12 ธ.ค. 2023 เวลา 14:18 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดงสาร

โมเดลแก้จน "คลังเมล็ดพันธุ์ข้าว" ที่สอดคล้องกับทุ่งพันขันและคนดงสาร

พื้นที่ดำเนินงาน บ.ดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร นำโดย อาจารย์สายฝน ปุนหาวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย และนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2565 ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) และกลไกวิศวกรสังคม
4
กระบวนการวิจัยใช้กรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework : SLF) เริ่มจากการวิเคราะห์บริบทพื้นที่บริบทคนจนจากระบบ (P2P Application) พบว่า มีทุนดำรงชีพทำนาปรัง สอดคล้องกับบริบทชุมชน และชาวบ้านมีความจำเป็นต้องทำนาเพื่อเก็บไว้บริโภค
ณัฏฐพล นิพันธ์ (พ่อเด่น) พี่เลี้ยงกล่าวว่า "ชาวดงสารรู้ว่าทำนาปรังข้าวจะแข็ง ต้นทุนแพง ขายถูก ขาดทุน แต่จำเป็นต้องทำ พื้นที่ชนบทไม่มีอาชีพอย่างอื่นให้รับจ้าง จะไปทำงานต่างถิ่นก็อายุมากแล้ว ถ้ามีผู้รับประกันว่าเปลี่ยนอาชีพอื่นจะมีเงินซื้อข้าว เพียงพอให้ครัวเรือนมีกินและเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งปีได้ก็ยินดีที่จะเปลี่ยน ดงสารเคยหาของป่าไปขอข้าวกิน จึงรู้รสชาติความยากจนไม่น่าทดลอง แต่ปัจจุบันเริ่มมีหลายครัวเรือนปลูกข้าวโพด ถั่วลิสง ฟักทอง ขายภายในชุมชน"
ได้ออกแบบและพัฒนาโมเดลแก้จนอาชีพทำนาปรัง โดยการนำองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างง่าย มาแก้ไขปัญหาในแต่ละห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ได้เร่งแก้ปัญหาสำคัญของเกษตรกร ดังนี้
  • ต้นน้ำ พัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ช่วยให้ข้าวรับประทานได้จากเดิมแข็งเกรดอาหารสัตว์ เตรียมแผนผลิตเพื่อใช้ในทุ่งพันขัน 4,000 ไร่ พร้อมกับค้นหาสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่น และจัดระบบคลังเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ที่เหมาะสมตามนิเวศน์ย่อย
  • กลางน้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้แก่ ข้าวเม่า สบู่นมข้าว อาหาร
  • ปลายน้ำ การวางระบบสวัสดิการกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว สมาชิกเกษตรกรกู้ยืมแลกเปลี่ยนซื้อขายกันภายใน และมีโอกาสใหม่คือการพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ "พิพิธภัณฑ์เกษรกรรมที่มีชีวิต" ร่วมกับ local alike
แผนในอนาคตต้องพัฒนาแต่ละห่วงโซ่ให้เกิด Value จากการทำเกษตรกรรมคุณค่าสู่มูลค่า นำไปสู่ธุรกิจชุมชนได้แก่ การจำหน่วยเมล็คพันธุ์ข้าว การแปรรูปสินค้าต่างๆ เช่า ข้าวเม่า สบู่ข้าว อาหาร เป็นต้น ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มจดตั้งวิสาหกิจชุมชนนาปรังมูลค่าสูง เพื่อเป็นกลไกรับรองการขับเคลื่อนกิจการชุมชนโดยชุมชน พร้อมกับภาคีทุกภาคส่วน นำโดย อบต.โพนงาม ซึ่งเป็นกลไกหน่วยงานรัฐสำคัญในการพัฒนา
ผลการดำเนินงาน ผู้ได้รับประโยชน์และช่วยเหลือครัวเรือนยากจน 55 ครัวเรือน เกิดแปลงปลูกข้าวพันธุ์มากกว่า 110 ไร่ กิดกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว มีเทคโนโลยี "ตะแกรงร่อน" คัดเมล็ดพันธุ์ข้าวและชุดความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
ปีแรก2565 เป็นช่วงของการศึกษาทดลองและสร้างความเข้าใจแก่นแท้ระบบผลิตข้าว ผสมผสานทั้งภูมิปัญญาของชาวบ้านและนวัตกรรมสมัยใหม่ โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ค้นพบแกนนำเครือญาติทั้งผู้อยู่เบื้องหน้าและหลัง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาชุมชน สรุปกลยุทธ์ได้ว่า "รู้เขารู้เรา"
ปีที่สอง2566 (ซึ่งกำลังดำเนินการเป็นปัจุบัน) เริ่มวิเคราะห์ข้อมูลแบบองค์รวมกำหนดโจทย์พัฒนาสร้างเป้าหมายร่วมกับชุมชน เกิดการวางแผนดำเนินงานในระยะยาวจัดลำดับความสำคัญเชื่อมโยงภาคีมาร่วมงาน เสนอการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะกับพื้นที่และใช้ได้จริง เกิดการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง สร้างกลไกทำงานเป็นกลุ่มทางการ
ส่วนปีที่สาม2567 ชุมชนเริ่มระดมทุนนำร่องเดินเครื่องทางเศรษฐกิจบางช่วง เช่นการแปรรูปพร้อมกับพัฒนาศักยภาพของคนมีจิตสำนึกรักษ์ถิ่นเกิด และเผยแพร่องค์ความรู้พัฒนาและยกระดับงานต่อเนื่อง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://p2pnews-snru.blogspot.com/p/om.html
โฆษณา