30 ธ.ค. 2023 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ตอนที่ 7 สู่ยุคจักรพรรดินโปเลียน

หลังจากที่พลเมือง หลุยส์ กาเป เสียชีวิต ก็ถึงรอบของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต อดีตเจ้าหญิงออสเตรีย ผู้ได้กลายเป็นพระราชินีแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส สุดท้ายถอดพระยศกลายเป็นพลเมืองที่ชื่อ มารี อ็องตัวแน็ต พระนางยังมีชีวิตหลังจากการประหาร หลุยส์ กาเป อีก 9 เดือนกว่า แล้วจบลงที่การไต่สวนในข้อหาเดียวกันในกระบวนการยุติธรรม
13 ตุลาคม ค.ศ.1793 เธอต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต 16 ตุลาคม ค.ศ.1793 หรืออีก 3 วันต่อมา เธอประสบชะตากรรมเดียวกับหลุยส์ กาเป ก่อนที่เธอจะถูกประหาร ได้กล่าวไว้แค่ว่า
Pardonnez-moi, monsieur. Je ne l’ai pas fait exprès ขออภัยด้วย เราทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
กล่าวโดย มารี อ็องตัวแน็ต
พระนางมารี อ็องตัวแน็ต
การตายของพระนาง เป็นประเด็นที่ถูกถกกันไม่เฉพาะในยุโรป แต่ในสหรัฐอเมริกาก็มีการกล่าวถึง แม้แต่ ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) หนึ่งในรัฐบุรุษบิดาผู้ให้กำเนิดสหรัฐอเมริกา ยังกล่าวถึงพระนางว่า การเดิมพันของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต คือการเลือกที่จะไม่ยืดหยุ่น หรือปรับเปลี่ยนการปฎิรูป จนนำไปสู่การจบชีวิตด้วยเครื่องประหารกิโยติน
สาธารณรัฐฝรั่งเศสถูกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.1792 ในกรอบเวลาดังกล่าวได้มีขั้วอำนาจ 2 ขั้วอยู่ในรัฐสภา คือกลุ่ม ฌีรงแด็ง (Girondin) กลุ่มสายกลาง กับ ลามงตาญ (La Montagne) กลุ่มหัวรุนแรง ด้วยสถานะการณ์ที่เกิดความวุ่นวายขึ้นทำให้ต้องมีการเลือกคณะกรรมการที่ดูแลความสงบ โดยผู้นำของคณะกรรมการที่ดูแลความสงบคือ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien Robespierer) และเป็นตัวแทนจากลามงตาญ
มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien Robespierer)
ในช่วงดังกล่าวจึงได้มีการใช้กลไกของรัฐในการกวาดล้างต่อผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับการปฏิวัติฝรังเศส ซึ่งกลุ่มของลามงตาญมีความเชื่อในการปฏิวัติแบบบริสุทธิ์ได้มีการจัดตั้ง ศาลแห่งการปฏิวัติ(Tribunal révolutionnaire) ทำหน้าที่อย่างรวดเร็วในการพิพากษาว่าใครต่อต้านจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติ คดีที่ผ่านศาลนี้จะไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา
ในยุคนี้เรียกได้ว่าเป็น ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว(la Terreur) กินเวลา 10 เดือน ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดทั่วฝรั่งเศส โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรม
ภาพวาดของศาลแห่งการปฏิวัติ(Tribunal révolutionnaire)และ ยุคแห่งความน่าสะพรึงกลัว(la Terreur)
สร้างความอึดอัดใจไปทั่วกรุงปารีส ไม่มีใครอยากอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่มีการใช้การปฏิวัติแบบบริสุทธิ์นี้อีกต่อไป ฝูงชนบุกเข้าไปที่ศาลาว่าการในกรุงปารีส จับตัว มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ 27 กรกฏาคม ค.ศ.1794 ตัดสินประหารรอแบ็สปีแยร์โดยไม่มีการไต่สวนเหมือนกัน
เมื่อผู้นำลามงตาญหัวรุนแรงที่บ้าอำนาจประมาณ 1 ปี ได้จบชีวิตลง ฝรั่งเศสได้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในปี ค.ศ.1795 ยุติการใช่โครงสร้างแบบสภาเดี่ยว มาใช้เป็น สภาคู่ เพื่อถ่วงดุลอำนาจ ได้มีการก่อตั้ง คณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศส (directoire)หรือก็คือการมีผู้นำที่เป็นกลุ่มมาบริหารประเทศ ด้วยระบบนี้ทำให้นิติบัญญัติมี 2 สภาด้วยกัน คือสภาห้าร้อยทำหน้าที่ตรากฎหมายและกำหนดภาษี และสภาสำหรับฝ่ายบริหารมีด้วยกัน 5 คน (Première République Directoire) การเลือกตั้งในปี ค.ศ.1795
ปอล บารัส (Paul Barras)
โดยผู้นำฝ่ายบริหารซึ่งมี 5 คน ชื่อ ปอล บารัส (Paul Barras) อย่างที่ได้ไล่เรียงเหตุการณ์ต่างๆ ฝรั่งเศส ณ เวลานั้นก็ถือว่าเป็นมหาอำนาจแต่เมื่อมีปัญหาภายในประเทศรอบข้างก็มองว่า ควรที่จะทำให้ฝรั่งเศสอ่อนแอลงและถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะยึดพื้นที่ต่างๆ ดังนั้นประเทศที่อยู่รอบๆก็ดำเนินการบุกรุกมาที่ฝรั่งเศส
อังกฤษรุกราน บริททานี ทางออสเตรียก็รุกที่ตอนล่างอย่างเมือง สทราซบูร์ (Strasbourg) และปรัสเซียที่มาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นทางกองทัพฝรั่งเศสยังคงต้องทำหน้าที่ปกป้องดินแดนในภูมิภาคต่างๆ จากการรุกรานของประเทศข้างเคียง เพื่อที่ภายในจะได้ทะเลาะกันได้อย่างเต็มที
ภาพแผนที่สาธารณรัฐฝรั่งเศส (France) และ ยุทธการที่อาร์โคเล
หนึ่งในนายทหารหนุ่มที่โดดเด่นซึ่งสังกัดเหล่าปืนใหญ่ ได้ปกป้องมาตรภูมิโดยเฉพาะสมรภูมิที่มีชื่อว่า ยุทธการที่อาร์โคเล (bonaparte at the pont d'arcole) คือนายทหาร นโปเลียน โบนาปาร์ต ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นมาก ถูกสั่งการโดยปอล บารัส ให้เข้ามาประจำการในนครหลวงปารีส เพื่อรักษาความสงบจากกลุ่มอำนาจทางการเมือง
โดยเฉพาะผลงานในการปราบกบฏที่ต้องการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงในปี ค.ศ.1796 ณ เวลานั้น นโปเลียน ได้ดึงเอาทหารม้าหนุ่มอีกคนมาเป็นทหารคู่ใจ ฌออากีม มูว์รา (Joachim Murat) ทั้งสองคนได้รับคะแนนนิยมอย่างมหาศาล ในปีนั้น นโปเลียน ได้พบรักกับคนที่จะมีอิทธิ์ไปตลอดชีวิตของเขา นั้นก็คือ โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน(Joséphine de Beauharnais)
1
ภาพวาดของนโปเลียน โบนาปาร์ต และโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน
รัฐบาลดีแร็กตัวร์เริ่มมองคะแนนนิยมที่ประชาชนมีให้กับนโปเลียน อย่างไม่ไว้ใจ ดังนั้นรัฐบาลจึงบัญชาการให้ นโปเลียน ไปรบที่สมรภูมิห่างไกล คือสมรภูมิอียิป ค.ศ.1798 ได้นำกองทัพตะวันออกลงใต้ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและไปต่อที่ปากแม่น้ำไนล์ แม้ว่าจะพ่ายแพ้ต่อกองเรือของบริติชที่ปากแม่น้ำไนล์ แต่ตัวเขากลับได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนอย่างมาก
รัฐบาลดีแร็กตัวร์ ณ เวลานั้นเสื่อมความนิยมมากพอสมควร เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆตามความคาดหวังของประชาชน ประกอบกับประชาชนนั้นมีความต้องการวีรบุรุษซึ่งเป็นคนทีมาจากสายทหารไม่ได้มาจากสายการเมือง คนฝรั่งเศสในเวลานั้นเชื่อว่าวีรบุรุษจะสามารถนำพาฝรั่งเศสไปได้ไกลกว่านักการเมือง
ภาพวาดของยุทธการแห่งพีรามิด
ตัวนโปเลียนรู้ดีว่าประชาชนนั้นอยู่เคียงข้างเขาจึงได้มีการร่วมมือกันบรรดาดีแร็กตัวร์ ซึ่งอย่างที่กล่าวไปว่ามี 5 คน แล้วทั้ง 5 ก็ไม่ได้สามัคคีกัน แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (Emmanuel Joseph Sieyès) , รอเฌ ดูว์โก (Pierre Roger Ducos) จากสภาห้าร้อย , โฌแซ็ฟ ฟูเช(Joseph Fouché) จากดีแร็กตัวร์, ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์(Charles Maurice de Talleyrand-Périgord) จากดีแร็กตัวร์
ทำการรัฐประหารรัฐบาลดีแร็กตัวร์ 9 พฤจิกายน ค.ศ.1799 ปิดฉากสภานิติบัญญัติ สถาปนาตัวนโปเลียนเป็นกงสุลใหญ่แห่งฝรั่งเศส จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยุคแห่งความสับสน อนาธิไตรทางการเมือง จบลงตัวการปกครองแบบเผด็จการของนโปเลียน โบนาปาร์ต กินเวลากว่า 10 ปี
2
แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส (Emmanuel Joseph Sieyès) โฌแซ็ฟ ฟูเช(Joseph Fouché) จากดีแร็กตัวร์, ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์(Charles Maurice de Talleyrand-Périgord) จากดีแร็กตัวร์ ตามลำดับ
ภายใต้การปกครองของกงสุลใหญ่แห่งฝรั่งเศส กล่าวได้ว่าเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้นของฝรั่งเศส สามารถร่วมใจคนฝรั่งเศสได้มากที่สุด จากครั้งหนึ่งประชาชนต่อต้านการปกครองจากชนชั้นนำสู่การที่ฝรั่งเศสสามารถร่วมใจของชนทุกชั้น ทุกคนยินดีเข้ารับการเกณฑ์ทหาร เป็นความภาคภูมิใจของขาวฝรั่งเศส จนฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ทรงพลังและอำนาจมากที่สุดในดินแดนยุโรป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา