Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
8 พ.ย. 2023 เวลา 17:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กล้องเจมส์ เวบบ์ เผยภาพอันน่าทึ่งของดาวฤกษ์กำเนิดใหม่
หากเราอยากจะย้อนเวลากลับไปดูภาพการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ของเราเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน ภาพของ HH212 ดาวฤกษ์อายุ 50,000 ปีในกลุ่มดาวนายพรานนี้อาจเป็นตัวอย่างที่ดีให้เราได้จินตนาการถึงภาพของดวงอาทิตย์ในวัยเยาว์
สำหรับ HH212 นี้อยู่ท่ามกลางกลุ่มดาวกว่า 3,000 ดวงในบริเวณที่ถูกเรียกว่า "เข็มขัดนายพราน" ห่างจากโลก 1,300 ปีแสง
3
ตำแหน่งของ HH212 ในกลุ่มดาวนายพราน
HH212 นี้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อมี 1993 และเหล่านักดาราศาสตร์ต่างก็เฝ้าดูมาตลอด 30 ปี เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของดาวกำเนิดใหม่ และด้วยพลังของอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นในกล้องเจมส์ เวบบ์ ก็ได้เผยภาพชุดใหม่ความละเอียดสูงของ HH212
โดยภาพล่าสุดของ HH212 จากกล้องเจมส์ เวบบ์ นี้ถูกถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพย่านใกล้แสงอินฟราเรด (Near Infrared Camera หรือ NIRCam) ที่ความยาวคลื่น 2.12 ไมครอนซึ่งเป็นที่มาของชื่อ HH212 (HH มาจาก Herbig-Haro objects: กลุ่มก๊าซที่ฉีดออกมาจากการปะทะกันระหว่างดาวฤกษ์อายุน้อยกับกลุ่มเมฆก๊าซและฝุ่นที่อยู่ใกล้เคียงที่ความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อวินาที)
รายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในภาพ มีทั้งดาวที่พัฒนาการเต็มที่แล้ว รวมถึง Protostar ดาวฤกษ์ก่อนเกิดที่กลุ่มก้อนก๊าซกำลังรวมตัวเพื่อพัฒนาไปเป็นดาวฤกษ์เกิดใหม่
ในภาพที่ถ่ายมานี้เราจะมองไม่เห็นแสงจากตัวดาว HH212 เพราะถูกบดบังด้วยฝุ่นหนาทึบในจานเร่งมวลสารรอบดาว
ส่วนที่เห็นเหมือนแถบสีชมพูในภาพคือพวยก๊าซไฮโดรเจนที่ถูกเหวี่ยงออกจากขั้วของดาว ทั้งนี้มวลสารในจานเร่งมวลสารจะถูกดูดเข้าสู่ดาวด้วยแรงโน้มถ่วงก่อนที่บางส่วนจะถูกเหวี่ยงออกที่ขั้วดาวตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
1
พวยก๊าซเหล่านี้ถูกเหวี่ยงออกมาด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งบางส่วนก็มีความเร็วมากน้อยไม่เท่ากันทำให้เกิดแนวกระแทกของกลุ่มมวลสารความเร็วสูงที่ชนปะทะเข้ากับก้อนมวลสารความเร็วต่ำ(Bowshocks) เกิดเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า Herbig-Haro objects
1
ภาพของ HH211 ในกลุ่มดาวเพอร์ซีอัส ที่แทบจะเหมือนกับ HH212 แต่มีอายุน้อยกว่ามากเพียงไม่กี่พันปี
ซึ่งพวยก๊าซนี้จะคงสภาพให้เราเห็นได้ไม่นานกินระยะเวลาเพียงไม่กี่พันปีเท่านั้นก่อนที่จะจางหายไปพร้อมกับฝุ่นรอบดาวในจานเร่งมวลสาร(ฝุ่นและก๊าซในจานเร่งมวลสารบางส่วนก็จะก่อตัวรวมกันกลายเป็นดาวเคราะห์บริวาร) และดาวฤกษ์กำเนิดใหม่ก็จะพัฒนาไปเป็นดาวฤกษ์ที่ส่องแสงสุกสกาวเต็มท้องฟ้าให้เราได้เห็นต่อไป
เพียงระยะเวลาไม่นานที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ได้เริ่มทำหน้าที่ข้อมูลและการค้นพบใหม่ ๆ ก็ถูกเผยแพร่มาเรื่อย ๆ ไม่ขาดสายกันเลยทีเดียว ซึ่งก็คงจะมีการค้นพบอะไรใหม่ ๆ อีกมากมายให้เราได้ทึ่งกันอีก
อ้างอิง:
https://www.bbc.com/news/science-environment-67243772
https://www.unilad.com/technology/space/nasa-james-webb-space-telescope-star-born-525838-20231105
2
ข่าวรอบโลก
อวกาศ
ความรู้รอบตัว
34 บันทึก
80
3
54
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Beyond Earth & Space Technology
34
80
3
54
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย