20 พ.ย. 2023 เวลา 10:49 • สิ่งแวดล้อม
ดงสาร

วิจัยมีชีวิต"ดงสารรักษ์ทุ่งพันขัน" นำความรู้แก้จนพัฒนาสู่ "ยุคสามสืบทอดเผยแพร่"

เกือบตายทิ้งใส่นา” เห็นผลกับตัวเอง ข้าว 1 เมล็ดแตกกอเพิ่มถึง 18 ต้น อยากให้สมาชิกทุกคนคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ด้วย "ตะแกรงร่อน” ก่อนลงหว่านข้าวนาปรังปีนี้ ถ้าไม่เชื่อให้ทดลองเทียบกันระหว่างแปลงที่คัดเมล็ดกับแปลงที่ไม่คัดเมล็ด ขอบคุณอาจารย์สายฝนที่แนะนำ อยากให้พัฒนาเพิ่มเนื่องจากแต่ละครั้งร่อนได้ประมาณ 500 กรัม ใช้เวลา 2-3 นาที กว่าจะเสร็จ 1 กระสอบ ใช้เวลาพอสมควร ที่สำคัญใช้กำลังแขนมากจนปวดเมื่อย ถ้าพัฒนาใช้กับไฟฟ้าได้จะประหยัดแรงงาน : พ่อเด่นแนะนำเทคโนโลยีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับสมาชิก
พ่อเด่น ณัฏฐพล นิพันธ์
7
ในเวทีคืนข้อมูลการวิจัย และหารือแนวทางการดำเนินงานในปีนี้ โดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ทีมปฏิบัติการโมเดลแก้จน “คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว” มีผู้เข้าร่วม 60 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ทีมพี่เลี้ยง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และนักศึกษาวิศวกรสังคม เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ณ ศาลาประชาคม บ้านดงสาร
พ่อเด่น
อ.สายฝน ปุนหาวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผลการดำเนินงานปี 2565 มีผู้เข้าร่วม 30 คน เกิดแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นที่ 40 ไร่ สมาชิกมีข้อตกลงคืนเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ละ 25 กิโลกรัม / 1 กระสอบ หรือเป็นเงิน 300 บาท รวบรวมเป็นกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีเทคโนโลยี “ตะแกรงร่อน” คัดเมล็ดพันธุ์อย่างง่ายใช้
อ.สายฝน กล่าวต่อว่า ในปี 2566 ได้รับทุนวิจัยต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายเพิ่มเป็น 55 คน (ครัวเรือนเป้าหมาย50, พี่เลี้ยง5) มีพื้นที่แปลงปลูกอย่างน้อย 55 ไร่ และแปลงต้นแบบ ยกระดับการดำเนินงาน ได้แก่ ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว การดูแลติดตามแปลงปลูก การเพิ่มมูลค่าแปรรูป “ข้าวเม่า” เชื่อมบ้านนายอ พัฒนาเป็นแหล่งการท่องเที่ยวชุมชน โดย local alike “พิพิธภัณฑ์เกษตรมีชีวิต” และเสนอโครงการเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลโพนงาม
สุวรรณ บงศ์บุตร (ครูแดง) พี่เลี้ยงและอนาคตประธานวิสาหกิจชุมชน สรุปข้อตกลงการทำนาปรังกับสมาชิกว่า "กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว สมาชิกทั้งหมดคืนเงินสดปัจจุบันมีเงินทุน 12,000 บาท ในฤดูกาลผลิต 2566 นี้ สมาชิกเปลี่ยนแปลงข้อตกลงคืนเมล็ดพันธุ์ข้าว ไร่ละ 60 ก.ก. / 2 กระสอบ หรือเป็นเงิน 600 บาท คาดการณ์มีทุนเพิ่ม 3,300 ก.ก. หรือเงิน 33,000 บาท ส่วนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนจะยื่นจดทะเบียนเดือนมกราคม 2567 รูปแบบดำเนินการครอบคลุมหลายอาชีพ หรือเป็นกลุ่มโดยชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต"
ณัฏฐพล นิพันธ์ (พ่อเด่น) พี่เลี้ยงกล่าวย้ำว่าการทำนาปรังแก้จนมาถูกทางแล้ว "ชาวดงสารรู้ว่าทำนาปรังข้าวจะแข็ง ต้นทุนแพง ขายถูก ขาดทุน แต่จำเป็นต้องทำ พื้นที่ชนบทไม่มีอาชีพอย่างอื่นให้รับจ้าง จะไปทำงานต่างถิ่นก็อายุมากแล้ว ถ้ามีผู้รับประกันว่าเปลี่ยนอาชีพอื่นจะมีเงินซื้อข้าว เพียงพอให้ครัวเรือนมีกินและเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งปีได้ก็ยินดีที่จะเปลี่ยน ดงสารเคยหาของป่าไปขอข้าวกิน จึงรู้รสชาติความยากจนไม่น่าทดลอง แต่ปัจจุบันเริ่มมีหลายครัวเรือนปลูกข้าวโพด ถั่วลิสง ฟักทอง ขายภายในชุมชน"
ความอุดมสมบูรณ์ที่ได้สัมผัสถ้าชุมชนไม่รวมพลังรักษาไว้ ปัจจุบัน “ทุ่งพันขัน” คงไม่มีพิกัดอยู่บ้านดงสาร ขอประกาศเกียรติคุณ ศ.(ศาสตร์)ดงสาร ให้เหล่าผู้ก่อการดีนักวิจัยไทบ้าน ยังเข้มแข็งและดุดันเกินแรงม้า เป็นแบบอย่างการนำพลังความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์มาแก้ไขปัญหาชุมชนโดยชุมชน กับผลงานวิจัย "การนำภูมิปัญญาไทบ้านสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทุ่งพันขัน บ.ดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร" สุดคลาสสิกถล่มมารผ่านการพัฒนามาถึง 3 ยุค ได้แก่
- ยุคแรกทวงคืนแผ่นดินทุ่งพันขัน ก่อนพ.ศ.2538 บริษัทอุตสาหกรรมเข้ามากว้านซื้อที่ดินกับชาวบ้านด้วยวิธีบีบบังคับทางอ้อม
- ยุคสองการฟื้นฟูและพัฒนา ช่วงพ.ศ.2547 เกิดวังอนุรักษ์ เขตสงวน ธรรมนูญชุมชน การจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านทำนาปรัง
- และยุคสามสืบทอดเผยแพร่ ช่วงพ.ศ.2565 ดงสารโมเดล “พิพิธภัณฑ์เกษตรมีชีวิต” ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
“ทุ่งพันขัน” มากกว่า 4,000 ไร่ ก่อนหน้านี้แม่น้ำสงครามหลากขึ้นมาท่วมพื้นที่ทั้งหมด ปัจจุบันน้ำลดลงแล้วถือเป็นการเข้าสู่ฤดูกาลทำ “นาปรัง” ของเกษตรกรบ้านดงสาร มีทั้งหมดประมาณ 350 ครัวเรือน กำลังอยู่ในขั้นตอนตากดินฆ่าเชื้อราในแปลง ได้วางแผนเริ่มหว่านกล้าปลายเดือนพฤศจิกายนนี้
นักวิจัยและชาวบ้านดงสาร ได้ร่วมกันสรุปบทเรียนและวางแผนปฏิบัติการโมเดลแก้จน 3 ปี ดังนี้
งานปีแรกอยู่ระดับการศึกษาทดลองและสร้างความเข้าใจการมีส่วนร่วมกับชุมชน จะเห็นแกนนำ ผู้อยู่เบื้องหลัง
ปีที่สองซึ่งกำลังดำเนินงาน เริ่มจัดทำข้อมูลเพื่อหารือภาคีมาร่วมงาน จะเห็นการกำหนดโจทย์พัฒนาร่วมกับชุมชนและสื่อสารช่วยเหลือกัน จะเห็นการจัดลำดับความสำคัญงาน การพัฒนานวัตกรรมเหมาะกับพื้นที่ใช้ได้จริง และสร้างกลไกทำงานเป็นกลุ่มทางการ
ส่วนปีที่สามชุมชนจะเริ่มระดมทุนนำร่องเดินเครื่องเศรษฐกิจทั้งต้น กลาง ปลาย พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของคนและเผยแพร่องค์ความรู้ พัฒนาและยกระดับงานต่อเนื่อง
ภาพอนาคตของบ้านดงสารที่ร่วมกันออกแบบ งานวิจัยได้ถางร่องรอยทางเดินไว้ทั้ง ต้น กลาง ปลาย ขอให้ทุกคนวาดภาพเพิ่มไว้ตรงหัวใจให้ชัด เมื่อมีโอกาสพูดคุยกับผู้คนที่จะช่วยพัฒนางานได้ ให้ฉายภาพนั้นออกมาจากใจ : ชวนกลุ่มเป้าหมายและชาวบ้านบอกต่อการพัฒนา
สมชาย เครือคำ ผู้ช่วยนักวิจัย
4
“คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว” ปฏิบัติการโมเดลแก้จน โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับเพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สนับสนุนการวิจัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
แหล่งอ้างอิง
1. การนำภูมิปัญญาไทบ้านสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทุ่งพันขัน บ้านดงสาร ตำบลโพนงาม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร (สุวรรณ บงศ์บุตร, 2546) https://elibrary.tsri.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG46E0006
2.แหล่งที่มา : หนังสือ 60 ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดย กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2542 (https://irre.ku.ac.th/books/pdf/140.pdf ) หรือ (https://www.blockdit.com/posts/64e250c32553f8096fe4791e)
โฆษณา