Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน เขียน เรียน รู้
•
ติดตาม
20 ต.ค. 2023 เวลา 02:00 • สุขภาพ
ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ เมื่อไรควรไปหาหมอและส่องกล้อง
อาการปวด มวน จุก เสียด แน่น แสบร้อน ไม่สุขสบาย บริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือช่องท้องส่วนบน (upper abdomen) ในภาษาทางการแพทย์เรียกว่าภาวะดิสเป็ปเซีย (dyspepsia) เป็นอาการทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยเป็นกัน ว่ากันว่า คนไทยราว 2 ใน 3 เคยมีอาการดิสเป็ปเซีย
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากโรคกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบ อาการมักเป็น ๆ หาย ๆ ซื้อยาลดกรดในกระเพาะมารับประทานอาการมักดีขึ้น นอกจากอาการไม่สุขสบายบริเวณใต้ลิ้นปี่ บางรายอาจมีท้องอืด คลื่นไส้ เรอเปรี้ยว หรือแสบร้อนกลางอกร่วมด้วย
แล้วเมื่อไรเราควรไปหาหมอและส่องกล้องทางเดินอาหาร
คำตอบคือ เมื่อไรที่อาการที่เป็นนั้น ไม่น่าจะเกิดจากโรคกระเพาะอาหารหรือลำเล็กส่วนต้นอักเสบแบบธรรมดา ๆ หรือกล่าวคือ อาจเป็นโรคที่มีความรุนแรง หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่อันตรายรวมทั้งโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยกลุ่มอาการที่บ่งชี้ว่าเราควรไปหาหมอนั้น เราเรียกว่า สัญญาณเตือน หรือ alarm features บ้างก็เรียกว่า red flag symptoms
สัญญาณเตือนมีอะไรบ้าง
- มีภาวะเลือดออกทางเดินอาหาร เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำผิดปกติ
- มีภาวะซีด โลหิตจาง
- กินได้น้อยกว่าปกติ หรืออิ่มเร็วกว่าปกติอย่างชัดเจน
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจมากกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน หรือมากกว่าร้อยละ 10 ในระยะเวลา 6 เดือน
- มีอาการอ้วกอาเจียนบ่อย ๆ เป็น ๆ หาย ๆ
- ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานเบื้องต้น (โดยทั่วไป คือ กินยาลดกรดชนิด PPI/proton pump inhibitor ประมาณ 4-8 สัปดาห์)
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
- อายุที่เริ่มมีอาการครั้งแรกตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ถ้าใครมีสัญญาณเตือนเหล่านี้ แนะนำให้พบแพทย์ทางเดินอาหารโดยเร็วและได้รับการตรวจเพิ่มเติมโดยเฉพาะการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง พร้อมการรักษาที่จำเพาะกับโรค อย่าปล่อยทิ้งไว้หรือซื้อยามากินเอง
อ้างอ้ง
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย Dyspepsia ในประเทศไทย พ.ศ. 2561 โดยกลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร
ความรู้
ไลฟ์สไตล์
สุขภาพ
บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้ทันหมอ
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย