Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
JOBBKK.COM
•
ติดตาม
27 พ.ย. 2023 เวลา 10:25 • ธุรกิจ
สาเหตุที่พนักงานตัดสินใจลาออก
ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมหัวหน้าไม่เหมาะสม หรือแม้ตัวยังอยู่ทำงาน แต่ใจไม่อยู่แล้ว ส่งผลต่อคุณภาพงาน ไม่เกิดการพัฒนา พนักงานจะทำงานพอให้เสร็จ เพื่อรองานใหม่
องค์กรต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคคลที่เป็นหัวหน้า และคอยสังเกตพฤติกรรมการบริหารงาน รวมถึงความรู้สึกของลูกน้องในทีม ซึ่งวิเคราะห์ได้ทั้งจากการพูดถึงหรือภาษากายที่แสดงออกเมื่ออยู่กับหัวหน้า
หากเห็นว่าเริ่มมีปัญหาต้องเร่งแก้ไข อาจมีการเรียกหัวหน้ามาพูดคุย เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมให้เหมาะสมต่อไป
🧐 คุณสมบัติของหัวหน้าที่ช่วยรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ ต้องมี Empathy Skill หรือทักษะความเห็นอกเห็นใจ เป็นทักษาะที่ฝึกฝนได้ หรือหากมีอยู่แล้ว สามารถพัฒนาให้กลายเป็นนิสัยก็จะยิ่งส่งผลดี นั่นคือ
⭐ บริหารจัดการงานลูกน้อง ไม่ให้หนักเกินไป ลดภาวะ Burnout : คอยสังเกตและสอบถามงานที่ลูกน้องรับผิดชอบอยู่เสมอ ทั้งความเหมาะสมของปริมาณ ผลลัพธ์ที่ได้ตรงตามเป้าหมายแค่ไหน หากเกิดปัญหาจะได้ปรับปรุงแก้ไขก่อนที่ลูกน้องจะรู้สึกหมดใจ
⭐ มอบหมายงานที่เหมาะสมกับทักษะ เข้าใจความปรารถนาของลูกน้อง : ไม่ใช่มีแต่สั่งงานและกำหนดเป้าหมายอย่างเดียว ต้องเข้าใจว่าลูกน้องต้องการพัฒนาตัวเองด้านไหน ชอบงานแบบไหน แล้วมอบหมายงานให้เหมาะสมกับทักษะ ความชอบของเขา โดยปรับให้เหมาะกับงานและเป้าหมายขององค์กร ซึ่งก็ต้องพูดคุยให้เข้าใจกันชัดเจน
⭐ นอกเวลางานเป็นเพื่อนกัน เต็มใจช่วยเหลือเมื่อลูกน้องเจอปัญหา : ไม่อีโก้สูงเกินไปจนสร้างความรู้สึกที่ห่างกับลูกน้อง คอยช่วยเหลือจากใจจริง จะทำให้เป็นที่เคารพโดยไม่ต้องพยายามถือตัวว่าตนอยู่ระดับสูงกว่า และเป็นมิตรภาพที่ดีได้ตลอดเวลาด้วย
⭐ มองความผิดพลาดเป็นบทเรียน ที่พัฒนาให้ดีขึ้นได้ในอนาคต : การลงโทษด้วยการออกใบเตือนทุกเรื่องที่ลูกน้องทำพลาดหรือเรียกมาต่อว่าด้วยคำพูดรุนแรง นอกจากปัญหาอาจไม่ลดลงแล้ว ยังทำให้เกิดความรู้สึกที่ห่างกันมากขึ้น การเปิดใจพูดคุยกันถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและร่วมกันหาวิธีแก้ไขเพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้นและลดโอกาสการเกิดปัญหาซ้ำ คือทางออกที่ดีที่สุด
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR
👉 อีเมล :
hrbuddybyjobbkk@gmail.com
#jobbkk #พนักงานลาออกบ่อย #พนักงานลาออกเร็ว #หัวหน้า #ลดอัตราการลาออก #EmpathySkill #HR #HRBuddy
hr
การทำงาน
หัวหน้า
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย