23 ธ.ค. 2023 เวลา 23:30 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ตอนที่ 6 สู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ภายใต้การกดดันจากปัญหาการคลัง เนื่องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใช้เงินจำนวนมากมายมหาศาลไปกับการช่วยสหรัฐอเมริการบเพื่อที่จะเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ นำมาสู่สถานการณ์ที่ท้าทายมากสำหรับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กันด้วย
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้มีการแต่งตั้ง ฌัก แนแกร์ รับตำแหน่งเสนาบดีคลังฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1781 ดัวของฌัก แนแกร์ ได้มีการเสนอให้ฝรั่งเศสนั้นกู้เงินสาธารณะ ขณะเดียวกันตัวเขาต้องการสร้างคะแนนนิยมให้ตัวเอง และมีการตีพิมพ์เอกสารที่ชื่อว่า เอกสารเปิดเผยการใช้จ่ายของราชสำนัก (Compte rendu au roi) ที่ทำให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสนั้นเห็นว่าราชสำนักนั้นหมดเงินไปกับอะไร
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ส่วนนี้เองถือเป็นแรงกดดันอีกลูกหนึ่งแต่ในที่สุด แนแกร์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตัวเขาเองจึงถูกปลดออกจากตำแหน่งเสนาบดีคลัง ในปี 1784 ถึงจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีคลังคนแล้วคนเล่าก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ แรงกดดันนี้นำไปสู่การเคลื่อนไหวของชนชั้นกลางกับชนชั้นล่างที่พวกเขาต้องเสียภาษีจำนวนมากถ้าเทียบกับชั้นชนที่เป็นนักบวช ชนชั้นที่เป็นผู้ปกครอง ซึ่งร่วมกันแล้วจำนวนแค่ 2% เท่านั้นจากประชากรของฝรั่งเศสทั้งหมด
นำไปสู่การกดดันพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จนต้องเปิดการประชุมสภาฐานันดร (Estates General) กล่าวคือไม่ได้เป็นสภาฐานันดร ที่1และ2 แต่ร่วมฐานันดรที่ 3 คือชนชั้นกลางกับชนชั้นล่าง ซึ่งสภาฐานันดรที่มี 3 ฐานันดรนี้ไม่ได้เปิดการประชุมมาแล้วกว่า 100 ปี ครั้งหลังสุดที่เปิดคือในปี ค.ศ. 1614
ภาพวาดของ ฌัก แนแกร์ และเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีย์
ที่สุดแล้วการประชุมไม่สามารถบรรลุข้อตกลงและมาตรการแก้ปัญหาทางการคลังอะไรได้เลย เพราะแม้ตัวแทนจากฝ่ายฐานันดรที่ 3 จะมีจำนวนมากกว่า แต่กลับมีสิทธิมีเสียงน้อยกว่า ทำให้ฝ่ายฐานันดรที่ 3 ประกาศตั้งสมัชชาแห่งชาติ (National Assembly) จุดชนวนสู่การปฏิวัติ ท่ามกลางการต่อต้านจากสถาบันกษัตริย์
ซึ่งการที่ ฌัก แนแกร์ ถูกแต่งตั้งแล้วปลดสลับกันไปมาอย่างนี้ เป็นสัญญาณที่ทำให้ประชาชนนั้นไม่พอใจ เพราะประชาชนนั้นมองว่าแนแกร์ยืนอยู่ข้างประชาชน เพราะตัวของแนแกร์ก็สร้างฐานคะแนนนิยมไว้เยอะพอสมควร นำไปสู่การทลายคุกบาสตีย์
เหตุที่ต้องเป็นคุกบาสตีย์เพราะพื้นที่ส่วนหนึ่งนั้นได้มีการจัดเก็บอาวุธยุทธภัณฑ์แล้วก็ดินปืนในกรุงปารีส ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789
ภาพวาดเหตุการณ์เปิดการประชุมสภาฐานันดร (Estates General) และ ตั้งสมัชชาแห่งชาติ (National Assembly) ตามลำดับ
วันนั้นเป็นวันที่ผู้บัญชาการเรือนจำตกเป็นเป้าการโจมตีและถูกรุมกระทืบอย่างรุนแรงจากฝูงชนจนเสียชีวิต ผู้บัญชาการ คือ เบอร์นาร์ด-เรเน่ จอร์ดาน เดอ เลาเนย์(Bernard-René Jourdan de Launay) จะขอกล่าวอีกหนึ่งสิ่งก่อนนะครับสำหรับประวัติศาสตร์ที่บางท่านอาจจะรับรู้มาคลาดเคลื่อนเลยก็คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตถูกสังหารทันทีหลังจากการทำลายคุกบาสตีย์ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่แบบนั้นนะครับ
เพราะทั้งสองพระองค์จะถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนก็หลังจากเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีย์ก็อีก 2 ปีกว่าเลย การทลายคุกบาสตีย์เปรียบเสมือนเป็นการสั้นสะเทือนแก่นในของสังคมฝรั่งเศส สั่นคลอนการปกครองที่แข็งแกร่งและยาวนานของฝรั่งเศส ทำให้เข้าสู่ช่วงสุญญากาศทางการเมือง คือไม่มีผู้นำในการกำหนดมาตรการต่างๆและวิธีรับมือกับปัญหาที่จะตามมา
ผู้บัญชาการ คือ เบอร์นาร์ด-เรเน่ จอร์ดาน เดอ เลาเนย์(Bernard-René Jourdan de Launay)
ในช่วงเวลาแห่งความเห็นต่างนั้นผู้นำในแต่ละกลุ่มมองเห็นอนาคตของฝรั่งเศสไม่เหมือนกันเลย มีการใช้ความรุนแรงโดยทั่วไปเลย ไม่มีการกล่าวหรือนำชื่อของบุคคลหรือองค์กรใดเลยที่จะเป็นรัฏฐาธิปัตย์สูงสุด ต่อจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทำให้หลายคนเริ่มมองว่าการพัฒนาและการปฏิรูประบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญก็อาจจะเป็นเรื่องทีดีก็ได้
ภายหลังสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ( Assemblée nationale constituante )ได้รับอำนาจในการเป็นรัฏฐาธิปัตย์ โดยสัญลักษณ์ของสถาบันแห่งนี้คือ "กฏหมาย และ กษัตริย์" หมายความว่ากฏหมายมาก่อนกษัตริย์ สถานการณ์ที่กรุงปารีสนั้นถือว่าวุ่นวายยากแก่การควบคุม ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือรักษาความสงบในเมืองหลวงนั้นก็คือปารีส
ผู้ที่ถูกมอบหมายโดยสภาประชาชนในเวลานั้นก็คือนายพลมาร์ควิส เดอ ลาฟาแยตต์ ได้รับอำนาจในการปกป้องนครปารีสก่อน หลังการทลายคุกบาสตีย์เกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนแตกต่างกันโดยเฉพาะพวกหัวรุนแรงที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงจนนำไปสู่เหตุการณ์ การสังหารหมู่ที่ช็องเดอมาร์ส (Champ de Mars massacre) ที่นายพลลาฟาแยตต์ ได้นำกำลังเข้าไปปราบปราม
นายพลมาร์ควิส เดอ ลาฟาแยตต์เป็นคนที่ไปช่วยสหรัฐอเมริการในการประเทศเอกราชจากอังกฤษ และภาพการสังหารหมู่ที่ช็องเดอมาร์ส
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ระหว่างที่เกิดการจราจลนั้น ในเดือนกรกฏาคม ปี ค.ศ.1979 พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังแวร์ซายชานกรุงปารีส จนกระทั้งเดือนตุลาคมในปีนั้น ประชาชนได้กดดันให้พระองค์นั้นต้องกลับไปประทับที่พระราชวังตุยเลอรี ที่ใจกลางปารีส เพราะสำหรับประชาชนแล้วกษัตริย์ต้องอยู่กรุงปารีส พระองค์ถูกควบคุมแล้วก็กักบริเวณแต่ไม่ได้เสียสถานภาพของกษัตริย์ไป
พระราชวังแวร์ซายชานกรุงปารีส และ พระราชวังตุยเลอรี
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่ยอมจำนนต่อชะตากรรม ที่จะเป็นกษัตริย์ที่ถูกจองจำระหว่างที่พระองค์ประทับที่พระราชวังตุยเลอรี พระองค์ได้ทรงพระราชหัตถเลขาสำคัญทั้งหมดมี 16 หน้า ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศเจตนารมณ์ของพระองค์ที่มีชื่อว่า จุดยืนทางการเมืองของพระเจ้าหลุยส์ (testament politique de louis 16) ซึ่งในใจความทั้ง 16 หน้านั้น แสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ทราบว่าประชาชนนั้นคิดยังไงกับตัวพระองค์
จุดยืนทางการเมืองของพระเจ้าหลุยส์ (testament politique de louis 16)
พระองค์เข้าใจว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังคงรักพระองค์ สิ่งต่างๆที่เกิด เกิดจากการกระทำของประชาชนกลุ่มเล็กๆที่มีความคิดแบบหัวรุนแรง หลังจากที่คำประกาศดังกล่าวนั้นถูกเผยแพร่ออกไป พระองค์ทรงหลบหนีจากพระราชวังตุยเลอรี แต่ระหว่างทางได้มีประชาชนที่ชื่อ ฌอง-แบปติสต์ ดรูเอต์ (Jean-baptiste drouet) จำพระองค์ได้จากการเทียบใบหน้ากับธนบัตรที่มีพระสาทิสลักษณ์ของพระองค์ นำไปสู่การจับกุมพระองค์กลับวังตุยเลอรี
พระนางมารี อ็องตัวแน็ต พระองค์เป็นเจ้าหญิงแห่งออสเตรียจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และพระเชษฐานั้นคือจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 เป็นผู้ครองนครแห่งออสเตรีย เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศที่ใหญ่ที่สุดแล้วทรงอำนาจที่สุดนั้นสั่นสะเทือน
ฌอง-แบปติสต์ ดรูเอต์ (Jean-baptiste drouet)
แน่นอนว่ายุโรปทั้งทวีปที่ปกครองด้วยระบบเดียวกันนี้มีความวิตกกังวลว่าฝรั่งเศสจะส่งออกโมเดลการเปลี่ยนแปลงนี้มาสู่ประเทศของตน จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 ที่เป็นพระญาติก็เกิดความกังวลนี้ ดังนั้นจักรวรรดิออสเตรียและอีกหนึ่งจักรวรรดิก็คือปรัสเซียเกิดความกังวลต่อระบบการปกครองและสถานภาพของตัวเอง ดังนั้นสิงหาคมของปี ค.ศ.1791
ออสเตรียและปรัสเซียที่ได้รับการประสานจากชาวฝรั่งเศสที่ต้องการฟื้นฟูระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ออกประกาศว่าจะมีการปกป้องพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ทางฝ่ายของสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติก็ได้ตอบโต้ด้วยการส่งนายพลลาฟาแยตต์ในการนำทัพทำสงคราม สงครามครั้งนี้มีชื่อว่า สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง (War of the First Coalition)
จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 และ พระนางมารี อ็องตัวแน็ต
ในสงครามครั้งนี้ไม่ได้มีการปรากฏผลแพ้ชนะ แต่มีความหมายว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่ง ณ เวลานั้นถูกควบคุมตัวที่พระราชวังตุยเลอรีถูกตั้งข้อหากบฏทรยศชาติ ชักพาให้ต่างชาติมารบกับฝรั่งเศส สภาแห่งชาติได้ปลดพระยศที่พระองค์มีอยู่ เป็นเพียงแต่สามัญชนธรรมดาที่มีชื่อว่า หลุยส์ กาเป (Louis Capet) ซึ่งนามสกุลนี้มีที่มาจากเชื้อสายราชวงศ์กาเปเซียงของพระองค์
หลังจากนั้น 1 เดือน ฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองแบบสาธารณรัฐที่ 1 แต่ระบบใหม่นี้ประกอบไปด้วยความคิดเห็นของคนที่แตกต่างหลากหลายสภาแห่งชาติในเวลานั้นไม่ได้มีความคิดเห็นเป็นหนึ่งเดียวแต่แตกออกเป็น 2 กลุ่มตามแนวคิดวิธีการและอุตมคติที่แตกต่างกัน กลุ่มแรกคือกลุ่มทางสายกลาง(Girondins) อีกกลุ่มที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว (La montagne)ที่มีพื้นฐานจากฐานันดรที่ 3
ภาพวาด สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง (War of the First Coalition)
ซึ่งชะตาชีวิตของหลุยส์ กาเป ก็มีการถกเถียงกันว่าควรจะนำเข้ากระบวนการยุติธรรมหรือนำไปประหารชีวิตเลย ในข้อหากบฏทรยศชาติ แต่ไม่ว่าจะถกเถียงกันยังไงก็ตาม ที่สุดแล้วก็นำไปสู่การประหารชีวิตของหลุยส์ กาเป ในเวลาอีก 4 เดือนต่อมาด้วยเครื่องประหารรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า กิโยตีน โดยนายแพทย์ โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง(Joseph-Ignace Guillotin) ซึ่งได้กล่าวว่าเป็นเครื่องประหารที่เท่าเทียมสำหรับทุกคนแล้วทำให้ผู้ต้องหาทรมานน้อยที่สุด
ภาพวาดเหตุการณ์การประหารหลุยส์ กาเป
ในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1793 ที่ปลัสเดอลากงกอร์ด (Place de la Concorde: จัตุรัสแห่งความปรองดอง) เบื้องหน้ารูปปั้นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งเป็นปู่ของตัวเอง ที่จะถูกประหาร หลุยส์ กาเป ได้กล่าวยืนยันความบริสุทธิ์ต้องตัวเองว่า ใครก็ตามเป็นตนเหตุการตายของเรา จากนั้นเสียงก็ถูกกลบไป เพราะผู้ควบคุมการประหาร อ็องตวน โฌแซ็ฟ ซองแตร์ เร่งเสียงกลองให้ดังขึ้น แล้วส่งสัญญาณทิ้งมีดได้มีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าหลุยส์ กาเปเสียชีวิตจริง
ติดตามตอนต่อไป
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ฝรั่งเศส ตอนที่ 6

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา