Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
12 ต.ค. 2023 เวลา 04:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การสื่อสารระหว่างเซลล์ | Biology with JRitsme.
⌚เวลาที่ใช้ในการอ่าน 5 นาที
เราสังเกตว่าในตอนที่ก่อนหน้าที่กล่าวถึงการขนส่งสารเข้าออกเซลล์ เซลล์จะต้องมีการรับส่งสารต่าง ๆ เข้าออกร่างกายมันเสมอ ไม่เพียงทำเพื่อรักษาสมดุล รับสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (เปรียบเสมือนการกิน) และขับของเสียออก (เสมือนกับการขับถ่าย) แต่ยังทำเพื่อสื่อสารกับเซลล์รอบข้างด้วย
เซลล์ไม่มีภาษาอังกฤษ ไม่มีภาษาไทย หรือแม้แต่ภาษาคนเลย แล้วมันคุยกันได้อย่างไร... จริง ๆ แล้วมันคุยด้วยภาษาสารเคมีนั่นเอง การขนส่งสารเช้าออกเซลล์ในตอนก่อนหน้าจึงมีบทบาทมากในบางวิธี ที่นี้มาดูกันว่าเซลล์ใช้สารเคมีในการสื่อสารอด้วยวิธีการใดบ้าง
ภาพรวมการสื่อสารระหว่างเซลล์ที่มีทั้งผู้ส่งสัญญาณและผู้รับ ผ่านสารเคมี ที่มา: https://www.staff.ncl.ac.uk/t.r.cheek/cellcomm.htm
การสื่อสารระหว่างเซลล์ [Cell communication] จะอาศัยเซลล์ที่ปล่อยสัญญาณ [Signaling cell] คือเซลล์ที่ส่งสารเคมีออกมาเพื่อสื่อสาร ไปหาเซลล์เป้าหมาย [Target cell] โดยจับรับสัญญาณสารเคมีด้วยตัวรับ [Receptor] เมื่อรับสัญญาณแล้วจะแปลง [Transduction] ไปเป็นสัญญาณภายในเซลล์ แล้วตอบสนอง [Response] ออกมา ซึ่งการสื่อสารระหว่างเซลล์สามารถแบ่งได้ตามระยะทางการสื่อสารได้ดังนี้
การรับส่งสัญญาณผ่านช่องระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกันโดยตรง ที่มา: https://bio1151b.nicerweb.net/Locked/media/ch11/junction.html
การสื่อสารของเซลล์ที่อยู่ติดกัน จะใช้ช่องเล็กระหว่างเซลล์ในการขนส่งสารเคมีสัญญาจากเซลล์สู่เซลล์ได้อย่างรวดเร็ว เซลล์สัตว์ที่อยู่ติดกันจะใช้แก็บจังชัน [Gap junction] ส่วนเซลล์พืชจะใช้ช่องพลาสโมเดสมาตา [Plasmodesmata]
การสื่อสารแบบจับกับสารบนเยื่อหุ้มเซลล์อย่างจำเพาะ ที่มา: https://www.macmillanhighered.com/BrainHoney/Resource/6716/digital_first_content/trunk/test/morris2e/morris2e_ch9_5.html
การสื่อสารของเซลล์ที่อยู่ระยะใกล้ เซลล์บางชนิดสามารถเคลื่อนที่หากันได้ และจะใช้สารเคมีบนเยื่อหุ้มเซลล์เข้ามาจับกันอย่างจำเพาะ [Contact dependent signaling] อาจเป็นไกลโคโปรตีน ไกลโคลิพิด เมื่อจับกันแล้ว เซลล์เป้าหมายจะรับแปลงสัญญาและตอบสนองออกมา
การสื่อสารโดยการหลั่งสารออกมา ที่มา: https://www.macmillanhighered.com/BrainHoney/Resource/6716/digital_first_content/trunk/test/morris2e/morris2e_ch9_5.html
แต่ถ้าหากว่าเซลล์เคลื่อนหากันไม่ได้ ก็สามารถหล่งสารออกมาเพื่อให้เซลล์เป้าหมายรับสารด้วยตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ [Paracrine]
การสื่อสารโดยการหลั่งสารออกมาหาตัวเอง ที่มา: https://www.macmillanhighered.com/BrainHoney/Resource/6716/digital_first_content/trunk/test/morris2e/morris2e_ch9_5.html
บางครั้งเซลล์อาจสื่อสารโดยการหลั่งสารเข้าหาตัวเอง [Autocrine] (แบบนี้ก็มีด้วย...) หลายครั้งมักจะใช้ในการสั่งสัญญาณทำลายตัวเอง [Apoptosis]
ไซแนปส์เคมี (ซ้าย) และไซแนปส์ไฟฟ้า (ขวา) ที่มา: https://www.nature.com/articles/nrn3708
สำหรับเซลล์ประสาทจะใช้วิธีการส่งกระแสประสาทไปที่อีกเซลล์หนึ่งที่ติดกันโดยตรง เรียกว่าไซแนปส์ไฟฟ้า [Electrical synapse] แต่ถ้าหากว่าทั้งสองเซลล์อยู่ห่างกันจะใช้วิธีส่งสารสื่อประสาท [Neurotransmitter] ให้อีกเซลล์รับสัญญาณและส่งกระแสประสาทต่อไป เรียกว่าไซแนปส์เคมี [Chemical synapse]
การสื่อสารโดยการหลั่งสารผ่านกระแสเลือด ที่มา: https://www.macmillanhighered.com/BrainHoney/Resource/6716/digital_first_content/trunk/test/morris2e/morris2e_ch9_5.html
การสื่อสารระยะไกลจะคล้าย ๆ กับการหลั่งสารแล้วให้เซลล์ตัวรับรับไป [Paracrine] แต่เนื่องจากเซลล์อยู่ห่างไกลมาก ๆ เลยต้องอาศัยกระแสเลือดในการพาสารไปหาเซลล์เป้าหมาย [Endocrine] ซึ่งสารเคมีนั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มฮอร์โมน [Hormone] วิธีนี้มักใช้ควบคุมการทำงานของระบบร่างกายในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน ได้แก่ สัตว์
และนั่นคือวิธีทั้งหมดที่เซลล์ใช้สื่อสารซึ่งกันและกันทั้งใกล้ ไกล ในตอนต่อไปจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเซลล์ มันไม่ได้นิ่งอยู่กับที่อย่างที่หลายคนกันหรอกนะ... อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😺
ความรู้
ความรู้รอบตัว
วิทยาศาสตร์
บันทึก
3
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย