1 ธ.ค. 2023 เวลา 04:31 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

การกำเนิดสปีชีส์: การป้องกันการเกิดสปีชีส์ใหม่ | Biology with JRItsme

🕔 เวลาที่ใช้ในการอ่าน 5 นาที
การแปรผันทางพันธุกรรม หรือการกลายพันธ์ (ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย) เป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการ เนื่องจากมันจะควบคุมให้แสดงลักษณะที่เหมาะสม ทำให้มันปรับตัวเข้ากับสภาพแวดที่ล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ดีขึ้น แม้ว่าอาจทำให้เกิดวิวัฒนาการเล็กน้อย สะสมไปเรื่อยๆ จากรุ่นสู่รุ่น จนบางครั้งมันอาจนำไปสู่การเกิดสปีชีส์ใหม่ขึ้นมาเลย
บนโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบแล้วทั้งหมดกว่า 8.7 ล้านสปีชีส์ และยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือกำลังเกิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งจินตานาการได้ไม่สิ้นสุดเลยว่าสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ จะมีหน้าตาอย่างไรบ้าง...
“สปีชีส์” [Species] มีความหมายว่า “ชนิด” ของสิ่งมีชีวิต ที่เอาไว้บอกความแตกต่างระหว่างกัน เช่น แมวกับหมา ที่มีรูปร่างลักษณะ การดำรงชีวิต สรีรวิทยา พฤติกรรมต่างกันสิ้นเชิง จึงระบุว่าทั้งสอง “ต่างสปีชีส์” กัน คนเอเชียกับคนยุโรป ที่แม้ว่าหน้าตาลักษณะต่างกัน แต่มีความเหมือนเรื่องโครงสร้างร่างกาย สรีรวิทยา พฤติกรรม จึงระบุว่าเป็น “สปีชีส์เดียวกัน”
แต่การที่จะระบุว่าสิ่งมีชีวิตเป็นสปีชีส์เดียวหรือต่างกัน จะสังเกตแค่รูปร่างหน้าตา สรีรวิทยา กับพฤติกรรมไม่พอ ยังต้องหาความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมระดับยีนอีกด้วย หากมีพันธุกรรมที่ใช้ระบุสปีชีส์เหมือนกัน จะถือว่า “เป็นสปีชีส์เดียวกัน” แต่หากต่างกันโดยสิ้นเชิง ถือว่า “เป็นสปีชีส์ต่างกัน” ซึ่งในปัจจุบัน ใช้หลักเกณฑ์เรื่องยีนในการพิจารณาการจำแนกสปีชีส์แล้ว
โดยทั่วไปการสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นกับสปีชีส์เดียวกันเท่านั้น ธรรมชาติกำหนดไว้ไม่ให้ผสมข้ามกัน เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติหรือผลลัพธ์ของรุ่นลูกที่คาดเดาไม่ได้ เนื่องความแตกต่างของยีนระบุสปีชีส์ อาจก่อให้เกิดความเข้ากันไม่ได้ของยีน จึงไม่สามารถเกิดลูกผสมได้นั่นเอง
ซึ่งจะตรวจสอบตั้งแต่การปฏิสนธิ ที่อสุจิจากสปีชีส์เดียวกันเท่านั้นจึงจะเจาะไข่ได้ หากหลุดรอดแล้วเกิดการปฏิสนธิจนตั้งครรภ์สำเร็จ ร่างกายจะทำการกำจัดลูกผสมจนแท้งในที่สุด แต่ถ้ายังอยู่รอดแล้วคลอดออกมาได้ ตัวลูกจะเกิดความผิดปกติทางร่างกาย หรืออายุขัยสั้นลงมาก
การผสมเสือกับสิงโดที่เป็นคนละสปีชีส์กัน แต่สามารถผสมกันได้เป็น "ไลเกอร์" กับ "ไทกอน" ที่มา: https://www.britannica.com/animal/liger
แต่อาจมีบางกรณีที่ แม้ว่าสปีชีส์ต่างกัน แต่ด้วยพันธุกรรมที่ใกล้กันมาก จึงยังสามารถสืบพันธุ์ข้ามกันจนได้ลูกที่อยู่รอดตามปกติ แถมยังผสมลักษณะที่ดีไว้เข้าด้วยกัน เช่น ม้าที่ผสมกับลา ได้ “ล่อ” สิงโตที่ผสมกับเสือ ได้ “ไลเกอร์” หรือ “ไทกอน” โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะนอกจากจะมีกลไกป้องกันภายในร่างกายแล้ว พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ จะผสมกับสปีชีส์เดียวกันเสมอ
แม้จะมีกลไกการป้องกัน แต่การเกิดสปีชีส์ใหม่ยังคงเดินขึ้น เพราะเรามีวิวัฒนาการตลอดเวลา กลไกเหล่านี้เป็นเพียงการชะลอไม่ให้เกิดสปีชีส์ใหม่ทันทีทันใด และเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพื่อกระตุ้นให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อวิวัฒนาการ มากกว่าลุ้นผลลัพธ์อย่างสุ่มจากการผสมข้ามไปมานั่นเอง
ในตอนต่อไป หากมันต้องเกิดสปีชีส์ใหม่ขึ้นมาจะเกิดได้อย่างไรบ้าง ผมจะมาเล่าให้ทุกคนเข้าใจกันครับ อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ 😺
ภาพปกคือไลเกอร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera leo × Panthera tigris ที่แม้จะผสมข้ามสปีชีส์จากเสือกับสิงโตสำเร็จ แต่ยังไม่เป็นสปีชีส์ใหม่ ยังพันธุกรรมยังไม่ห่างไกลกัน ยังคงกลับไปผสมกับไลเกอร์กันเอง เสือ หรือสิงโต

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา