23 ธ.ค. 2023 เวลา 15:37 • ธุรกิจ

อนาคตเทคโนโลยี Hyper loop หลังการปิดตัวลงของ Hyperloop One

หลังจากไม่สามารถประมูลโครงการใด ๆ ได้เลยนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ความพยายามปรับโครงสร้าง ลดคนหรือแม้แต่ปรับแนวทางนำเสนอเทคโนโลยี Hyper loop สำหรับการใช้ขนส่งสินค้าเท่านั้นก็ยังไปไม่รอด
Hyperloop One หนึ่งในบริษัทแรก ๆ ของโลกที่ตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี Hyperloop ตามแนวคิดของ อีลอน มัสก์ สู่การใช้งานจริง ซึ่งมี ‘ริชาร์ด แบรนสัน’ แห่ง Virgin เป็นโต้โผก่อตั้งแต่ล่าสุดกำลังจะปิดตัวลงในสิ้นปีนี้ โดยบริษัทได้ประกาศขายสินทรัพย์และเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดหลังจากผลาญเงินลงทุนไปกว่า 15,000 ล้านบาทโดยไม่ได้เคยแม้แต่จะได้เริ่มโครงการก่อสร้างแม้แต่แห่งเดียว
1
ทำไม Hyperloop ไปไม่ถึงฝั่งฝัน?
ปัญหาใหญ่ของตัวเทคโนโลยีนี้ก็คือ ต้นทุน ทั้งต้นทุนการก่อสร้างและต้นทุนการดำเนินงานกับการบำรุงรักษาที่จะส่งผลต่อราคาค่าโดยสารหรือค่าขนส่งสำหรับการขนส่งสินค้า
โดยเฉพาะในส่วนการใช้โดยสารนั้นประเด็นเรื่องความปลอดภัยก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาก และก็ยากมากที่จะทำให้หน่วยงานรัฐเชื่อได้ว่าเทคโนโลยีนี้ปลอดภัยมากพอที่จะนำมาใช้ในการเดินทาง
1
นั่นก็เพราะ Hyperloop เป็นการรวมเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงชนิด magnetically levitating หรือ MEGLEV แต่พัฒนาไปอีกขั้นด้วยการเอาไปวิ่งในท่อสูญญากาศเพื่อการเคลื่อนที่แบบไร้แรงต้านอากาศ ซึ่งทางกฤษฎีจะทำให้ตัวรถไฟสามารถทำความเร็วสูงสุดได้กว่า 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่าเครื่องบินโดยสารปัจจุบัน
แต่ไอ้การวิ่งอยู่ในท่อสูญญากาศที่แหละที่ทำให้ต้นทุนระบบสูงและสร้างประเด็นกังวลเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารที่อยู่ด้านใน (หากตัวรถไฟรั่วอากาศไหลออกตอนวิ่งในท่อนี่คือผู้โดยสารตายยกขบวนได้เลย)
และนั่นทำให้ Hyperloop One ต้องดิ้นรนปรับตัว ลดพนักงาน หรือแม้แต่นำเสนอโครงการ Hyperloop สำหรับการขนส่งสินค้าเท่านั้นเพื่อตัดประเด็นด้านความปลอดภัยแต่สุดท้าย Hyperloop One ก็ไม่ได้ฉลองครบรอบการก่อตั้งในปีที่ 10
1
แล้วอนาคตของเทคโนโลยี Hyperloop ละ?
เป็นที่แน่นอนว่าปิดตัวไปแล้วหนึ่ง แต่ก็ยังมีอีกหลาย Startup ที่เชื่อตามไอเดียของ Hyperloop ว่ามันจะเวิร์กและคุ้มที่จะเสี่ยงและถ้าทำสำเร็จเป็นเจ้าแรกได้มันก็คือโอกาสทอง
1
มีแค่ตัวต้นแบบที่ไม่เคยได้ถูกใช้งานจริงกับเทคโนโลยี Hyperloop
แล้วตัว อีลอน มัสก์ เจ้าของไอเดียจะยังจะทำต่อไหม?
สำหรับ อีลอน มัสก์ แน่นอนว่ายังคงพัฒนาเทคโนโลยี Hyperloop อยู่ผ่านการดำเนินงานของ The Boring Company ที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ได้
ทั้งนี้ Boring Company ยังมีความสามารถในการดำเนินกิจการด้านด้านการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งสามารถรับงานสร้างรายได้ให้กับบริษัทไม่ใช่แค่ผลาญเงินลงทุนไปอย่างเดียว
แม้จะไม่ได้สร้าง Hyperloop แต่ก็ยังรับงานเจาะอุโมงค์เลี้ยงตัวเองได้
แต่ก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้ว Boring Company จะสามารถทำให้เทคโนโลยี Hyperloop ออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงได้หรือไม่ เพราะหลังจากที่มีข่าวการรื้อโมเดลต้นแบบ Hyperloop ไปทำที่จอดรถ ก็ได้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า อีลอน มัสก์ ได้ทิ้งไอเดีย Hyperloop ไปเรียบร้อยแล้ว
ส่วนกิจการอื่น ๆ แม้จะมีข่าวการสร้างและทดสอบตัวต้นแบบออกมา แต่ก็ยังไม่มีเจ้าไหนใกล้เคียงการเริ่มสร้างระบบ Hyperloop เพื่อใช้งานจริง
นั่นก็เพราะ Hyperloop เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังคงมีคำถามมากมาย ทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย ความเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรื่องภัยพิบัติ การก่อการร้าย การบำรุงรักษา คงยากที่จะทำให้รัฐบาลชาติใดเชื่อมั่นในเทคโนโลยีนี้ได้ในเร็ววัน
ทรงไม่ค่อยดีนะครับสำหรับเทคโนโลยี Hyperloop ก็คงต้องตามข่าวกันต่อไป แต่เชื่อได้ว่าเดี๋ยวเราก็คงจะได้ยินข่าวบริษัท Startup Hyperloop ค่อย ๆ ทยอยปิดตัว เพราะขนาดขาใหญ่อย่าง Hyperloop One ยังไม่รอด. . .

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา