17 พ.ย. 2023 เวลา 14:16 • สุขภาพ

การใช้แคลเซียมในผู้ป่วยไตเสื่อม

อาจจะมีคนสงสัยว่าทำไมในผู้ป่วยไตโรคไต จะต้องใช้แคลเซียมด้วย วันนี้จะมาเล่าให้ฟังคะ
สาเหตุจาก ความผิดปกติของระดับฟอสเฟตและแคลเซียมในร่างกาย เนื่องมาจากการที่ไตมีการทำงานลดลง จนมีการคั่งของฟอสเฟตในร่างกาย และ วิตามินดี (calcitriol) ซึ่งเป็นวิตามินดีที่อยู่ในรูป active ลดลง ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง จากภาวะที่มีฟอสเฟตและแคลเซียมในเลือดผิดปกติ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมน**พาราไทรอยด์**สูง เพิ่ม **bone turnover ทำให้กระดูกมีความผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้คนไข้จะมีทำให้มีอาการปวดหรือกระดูกแตกหักง่าย
**bone turnover หมายถึง การผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทั้งสร้างและสลายกระดูก ในเวลาเดียวกัน ซึ่งในกระบวนการดังกล่าว ถ้ามีการสลายมากกว่าการสร้างก็จะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้
.
1
นอกจากนี้ ยังมีผลต่อไขกระดูก (bonemarrow) เกิดเนื้อเยื่อพังผืดในไขกระดูก (bonemarrow fibrosis) ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้ลดลง กลายเป็นโลหิตจางที่รักษาได้ยาก และในกรณีที่ระดับแคลเซียมและฟอสเฟตสูง อาจเกิดหินปูน ที่หลอดเลือดหรือที่ลิ้นหัวใจ จะเพิ่มโอกาสภาวะแทรกซ้อนกับระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วยค่ะ
.
แคลเซียมที่คนไข้รับประทาน จึงมีหน้าที่ไปจับกับฟอสเฟต (phodphate binder) เพื่อลดภาวะ ฟอสเฟตเกิน โดยรูปแบบแคลเซียมที่ใช้บ่อย มักจะเป็น แคลเซียมคาร์บอเนต  ให้รับประทานพร้อมอาหาร เพื่อให้ยาช่วยจับกับฟอสฟอรัส และขับออกมาในอุจจาระ
.
แต่ในกรณี ผู้ป่วยมีค่าแคลเซียมในเลือดสูงมาก ก็จะต้องเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นทดแทน เช่น อลูมิเนียม
.
สำหรับการให้วิตามินดี เพื่อกดการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ ให้หลั่งฮอร์โมนลดลงคะ
.
.
ขอบคุณสำหรับการติดตาม พบกันใหม่ในวันจันทร์นะคะ สวัสดีค่ะ🙏🙏🙏
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
1. ตำราเภสัชกรครอบครัวโดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
.
2.Ep101 3วิธีลด ฟอสฟอรัสในผู้ป่วยไตวาย – Chewa Healthcare
โฆษณา