Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
OnePoverty
•
ติดตาม
4 ธ.ค. 2023 เวลา 19:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บะหว้า
ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบะหว้า เลือกใช้เทคโนโลยีคุ้มทุน
ทีมอาจารย์นักวัจัย และนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีเครื่องกลและการผลิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ลงพื้นที่บ้านบะหว้า ตำบลบะหว้า อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เพื่อสอบถามความต้องการของกลุ่ม และวิเคราะห์การพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และบริบทคนใช้งาน
2
การออกแบบโรงเรือนเพาะเห็ดอย่างง่าย ระหว่างนักวิจัยและชาวบ้านจึงเกิดขึ้น มีขั้นตอนการติดตั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสร้างโมเดล ระยะพัฒนาทดลอง และระยะส่งมอบ กลุ่มเลือกเปลี่ยนระบบน้ำจากเดิมใช้สายยางฉีดเป็นระบบน้ำแบบพ่นหมอก เทคโนโลยีมาแก้ปัญหาดังนี้
1.
ช่วยประหยัดน้ำ
2.
ลดความเสี่ยงน้ำขังในก้อนลดปัญหาเห็ดเกิดเชื้อราได้ง่าย
3.
ช่วยควบคุมโรงเรือนชนิดเห็ดนางฟ้าไม่ให้ความชื้นเกิน 80%
4.
เมื่อมีความชื้นที่เหมาะสมเชื้อเห็ดที่พักก้อนจะเดินเส้นใยเร็วขึ้นพร้อมเกิดดอกได้ไว
5.
ระบบน้ำสามารถตั้งเวลาให้ความชื้นในโรงเรือนได้อัตโนมัติ
โรงเรือนเพาะเห็ดอย่างง่ายโมเดลนี้ จะติดตั้งจำนวน 3 หลังมีขนาดความกว้าง 3.6 เมตร ความยาว 8 เมตร ภายในบรรจุเห็ดได้ 3,500 ก้อน ใช้วัสดุมีอายุใช้งานมากกว่า 1 ปี สูงสุด 5 ปี สามารถคืนทุนภายใน 1 ปี ปีต่อไปมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%
ถือว่าเป็นต้นแบบให้กับสมาชิกกลุ่มนำไปใช้เมื่อต้องการขยายการผลิต หรือให้กลุ่มชุมชนอื่นได้มาเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
ถึงวันทดลองเทคโนโลยี (23 พ.ย. 2566) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ตกลงร่วมกัน ให้กลุ่มเป็นผู้จัดหาวัสดุจากทรัพยากรในพื้นที่ ขอแรงช่างชุมชนสร้างโรงเรือนไว้รอ และช่างชุมชนมาร่วมติดตั้งศึกษาเรียนรู้นวัตกรรมไปพร้อมกัน ส่วนโครงการวิจัยได้สนับสนุนวัสดุวางระบบน้ำพ่นหมอก
เรียกได้ว่าเป็นการสร้าง “เทคโนโลยีเคลื่อนที่” ข้อค้นพบครั้งนี้คือการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนผ่านการลงมือทำด้วยกันทุกขั้นตอน ทำการทดลองพัฒนาจนสามารถใช้งานได้ตามความต้องการชุมชน ชาวบ้านมีทักษะแนะนำเทคโนโลยีให้ผู้อื่นได้ทันที
การติดตั้งแบบนี้เป็นสิ่งท้าทายนักวิจัย การต่อยอดจากทุนเดิมในชุมชนจะซับซ้อนกว่าการสร้างใหม่ แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันด้วยทุนแต่ละชุมชนไม่เท่ากัน ปรับรูปแบบโมเดลไปตามสถานการณ์ การหาซื้อวัสดุเพิ่มอาจไม่สะดวก บางครั้งต้องเสียสละเวลาจนถึงมืดค่ำ แต่ชุมชนให้ความร่วมมือและต้อนรับเป็นอย่างดี
เมื่อการทดลองเทคโนโลยีโรงเรือนเพาะเห็ดอย่างง่ายสำเร็จ เห็นรอยยิ้มสีหน้าของทุกคนมีความสุขตื่นเต้นอย่างภูมิใจ และได้ยินเสียงชาวบ้านพูดคุยกันว่า “ดีจังเลย ถ้าเพิ่มโรงเรือนเพาะเห็ดขอนขาว เห็ดบด น่าจะเกิดดอกดี” ความรู้สึกมีส่วนร่วมการเป็นเจ้าของเกิดขึ้นจากภายในทันที เป็นวินาที “แห่งคุณค่า” ชุมชนจะบันทึกไว้ว่ามีทีมนักวิจัยมาพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน
แนวคิดชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ คือการส่งเสริมกลุ่มเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเริ่มจาก “ผู้เปิดดอกเห็ด” ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยชุมชนเป็นเจ้าของธุรกิจ รวมกลุ่มอย่างน้อยหมู่บ้านละ 30 ครัวเรือน แบ่งเป็นทีมบริหาร 5 คน เช่น หัวหน้า ผู้ช่วยทำบัญชี การตลาด ประสานงาน เป็นต้น และครัวเรือนยากจนอย่างน้อย 25 คน ที่ผ่านการรับรองตามเงื่อนไขโดยผู้นำชุมชน เพื่อเป็นแรงงานดูแลการผลิตตามศักยภาพ รวมถึงกลุ่มมีการช่วยเหลือครอบคลุมครัวเรือนด้านสงเคราะห์ด้วย นำไปสู่การสร้างกลไกความร่วมมือเชื่อมโยงกับกลไกตลาดและกลไกเชิงสถาบัน
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ นอกจากจะเลือกให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่บริบทคนแล้วยังไม่พอ ควรเหมาะสมกับขนาดกิจการด้วย เพราะหลังจากนี้เงินซ่อมบำรุงจะเป็นภาระของกลุ่ม ถ้าซ่อมหลักพันแต่มีรายได้หลักร้อยเมื่อจัดการความเสี่ยงไม่ได้ อนาคตพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีร้างรออยู่ และไม่อยากให้เกิดขึ้น
นักวิจัยเน้นย้ำกับชุมชนว่าต้องบริหารด้วยหลักการธุรกิจเกื้อกูล ถ้าเริ่มต้นมองภาพไม่ชัดให้จำลองการจัดงานบุญมาใช้ ซึ่งทุกคนเข้าใจว่ามีหน้าที่หลักรองอะไรบ้าง การลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ทำกำไรมากขึ้น คือทักษะการเดินไปสู่ผู้ประกอบการ สมาชิกทุนคนต้องเป็นแรงงานอย่างมีศักดิ์ไม่ใช่การสงเคราะห์
■
VDO บรรยากาศการติดตั้งนวัตกรรม
เยี่ยมชม
youtube.com
นวัตกรรมโรงเรือนเพาะเห็ดที่เหมาะสม ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบะหว้า
ติดตั้งนวัตกรรมโรงเรือนเพาะเห็ดอย่างง่าย ที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่คนใช้งานและกิจการ ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบะหว้า (เสียง AI).อ่านบทความข่าวเพิ่มเติม https://thecit…
บันทึก
3
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ
โมเดลแก้จนสกลนคร
3
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย