข่งขันในตลาดโลก
หุ้นอีกตัวที่เฮียมักจะพูดถึงกับคนใกล้ชิดเสมอคือกลุ่มโรงเรียน เฮียอยู่ในแวดวงการศึกษาตลอดชีวิต เฮียบอกได้เลยนะครับว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีความแตกต่างจากยุคก่อนๆอย่างสิ้นเชิง เมื่อ 10 กว่าปีก่อนเฮียจะเห็นว่าโรงเรียนต่างๆมีความพยายามทำโครงการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก(English Program) ขึ้นมาในเกือบทุกโรงเรียน
แต่ปัจจุบันกระแสการเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติ(International school) กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของชนชั้นกลางของประเทศนี้ไปแล้ว เฮียเข้าใจว่าการศึกษาคือการลงทุนที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการซื้อสังคมเพื่อมอบให้กับบุตรหลาน ดังนั้นหากเรามองออกว่าอะไรคือสิ่งที่กำลังจะเริ่มก่อตัวเป็นแนวโน้มใหญ่ ราคาหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆก็จะตอบสนองมากขึ้นเท่านั้น
ที่เขียนมาทั้งหมด เฮียอยากจะบอกว่าการลงทุนมันกว้างครับ และส่วนใหญ่มักจะลึกกว่าที่คนทั่วไปรับรู้ ดังนั้นหากเราต้องเลือกหุ้นดาวเด่นขึ้นมา 5 ตัวเพื่อที่จะเล่นในรอบต่อไป คน 10 คนก็เลือกหุ้นออกมาไม่เหมือนกัน ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับความรู้และความเชื่อว่าเราจะยึดติดกับอดีตหรืออนาคต
การยึดมั่นในโมเดลหุ้นที่ประสบความสำเร็จเมื่อ 10 ปีที่แล้วไม่ใช่เรื่องผิดถ้าจุดหมายในการลงทุนของเราคือความมั่นคงเพราะอะไรที่มันพิสูจน์ไปแล้วว่าสำเร็จ ธุรกิจเหล่านั้นก็ควรจะมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันสูงกว่า แต่แนวคิดคืออะไรที่คนรับรู้กันเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะเปลี่ยนชีวิตเราในทางบวกแรงๆก็คงไม่มี
ในด้านกลับกัน หากเราคิดจะลงทุนในอุตสาหรรมที่จะเป็น The next-mega trend stocks นั่นหมายความว่าเราจะต้องรู้ข้อมูลบางอย่างที่นักวิเคราะห์ที่เชียร์พวกเราซื้อหุ้นช่วง 1500-1600 จุดยังไม่รู้(แล้วบอกว่ากำลังจะ 1700 เร็วๆนี้) ความยากที่เฮียอยู่ในวงการหุ้นคือรายย่อยที่จะหาหุ้นพวกนี้เจอจะต้องเปิดใจสูงมากและเป็นคนที่มองไปข้างหน้าและไม่สนข้างหลังซึ่งในตลาดต้องบอกเลยว่าเฮียเจอตัวไม่มาก
อย่าไปหวังพึ่งพวกนักวิเคราะห์หรืออาจารย์ Facebook เยอะมากเลยครับ หนึ่งหัวข้อที่เฮียได้รับคำบ่น คำร้องเรียนเยอะมากเวลาคุยกันมิตรสหายเกี่ยวกับการลงทุนคือเหล่า influencers ด้านการลงทุนที่มักจะตั้งตัวว่าเป็นผู้รู้ด้านการลงทุน ซึ่งช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้นำปัจจัยด้านการเมืองลงมาละเลงกับบทวิเคราะห์ที่ปกติก็ไม่ค่อยถูกเท่าไหร่แล้ว ทีนี้ก็ยิ่งเละเทะกันไปใหญ่ บางท่านตั้งตัวเป็นผู้รู้ด้าน Macro Economics ไปอีกตำแหน่ง คนห่าอะไรมันจะเก่งเพียบพร้อมไปซะทุกด้านขนาดนั้นครับ
2
จากรูปที่เฮียฝากมาพร้อมกับบทความนี้ เฮียอยากให้ทุกคนสังเกตว่าดาวเด่นจากตลาดหุ้นช่วงยุค 2545 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระเอกช่วงยุคที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขั้นต้นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคการเงิน, การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์
หุ้นเหล่านี้กำลังถูกแทนที่ด้วยหุ้นการท่องเที่ยว, ค้าปลีก, และพลังงาน(ที่เปลี่ยนไปเป็นด้านพลังงานเฉพาะตัวมากขึ้น) จากเหตุผลที่เฮียมาทั้งหมดนี้ และภาพประกอบที่เฮียยกมา หากเรายังเชื่อว่าโลกหมุนไปข้างหน้า คงเป็นการไม่ฉลาดนักที่จะคิดว่าหุ้นที่เป็นดาวเด่นในปี 2566 จะยังคงเป็นดาวเด่นต่อไปทุกตัวในอีก 20 ปีข้างหน้านี้
เฮียย้ำมาตลอดว่าตั้งแต่ปี 2024 ไปอีกซักพัก พวกเราทุกคนจะเข้าสู่คลื่นการลงทุนครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ที่คนเข้าตลาดมาเป็นเวลา 30 ปีอย่างเฮียก็ไม่เคยเห็น ดังนั้นเลือกเอากันว่าเราต้องการประสบความสำเร็จแค่ค่ามาตรฐาน หรือต้องการทำสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตของพวกเราไปตลอดกาล ทางเลือกอยู่ในมือพวกเราเพียงแต่คน 10 คนจะตัดสินใจ 10 อย่าง แล้วเราจะเลือกแบบไหนล่ะครับ นี่คือสิ่งที่เราควรจะต้องกลับไปคิดกันให้หนัก
Be careful of instant success; Instant success can lead to failure ❤️
FB: แก๊ง 4 โมง – By เฮียใช้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา