Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากห้องยา
•
ติดตาม
23 ต.ค. 2023 เวลา 13:33 • สุขภาพ
Mebeverine (เมบีเวอรีน) เป็นยาที่ใช้สำหรับอาการปวดเกร็งในช่องท้อง
ต่างจากยาลดอาการปวดเกร็ง hyoscine( รู้จักกันทั่วไปว่า บุสโคพาน) อย่างไร
เป็นคำถามจากคนไข้ท่านหนึ่งค่ะ😊☺
.
#ในแง่ของกลไกการออกฤทธิ์
Mebeverine(เมบีเวอรีน) ออกฤทธิ์โดยตรงที่บริเวณกล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหาร และยังช่วยควบคุมระดับของแคลเซียมภายในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ จึงมีข้อบ่งใช้ในลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อท้อง และลำไส้และใช้บรรเทาอาการของโรคลำไส้แปรปรวนด้วย
.
ส่วนยาแก้ปวดไฮออสซีน จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทที่ระบบประสาท ในบริเวณกล้ามเนื้อเรียบของทางเดินอาหาร และทางเดินปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเกิดการคลายตัว และลดความเจ็บปวดจากการหดเกร็งได้ จึงมักเอามาใช้เพื่อลดอาการเกร็งและอาการปวดในโรคลำไส้ ทางเดินปัสสาวะและยังมีบรรเทาอาการปวดอื่นๆ อย่างเช่น ปวดประจำเดือนได้
.
# ในแง่ผลข้างเคียง
เมบีเวอรีน ผลข้างเคียงน้อย เช่น แน่นท้อง ท้องอืด เพราะยาไม่ได้ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท ได้แต่ยาไฮออสซีน อาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงเช่นหัวใจเต้นเร็ว มึนงง ตาพร่าปากแห้ง คอแห้งได้ค่ะ
#รูปแบบที่จำหน่ายในท้องตลาด คือ 135 mg กับ 200 mg ในรูปแบบออกฤทธิ์ยาว
#วิธีรับประทาน วันละ 2-3 ครั้งตามอาการค่ะ ให้รับประทานก่อนอาหารประมาณ 20 ถึง 30 นาที
#หลีกเลี่ยงการใช้ยาในหญิงให้นมบุตร เพราะยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ
#สำหรับหญิงมีครรภ์ ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลเรื่องการเกิด อันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลอง แต่เนื่องจากข้อมูลจำกัด แนะนำให้ใช้ได้ด้วยความระมัดระวัง
#สรุป เนื่องจากยาเมบีเวอรีน มีข้อบ่งใช้ในโรคลำไส้แปรปรวน จึงนิยมใช้ในข้อบ่งใช้นี้ และออกฤทธิ์โดยตรงกับกล้ามเนื้อเรียบที่ทางเดินอาหาร รวมถึงราคาอาจจะยังสูงกว่ายาแก้ปวดตัวอื่นๆ จึงทำให้การใช้อาจจะไม่แพร่หลายเท่าไฮออสซีน ซึ่งสามารถใช้กับอาการปวดท้องอื่นได้ด้วย😊☺
1.อยากทราบข้อแตกต่างของยาhyoscine-n-butylbromide กับยา Mebeverine ครับ
is.gd/F9XoGA
.
2.MEBEVERINE 200MG MODIFIED RELEASE CAPSULES |
Drugs.com
is.gd/C0e898
สุขภาพ
health
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย