Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สารพันบันเทิงจีน
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2023 เวลา 16:37 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Fantastic Doctor ความเป็นและความตาย
ซีรีส์รีเมคจากต้นฉบับเกาหลี ซึ่งไม่เคยดูทั้งฉบับเกาหลี ฝรั่ง ญี่ปุ่น ไทย ตอนแรกยังคิดว่าจะดูรอด 2-3 ตอนแรกหรือไม่ เพราะฉายช่อง Mango ที่ขึ้นชื่อเรื่องซับนรก ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่ยอมสู้ตายกับซับมาก และท้ายที่สุดคือเปลี่ยนเป็นซับอังกฤษให้มันรู้แล้วรู้รอดไป
โดยภาพรวมเป็นเรื่องราวของหมอเฉินฮุ่ย ที่ต้องฝ่าฝันอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานทั้งแพทย์รุ่นใหญ่ทั้งหลาย
ปัญหาใหญ่ของหมอเฉินฮุ่ยคือ แม้เขาจะได้ชื่อว่าเป็นแพทย์อัจฉริยะ วินิจฉัยโรคต่าง ๆได้อย่างแม่นยำ แต่ก็มีความบกพร่องเรื่องการสื่อสารกับผู้อื่น
มีเรื่องหนึ่งที่ไม่เข้าใจคนเขียนบทนัก ด้วยบุคลิกของหมอเฉินฮุ่ย ก็น่าจะบอกอยู่แล้วว่าเป็น Asperger Syndrome ซึ่งเป็นความบกพร่องด้านพัฒนาการของระบบประสาท อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกับออทิสติก แต่หากพิจารณาถึงวิธีพูดจา เหมือนไม่รู้เสียอย่างนั้นว่าหมอเฉินฮุ่ยเป็นโรคนี้
กว่าจะมาพูดกันตรงไปตรงมาว่าเขาเป็นโรคนี้ ก็ ep 15 โน่น
เรื่องราวของหมอเฉินฮุ่ย ก็เป็นไปตามสูตรสำเร็จของการเป็นพระเอก ได้คลี่คลายปมในใจ และได้รับการยอมรับได้เข้าผ่าตัดคนไข้ในที่สุด
ผู้เขียนชอบประเด็นชีวิตของคนไข้หลาย ๆ เคสมาก ชอบที่สุดคือเคส คุณพ่อที่ต้องเสียสละตับบางส่วนให้ลูกชายจากเมียคนแรกที่ประสบอุบัติเหตุ ในขณะที่ภรรยาคนปัจจุบันกำลังจะคลอดลูกอีกคน มันเป็นเงื่อนไขที่น่าลำบากใจที่สุด แม้ว่าจะมีความเสี่ยง แต่ก็มีกรณีที่ผ่าตัดสำเร็จรอดทั้งผู้ให้และผู้รับไปอยู่ไม่น้อย
ตอนแรกคิดว่าบทซีรีส์จีนคงไม่ใจร้าย ปรากฏว่าผิดคาด พ่อตายเฉยเลย (จริง ๆ มันก็มีสาเหตุแหละ) ความดีเด่นของเคสนี้คือ นักแสดงเล่นดีมาก โดยเฉพาะ พ่อ #หวังเหยาชิง นักแสดงรุ่นใหญ่จากไต้หวัน อดีตพระเอกที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี ( เอ่อ..ใครคุ้นบ้าง นับอายุก่อนนะคะ)
ใครจะไปคิดว่าจะขยี้จนน้ำตาท่วมขนาดนั้น คนดูตั้งตัวไม่ทันเลย
อีกประเด็นที่อยากพูดถึง คือ ประเด็นเรื่องการรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ในซีรีส์เป็นเคสเด็กผู้หญิงที่หน้าเหมือนกับพี่สาวของเฉินฮุ่ย แล้วเขาพยายามที่จะหาวิธีรักษาให้ได้ แต่ในที่สุดก็ต้องยอมรับว่าคนไข้เป็ฯโรคที่เป็นไม่มีทางรักษาให้หายได้
2-3 ปีหลังมานี้ ผู้เขียนมีโอกาสไปสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณหมอและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาแบบประคับประคองหลายท่าน แนวคิดของหมอเฉินฮุ่ยเรื่องการวิธีรักษาคนไข้เด็กคนนี้ เป็นวิธีคิดของการมุ่งแต่จะรักษา “โรค” โดยลืมคิดถึงการรักษา “คน” ไป
การรักษาแบบประคับประคอง เป็นการรักษาที่มุ่งผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิต และต้องบอกว่าไม่ใช่การ “การุณยฆาต” คนละคอนเซปกันเลย
การรักษาแบบประคับประคองอาจทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวนานหลายปีก็ได้ ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ต่างประเทศยอมรับกันมานานแล้ว
ในประเทศไทย มีโรงพยาบาลที่รักษาแบบประคับประคองแห่งแรกแล้ว ชื่อโรงพยาบาลคูน อันนี้ไม่ได้ tie-in นะคะ แต่คิดว่าอาจเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพราะเราทุกคนมีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ลักษณะนี้ได้ทั้งสิ้น
ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ แม่ป่วยเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย ทั้ง ๆ ที่แม่เคยสั่งเสียไว้แล้วว่าไม่อยากทรมาน ไม่นอนเป็นผัก แต่เมื่อถึงเวลานั้นจริง ๆ เรื่องมันไม่ง่ายแบบนั้น บางเรื่องยังติดอยู่ในใจผู้เขียนมาเป็นสิบปีว่าเราทำถูกหรือไม่
เมื่อมีโอกาสก็อยากจะเผยแพร่เรื่องนี้
นอกจากโรงพยาบาลคูน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงสำหรับคนทั่วไป ยังมี เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาแบบประคับประคองค่ะ
ตามลิงค์ไปอ่านรายละเอียดได้เลยค่ะ
โรงพยาบาลคูน
https://www.koonhospital.com/
เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม
https://yuenyen-se.com/
ซีรีส์เกี่ยวกับหมอ โรงพยาบาล อย่างไรก็หนีเรื่องเจ็บ เรื่องป่วย เรื่องตาย อันเป็นสัจธรรมของชีวิตไม่ได้
ตายเมื่อไหร่ ตายอย่างไร ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า แต่คุณ “ เลือก” ได้ว่า จะ “อยู่” อย่างมีค่าหรือไร้ค่า
ซีรีส์จีน
1 บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
แนะนำซีรีส์
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย