Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แตงโม สกลนคร
•
ติดตาม
4 ธ.ค. 2023 เวลา 00:15 • นิยาย เรื่องสั้น
บ้านนาสีนวล
สมัยก่อนมองเห็นลานกองข้าว ใกล้จะได้เสื้อกันหนาวใหม่
ช่วง พ.ศ.2545 ผมกำลังเรียนมัธยมต้น เริ่มเกิดความสับสนไม่อยากไปเรียนแล้ว จะมีข้ออ้างกับพ่อ-แม่ ทุกรูปแบบ เริ่มจากแกล้งป่วย เดินไปไม่ถึงโรงเรียนบ้าง แม้กระทั่งลงทุนทำให้ตัวเองบาดเจ็บก็เคยทำ(อย่าลอกเรียบแบบนะ) ความคิดเด็กอายุ 10 ขวบ ตอนนั้น คืออยากช่วยครอบครัวเร่งทำนาให้เสร็จเร็วๆ
2
ฤดูกาลทำนาแต่ก่อนนี้ ผมรู้สึกว่าลำบากมากๆๆ พร้อมทั้งยาวนานมากกกเลย
เนื้อที่ทำนาประมาณ 30 ไร่ (มั้งถ้าจำไม่ผิด) เริ่มลงมือตั้งแต่เดือน พ.ค. - ม.ค. หรือประมาณ 7-8 เดือน ที่ช้าเพราะยังไม่มีนวัตกรรมรถไถนาเดินตาม มาช่วยลดระยะเวลา มีอยู่สองขั้นตอนที่ใช้เวลานาน คือตอนไถ่และตอนเก็บเกี่ยวขึ้นลาน
ภาพการใช้ควายไถนา จาก http://thairice-farm.blogspot.com/2011/03/blog-post_140.html
★
ใช้ควายไถ-คาดนา ต้องใช้ระยะเวลาดำนาน่าจะ 3 เดือนได้ ผมมีพี่ชายอยู่ 2 คน พ่อจะสอนการใช้ควายไถนาและวิธีเตรียมอุปกรณ์ให้กับพี่ชายคนโต แล้วพี่คนโตจะเริ่มถ่ายทอดให้พี่คนกลาง ตอนนั้นผมเด็กมากยังสู้แรงควายไม่ไหวเลยไม่ได้เรียนรู้กับพี่ มาเริ่มใช้แรงงานจริงๆ ตอนมีรถไถนาเดินตามแล้ว แต่ยุคสมัยก็เปลี่ยนไปแล้ว แต่ผมเชื่อว่ารุ่นพ่อคงได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากพี่ชาย(ลุง) ตกมาจากปู่ ผ่านมาเป็นทอดๆ แบบนี้แน่เลย
ภาพการหาบข้าวขึ้นลาน จาก https://www.youtube.com/watch?v=3VRu1FL8RSw
★
ขนข้าวขึ้นลานและฟาดข้าว ทุกอย่างใช้แรงงานคนทั้งหมดเลย การขนจะใช้ไม้ไผ่ทำเป็นที่หาบ แล้วทำขาตั้งเป็นเหมือนราว จากนั้นเก็บมัดข้าวมาสอดใส่พอเต็บไม้แล้วก็หาบไปลาน จุดทำลานกองข้าวจะอยู่จุดศูนย์กลางของพื้นที่ทำนา และสะดวกให้รถบรรทุกลงมาขนข้าวขึ้นไปเล้าที่บ้าน ช่วงเก็บเกี่ยวมีหลายขั้นตอน เริ่มตอนเช้ามืดมัดข้าวที่แห้งเตาก 2-3 วัน ตอนสาย-บ่ายเกี่ยวข้าวที่เหลือ ตอนเย็นถึงจะหาบข้าวเพราะจะเบาไม่มีน้ำหมอก ตอนค่ำในเดือนเพ็ญบางวันถ้าไม่เหนื่อยก็จะเริ่มทยอดฟาดข้าว ระยะเวลาน่าจะ 2-3 เดือนได้นะ
อาชีพที่หาเงินได้ในช่วงนั้น หลังจากทำนาเสร็จแล้ว จะรับจ้างตัดอ้อย รับจ้างลอกต้นปอ แต่ครอบครัวผมจะทำนา เลี้ยงควายเป็นสักส่วนใหญ่
ทำไมเด็กอายุ 10 ขวบอ้างเหตุผลขาดโรงเรียนอยากช่วยทำนา ทั้งที่ทุกคนก็รู้ว่าทำงานหนักไม่ได้ แต่เหตุผลจริงๆ คืออยากให้เวลาทำนาเสร็จเร็วกว่านี้ เพราะเมื่อไหร่ที่เห็นกองข้าวขึ้น วันนั้นเหมือนความของผมใกล้จะเป็นจริงแล้ว
ผมฝันอยากกินมาม่า กินปลากระป๋อง กินไก่ย่างที่ตลาด กินแอปเปิ้ล
ผมอยากได้รองเท้าใหม่ เสื้อแขนยาวกันหนาว เมื่อทำนาเสร็จแล้วแม่ก็จะนำข้าวไปขายในตัวอำเภอ นั้นหมายถึงผมจะได้ไปเที่ยวในตัวเมือง(อำเภอ) กับแม่ครับ
ถ้าเป็นพี่ผมคงจะขอเงินแม่ไปเที่ยวงานบุญละมั้งครับ..
คนอื่นจะฝันเหมือนผมไหมนะ
ผมก็ยังไม่รู้ว่าช่วงการทำนา แม่ประหยัดเงิน ไม่มีเงิน ไม่มีที่ซื้อ หรือเหนื่อยเข้ามาร้านค้า ตอนนั้นผมนอนนาเวลาจะเข้าหมู่บ้าน หรือไปโรงเรียนต้องปั่นจักรยาน
แต่ผมเคยเลี้ยงควายออกไปนาช่วงหน้าแลง เดินประมาณ 5-10 กิโลเมตรต่อวันได้
แต่แม่เคยบอกว่า ช่วงเริ่มลงทำนา มันตรงกับการเปิดภาคเรียนขึ้นชั้นใหม่ ต้องใช้เงินซื้อชุด ซื้ออุปกรณ์ ซื้อสมุดหนังสือ ให้ลูก 3 คนไปโรงเรียน
มีบางอย่างที่ใช้ต่อจากรุ่นพี่อยู่นะ ลดรายจ่ายแม่ไปมากเลย
เวลาที่ผมหรือลูกทุกคนไม่ไปโรงเรียน วันนั้นแม่รู้สึกว่าหมดหวัง ท้อกับการทำงานหนักเพื่อส่งลูกเรียนสูงๆ แต่แม่ก็บังคับส่งลูกเรียนจบ ม.3 ภาคบังคับทุกคนนะ
ทั้งรัฐทั้งแม่...บังคับลูกเลยงานนี้
แม้ยุคสมัยเปลี่ยนไปรูปแบบการทำนาก็เปลี่ยนตาม แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนคือวัฏจักรการหมุนเงินของชาวนาจนหืดจะขึ้นคอ มีช่วงที่ยากจนกับช่วงที่ร่ำรวย แล้ววันไหนจะหลุดพ้นสักทีนะ
นอกจากการทำนาจะมีระยะเวลานานแล้ว แต่ก็ไม่นานเกินฮีต-ครองบ้านผมหรอก ที่มีกำหนดการทำนาในแต่ละขั้นตอนไว้อยู่ ห้ามดำนาเกินเดือนนี้ ห้ามเกี่ยวข้าวเกินเดือนนี้ ให้เปิดเล้าข้าวในเดือนนี้ วันเริ่มใช้ควายไถนา วันเริ่มหว่านกล้า วันเริ่มดำ วันเกี่ยวข้าว หยุดงานทำนาในวันสำคัญวันพระ งานศพ
ไม่รู้ว่าใครกำหนด แต่บางพิธียังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน อาจเป็นกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ชาวนามีวันหมุดได้พักผ่อน แต่ไม่ได้เงินเดือนนะ
พ่อผมชอบเล่าประวัติการถางที่ป่าทำเป็นทุ่งนา เหมือนภูมิใจมากที่ได้สร้างสินทรัพย์ให้กับครอบครัวได้ใช้ประโยชน์ การหลบเครื่องบินทิ้งระเบิด การต่อสู้ระหว่างสหายกับทหาร เพราะผมเกิดอยู่ในดินแดน "ดงผาลาด" แห่งมิตรสหายครับ
ภาคอิสานมีเรื่องเล่ากับวิถีทำนาเยอะมาก นำมาสร้างหนังได้หลายเรื่องเลย
บันทึก
2
1
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความทรงจำวิถีชุมชน วัฒนธรรมประเพณี
2
1
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย