Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2023 เวลา 06:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กำเนิดสปีชีส์: กลไกการเกิดชนิดใหม่ | Biology with JRItsme.
ระยะเวลาในการอ่าน 5 นาที 🕔
จากตอนที่แล้ว แม้ว่าสิ่งมีชีวิตมีกลไกการสืบพันธุ์เพื่อให้เกิดสปีชีส์แปลก ๆ และคงพันธุกรรมประจำเผ่าพันธุ์ไว้ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเกิดสิ่งมีชีวิตอุบัติใหม่ แต่การมีสิ่งมีชีวิตกว่า 8.7 ล้านสปีชีส์ ในเวลากว่า 2,500 ล้านปีที่โลกถือกำเนิดขึ้น ก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเช่นกัน ดังนั้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ต่างเกิดสปีชีส์ใหม่ขึ้นมาอยู่เสมอเพียงแต่ต้องใช้เวลา หรือต้องหามันให้พบเท่านี้เอง
หนึ่งในวิธีที่เกิดสปีชีส์ใหม่ [Speciation] สามารถหลุดกลไกการสืบพันธุ์ได้ คือการกลายพันธุ์ อย่างที่ทราบกันดีว่าการกลายของยีนทำให้เกิดลักษณะใหม่ ๆ ขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี ซึ่งในบางครั้งอาจก่อให้เกิดสปีชีส์ใหม่ขึ้นมา หลายคนเข้าใจว่าพอกลายพันธุ์ปุ๊บ... จะได้ชนิดใหม่ทันที เอาจริง ๆ มันเป็นไปได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด จะก่อให้เกิดโรคมากมาย ร่างกายผิดปกติ จนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
ในการเกิดสปีชีส์นั้นมักจะมีการกลายพันธุ์ที่ไม่แสดงอาการออกมา แล้วส่งต่อรุ่นสู่รุ่น จนวันหนึ่งก็แสดงลักษณะใหม่ที่เหมาะสมออกมา ซึ่งหากยิ่งได้ผลลัพธ์ที่เหลือเค้าโครงสปีชีส์เดิมน้อยลงเท่าไร ก็จะยิ่งมีโอการแยกตัวเป็นชนิดใหม่ได้มากขึ้น ท้ายที่สุดก็ต้องใช้เวลาและเสี่ยงดวงอยู่ดี จึงไม่ใช่อะไรที่เกิดขึ้นง่าย ๆ
นกฟินซ์ชนิดที่พบในแผ่นดินใหญ่ (ด้านล่าง) ถูกแยกกันอยู่ตามหมู่เกาะกาลาปากอส ทำให้เกิดนกฟินซ์ชนิดใหม่ขึ้น (ด้านบนขึ้นไป) ที่มา: https://blog.education.nationalgeographic.org/2015/05/12/one-of-darwins-finches-struggles-to-survive/
อีกวิธีหนึ่งคือการแยกกลุ่มประชากร ส่วนใหญ่มักแยกจากกันด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เมื่อต่างกลุ่มอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ทำให้ต่างกลุ่มมีวิวัฒนาการและการปรับตัวตามถิ่นที่อยู่ จนผ่านไปหลายรุ่น ทั้งสองกลุ่มที่วิวัฒนาการไม่เหลือเค้าโครงสปีชีส์เดิมอีกต่อไป วิธีนี้ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตได้หลากหลายสปีชีส์และเกิดได้บ่อย ตัวอย่างเช่น นกฟินซ์แผ่นดินใหญ่กับนกฟินซ์บนหมู่เกาะกาลาปากอส ที่ชาล์ส ดาร์วินพบเจอ
บรรพบุรุษของนกที่ถูกคัดเลือกให้อยู่รอดในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ทำให้มีโอกาสขยายเผ่าพันธุ์ ปรับตัว วิวัฒนาการให้เหมาะสมมากขึ้น ที่มา: https://www.nationalgeographic.co.uk/history-and-civilisation/2018/05/how-did-dino-era-birds-survive-the-asteroid-apocalypse
วิธีสุดท้ายคือการคัดสรรตามธรรมชาติ จริง ๆ ก็คล้ายกับวิธีที่แล้ว แต่จะไม่ได้พูดถึงแค่การแยกอยู่คนละพื้นที่ เพียงแต่สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ จะถูกคัดเลือกให้อยู่รอด แล้วมีโอกาสวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ใหม่ที่เหมาะสมมากขึ้น ส่วนชนิดที่ปรับตัวไม่ได้ก็สูญพันธุ์ไป ตัวอย่างเช่น การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ คัดเลือกให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอยู่รอด แล้ววิวฒนาการเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมสภาพแวดล้อมนั้นอีกทีหนึ่ง
ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยวิธีใด สิ่งที่จะวัดได้ว่าเกิดสปีชีส์ใหม่ขึ้นแล้วจริง ๆ คือ “ไม่สามารถสืบพันธุ์กับสปีชีส์เดิมได้” เนื่องจากพันธุกรรมที่ห่างกันมาก ทำให้กลไกการสืบพันธุ์ไม่สามารถจดจำเค้าโครงสปีชีส์เดิมได้อีกต่อไป ดังนั้นแม้ว่าจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกัน แต่ไม่สามารถสืบพันธุ์กับชนิดเดิมได้ ก็ถือว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ได้อุบัติขึ้นแล้วนั่นเอง
ในตอนต่อไป จะพูดถึงเรื่องการสูญพันธุ์ มันจะน่ากลัวซักแค่ไหน ผมจะเล่าให้ฟังครับ อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😺
ภาพปกแสดงถึงเสือและสิงโตที่มีบรรพบุรษร่วมกันในยุคไดโนเสาร์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งคู่เริ่มมีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากพอสมควรจะเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่นั่นเอง
ความรู้รอบตัว
วิทยาศาสตร์
ธรรมชาติ
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย