5 ม.ค. 2024 เวลา 21:29 • สุขภาพ

ยาลดความอ้วนก็เป็นยาเสพติด

หุ่นที่ผอมเพรียวล้วนเป็นสิ่งที่ใครต่อใครหลายคนฝันใฝ่โดยเฉพาะสาวๆ แต่จะดีกว่าไหมหากใช้วิธีอื่นที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงยาลดความอ้วน
ยาลดความอ้วนเป็นยาเสพติดกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ยานี้สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีภาวะอ้วนเกินเฉพาะแพทย์สั่งเท่านั้น!!!!
1
การใช้ยาลดความอ้วนอย่างไม่ถูกต้องจะไม่สามารถทำให้หายจากโรคอ้วนได้เพราะหากใช้ติดต่อกันระยะหนึ่ง น้ำหนักจะกลับขึ้นได้อีก(yo-yo effect) และผลข้างเคียงของยาจะมีอาการนอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่นตาพร่า ท้องผูก ฯลฯ ที่สำคัญอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดที่อาจทำให้เสียชีวิต ได้หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
“ยาลดน้ำหนัก” หรือยาลดความอ้วน มักประกอบไปด้วยยาหลายชนิด
1. ยาลดความอยากอาหาร (phentermine) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 ต้องมีการควบคุม ในโรงพยาบาล หรือคลนิคิ ต้องมีข้อวินิจจิฉัยและข้อบ่งชี้ในการรักษา ใช้ในระยะเวลาไม่เกิน 3-6 เดือน phentermine จะลดการทำงานของศูนย์ควบคุมความหิวบริเวณด้านข้างของสมองส่วนไฮโปธาลามัส
ทำให้มีการเพิ่ม ปริมาณสารสื่อประสาท 2 ชนิด คือ norepinephrine (NE) และ
โดปามีน (dopamine) จึงมีผลทำให้ลดความอยากอาหาร ผลกระทบอื่นๆ นอนไม่หลับ เคลิ้มฝัน ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปากแห้ง
เหงื่อออก คลื่นไส้ ท้องผูก มองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นสีผิดปกติไปจากเดิม หงุด หงิด หวาดระแวง หูแวว เห็นภาพหลอน และเกิดอาการติดยาได้
2. ยาธัยรอยด์ฮอร์โมน เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย เพิ่มการทำลายโปรตีนของกล้ามเนื้อ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
3. ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลง สูญเสียแร่ธาตที่จำเป็นต่อ ร่างกาย อาจหัวใจวาย หมดสติ
4. ยาระบาย
การรักษาโรคอ้วนที่ดี ประหยัด และปลอดภัยที่สุด คือ การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา