12 พ.ย. 2023 เวลา 00:30 • หนังสือ

เรื่องเล่าข้างแบงค์ EP. 103

“การลงทุนเน้นผลตอบแทนอย่างเดียวได้ไหม”
“การลงทุนน่าสนใจ ผลตอบแทนดี เป็นหุ้นที่เราอยากลงทุนพอดี กดลงทุนเลย!!!”
ตามสัญญา ครั้งที่แล้ว มีพี่ท่านหนึ่งมาปรึกษาว่า อยากลงทุนในหุ้น และในโพสต์เฟสบุ๊คมีลักษณะการลงทุนแบบนี้อยู่ เลยสนใจ
ฉันตอบไปในลักษณะว่า ให้ดูให้ดี แต่มีโอกาสเป็นมิจฉาชีพ หรือ หลอกลวง เพราะผลตอบแทนมากเกินกว่าความเป็นจริงมากมาย
ครั้งนี้ มีเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของพี่ที่รู้จักอีกท่านหนึ่ง แต่คราวนี้ไม่ได้ฟังโดยตรงจากปากของเธอ แต่รับรู้ต่อ ๆ มาจากกลุ่มเพื่อนในกลุ่มว่า พี่เขาลงทุนไป “แสนกว่าบาท” ไม่ได้ถามหรอกว่า ได้ผลตอบเท่าไหร่ หรือ ปลิวหายไปกับสายลม แต่คาดว่าเป็นอย่างหลังมากกว่า
ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นนี้ และด้วยภาวะของเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการลงทุนได้มากมายหลากหลายขึ้น เราจึงควรมีการระวัง และ เรียนรู้ การลงทุนในหลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะได้มีตะแกรงร่อนความเสี่ยง และ ความรู้ ที่จะไว้สู้กับการลงทุนที่แปลกปลอม
ตามที่เข้าใจ ลักษณะการลงทุนลักษณะนี้ จะซื้อโฆษณากับทางเฟสบุ๊ค แล้วโชว์เรื่องการลงทุนในหุ้นที่น่าเชื่อถือ มีผลตอบแทนที่ยั่วยวนใจ บางรายจ่ายเป็นรายสัปดาห์ก็มี พอเรากดเข้าไป ก็จะเข้าทางเขา จะนำเสนอจนเราใจอ่อน และหลงกล ยอมร่วมลงทุนด้วย แรก ๆ ก็มักจะจ่ายผลตอบแทนออกมาให้บ้าง และ หลัง ๆ ก็มักจะให้ลงทุนเพิ่ม หรือ ไม่ก็บอกว่าถ้าจะถอนของเดิม ต้องลงทุนเพิ่มเข้าไปก่อน หรือ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน ถึงจะสามารถอนเงินออกมาได้ ในทำนองนี้
ถ้าใครที่ยังหวงเงินต้นเดิม ก็มักจะจ่ายเพิ่มลงไปอีก เพื่อที่จะสามารถถอนเงินที่ค้างออกมาได้ (เงินที่ค้าง มักจะมาในรูปผลตอบแทนที่ดีมาก จนเราหลงกล) หรือ บอกเราว่าให้ไปแนะนำเพื่อน เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนในรูปแบบของค่าแนะนำอีก ซึ่งเมื่อตัวเลขยั่วยวนใจ และดูเหมือนจะง่าย หากเทียบว่าต้องไปทำงานหลังขดหลังแข็งเพื่อให้ได้รายได้มา คนส่วนใหญ่ก็หลงลงทุนกับกลุ่มคนเหล่านี้
สุดท้ายแล้ว ส่วนใหญ่มักไปไม่รอด ผลตอบแทนที่จ่ายเรามากเกินกว่าที่เขาจะสามารถทำได้จริง เช่น บอกจะให้เราสัปดาห์ละ 3% แต่จริง ๆ แล้ว เขาเทรดได้ 3% ต่อเดือน อันนี้ ถ้าเรารู้แบบนี้ เราจะไม่เลือกลงทุนแน่ ๆ เป็นต้น แต่หลายคนไม่รู้!!!
แต่ก็ใช่ว่าการลงทุนที่ได้ผลตอบแทน 3% ต่อสัปดาห์จะไม่มีอยู่จริงนะ! แต่เราต้องหาให้เจอ และ ต้องดูด้วยว่าเป็นการลงทุนแบบไหน เช่น
ถ้าเป็นเงินฝาก คงไม่ใช่แน่!
กองทุนรวมตราสารหนี้ ก็ไม่น่าใช่!
กองทุนรวมตราสารทุน ต้องมาดูอีกทีว่าลงทุนในอะไร?
ทองคำ เราต้องดูสถิติราคาย้อนหลัง!
ตลาดค่าเงิน ต้องดูว่าคู่เงินนั้น ๆ ตลาดช่วงนั้น อยู่ในเทรนด์ขาลงหรือขึ้น ตรงกับที่เราเลือกหรือไม่ หรือ ลงทุนถูกโบรกเกอร์หรือเปล่า ถ้าไปลงทุนกับที่ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ก็น่ากลัว!
เป็นต้น
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างการลงทุนแต่ละตัว แต่เราต้องลงลึกในการลงทุนด้วย เพราะหนึ่งการลงทุน บางทีมีการลงทุนหลากหลายซ่อนอยู่ในนั้นอีก ต้องดูให้ดี
เป็นกำลังใจให้ผู้ที่อยากเริ่มต้นการลงทุน…
เรื่องเล่าข้างแบงค์ EP. 103
#เพจโค้ชสุนีย์ที่ปรึกษาการเงิน
#พู่สร้าง@การเงิน
#พู่คือพู่กัน
#สร้างคือสร้างแรงบันดาลใจ
#พู่สร้าง@การเงิน คือแนวคิดว่า หากสุขภาพการเงินดี สุขภาพจิตใจและสุขภาพกาย จะดีตามมา
#ถ้าเรื่องเหล่านี้ได้จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคน
ลุกขึ้นมาเปลี่ยนชีวิตตนให้ดีขึ้น
เมื่อนั้นก็ถือว่าพู่สร้างประสบความสำเร็จแล้ว
#ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา