Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvestWay
•
ติดตาม
5 มี.ค. 2024 เวลา 23:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ความเป็นมาของวัฒนธรรมออมเงินอย่างบ้าคลั่งของคนญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีประวัติการออมเงินในภาคครัวเรือนสูงมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีต
พวกเขามีอัตราการออมรวมอยู่ที่ราวๆ 22.5% ถึง 40% มาเป็นเวลาอย่างน้อย 40 ปี เเล้ว
หมายความว่า รายได้ที่พวกเขาหามาได้ในทุกๆปีอย่างน้อย 1 ใน 5 พวกเขาได้นำรายได้เหล่านั้นมาออมในรูปแบบต่างๆ
ในปี 2023 ภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นมีสินทรัพย์ทางการเงินมากกว่า 2,100 ล้านล้านเยนหรือประมาณ 14 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่วนใหญ่ก็ถือกันเป็นเงินสดหรือเงินฝากในธนาคาร
ซึ่งวัฒนธรรมการออมเงินอย่างบ้าคลั่งและสุดโต่งนี้ของญี่ปุ่น มีความเป็นมาที่หลากหลายและมีต้นกำเนิดที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยย้อนไปตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงในปี 1945 ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้สงครามและต้องเผชิญกับสภาพทางเศรษฐกิจที่ทรุดโทรมอย่างรุนแรง
ความพ่ายแพ้นั้นได้นำไปสู่การตั้งคำถามของผู้คนชาวญี่ปุ่นว่า "พวกเขาจะต้องทำอย่างไรถึงมีอาหารพอเพียงสำหรับรับประทานและทำให้ชีวิตของพวกเขามั่นคงขึ้น?"
ความยากจนและความอดอยากอย่างรุนแรงที่ผู้คนชาวญี่ปุ่นต้องเผชิญ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมการออมเงินที่เข้มงวดและบ้าคลั่งที่ฝังรากลึกในวัฒนธรรมของพวกเขา
ในเวลาต่อมาแนวคิดและความเชื่อมากมายเกี่ยวกับการออมเงินเหล่านั้น ได้ถูกซ้ำเติมด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยเอนดากะ (Endaka Recession)
2
โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้เกิดขึ้นจากการแข็งค่าของสกุลเงินเยนญี่ปุ่น ที่เริ่มต้นจากข้อตกลงสมิธโซเนียน (Smithsonian Agreement) ในทศวรรษ 1970 ที่ว่าด้วยการตรึงสกุลเงินของชาติอุตสาหกรรม G10 ไว้กับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีสกุลเงินเยนของญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดข้อตกลงดังกล่าว สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป และทำให้เงินเยนของญี่ปุ่นขณะนั้นถูกมองว่ามีมูลค่าที่ต่ำเกินไป
จนนำไปสู่ข้อตกลงพลาซ่า แอคคอร์ด (Plaza Accord) ในปี 1985 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ด้วยวิธีการเข้าแทรกแซงตลาดสกุลเงิน
โดยหลังจากนั้นดอลลาร์สหรัฐได้อ่อนค่าลงอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้สกุลเงินเยนเริ่มแข็งค่ามากขึ้นอย่างรวดเร็วแทน
1
และนอกจากนี้ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ญี่ปุ่นยังต้องเผชิญกับเหตุการณ์ฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ ในช่วงปี 1986 ถึง 1991 อสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นของญี่ปุ่นมีราคาที่สูงเกินจริงอย่างมาก
ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไป ตลอดจนปริมาณเงินและการขยายตัวของสินเชื่อที่ไม่สามารถควบคุมได้ จากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่มากเกินไปในขณะนั้นของญี่ปุ่น
และแล้วฟองสบู่ราคานี้ก็ได้แตกลงในปี 1992 เท่านั้นยังไม่พอเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังถูกซ้ำเติมอีกครั้ง ด้วยการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินเยนที่เป็นผลจากข้อตกลงพลาซ่า แอคคอร์ด โดยในปี 1995 ค่าเงินเยนได้แตะระดับสูงสุดที่ 79 เยนต่อดอลลาร์
ด้วยสกุลเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นสูงขึ้น ราคาสินค้าที่แพงทำให้ญี่ปุ่นแข่งขันในตลาดโลกได้ยากมากขึ้น จึงส่งผลให้การส่งออกของญี่ปุ่นตกต่ำลง
ซึ่งหลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในภาคธุรกิจ รัฐบาล คู่ค้า อีกทั้งภาวะดังกล่าวยังทำให้การลงทุนในธุรกิจใหม่ๆภายในญี่ปุ่นชะลอตัวเช่นกัน
ส่งผลให้ในปีเดียวกันนี้เอง การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เริ่มลดลงและเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของภาวะถดถอยที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า "ภาวะถดถอยเอนดากะ" อย่างเต็มตัว
และภาวะถดถอยดังกล่าวนี้ได้กินเวลายาวนานนับ 10 ปี จนถูกเรียกว่า The Lost Decade หรือทศวรรษที่หายไปของญี่ปุ่นนั่นเอง
1
จะเห็นได้ว่าผู้คนชาวญี่ปุ่น พวกเขาได้พบเจอกับความท้าทายในการใช้ชีวิต และในด้านการรักษาความมั่งคั่งของพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง
1
ซึ่งตอกย้ำแนวคิดและความเชื่อเกี่ยวกับการออมเงินของพวกเรา ว่าพวกเขาต้องออมเงินอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาเสรียรภาพและความมั่นคงในชีวิตของพวกเขาเอง ให้ยังมีกินมีใช้อยู่ ซึ่งการรักษาความมั่งคั่งในรูปแบบเงินสดดูจะตอบโจทย์พวกเขามากที่สุด
โดยเฉพาะในกลุ่มวัยผู้สูงอายุที่เคยพบผ่านและเผชิญกับสงครามและวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง
หลากหลายเหตุการณ์ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ทำให้ญี่ปุ่นต้องประสบกับความท้าทายที่จำนวนเงินฝากในระบบธนาคารมีสูงกว่าปกติ
ซึ่งไม่ใช่ผลดีเท่าไหร่นัก นั่นก็เพราะเมื่อปริมาณเงินฝากที่สูงขึ้น อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่ลดน้อยลง ทำให้การหมุนเวียนเงิน (Velocity of money) ต่ำลงซึ่งไม่เป็นมิตรกับระบบเศรษฐกิจ
และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้ญี่ปุ่นต้องเข้าสู่ภาวะเงินฝืดอยู่หลายครั้ง ซึ่งภาวะเงินฝืดดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น แม้ว่าเหล่าธนาคารจะมีสภาพคล่องมากมายในการปล่อยสินเชื่อก็ตาม
แม้ว่าในช่วงปลายปี 1996 นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ในรัฐบาลญี่ปุ่นสมัยนั้นพยายามที่จะสนับสนุนให้มี “การออมเพื่อการลงทุน”
ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกกับนักลงทุนรายย่อยให้มีส่วนร่วมในตลาดหุ้น จำนวนเงินลงทุนในหุ้นขั้นต่ำลดลง ภาษีการทำธุรกรรมสำหรับหลักทรัพย์ถูกยกเลิก
การค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายในและการดำเนินกิจการส่วนหน้าถูกห้ามอย่างชัดเจน เป็นต้น
เพื่อให้ผู้คนชาวญี่ปุ่นมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณอายุได้ดีขึ้น และเพื่อให้มีเงินทุนไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตของญี่ปุ่นมากขึ้น
โดยนโยบายการสนับสนุนการออมเพื่อการลงทุนนี้ ได้ถูกส่งต่อจากรัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ สู่สมัยของนายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคอิซูมิ และได้ถูกส่งต่อมาให้กับสมัยของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ จนถึงรัฐบาลสมัยปัจจุบัน
ซึ่งแม้จะมีความพยายามที่จะการส่งเสริมและสนับสนุนกันมาหลายต่อหลายสมัยนานกว่า 2 ทศวรรษ แต่ผลลัพธ์กลับไม่ได้น่าประทับใจอย่างที่วาดฝันไว้
อัตราการออมรวมของญี่ปุ่นก็ยังคงอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ อย่างสหรัฐฯที่มีอัตราการออมรวมอยู่ที่ประมาณ 13% ถึง 24% ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงหลังจากเหตุการณ์ฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ในช่วงต้นทศวรรษปี 1990 จบลง ผู้คนชาวญี่ปุ่นจะมีการเพิ่มสัดส่วนของสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือครองอยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ เช่น หุ้น พันธบัตร และทรัสต์เพื่อการลงทุน กันมากขึ้นแล้วก็ตาม
ที่มา Internationalbanker
แต่หากมาดูข้อมูลจาก Bank of Japan ก็จะพบว่าในช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2022 (มีนาคม 2023) ซึ่งเป็นช่วงที่สินทรัพย์ต่างๆของญี่ปุ่นกลับมาฟื้นตัวและร้อนแรงอีกครั้งหลังช่วงโรคระบาด Covid-19 จบลง
สัดส่วนของสินทรัพย์ทางการเงินภาคครัวเรือนที่ถือครองในรูปสินทรัพย์ก็ยังคงน้อยกว่า 20% ซึ่งต่ำกว่าในช่วงก่อนเกิดฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ด้วยซ้ำ
สะท้อนถึงวัฒนธรรมและพฤติกรรมการออมเงินของคนญี่ปุ่นที่ดูมีความบ้าคลั่งและสุดโต่ง ซึ่งมีความเป็นมาอย่างยาวนานและกลายเป็นความเชื่อฝังรากลึกลงไปในจิตใจของพวกเขามาหลายทศวรรษนั่นเอง
References:
https://www.statista.com/statistics/1235823/japan-net-household-savings/
https://www.ceicdata.com/en/indicator/japan/gross-savings-rate
https://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_asset_price_bubble
https://www.ceicdata.com/en/indicator/united-states/gross-savings-rate
https://internationalbanker.com/finance/japans-elusive-goal-of-savings-to-investments/
https://en.wikipedia.org/wiki/Plaza_Accord
https://tradingeconomics.com/japan/currency
https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD?locations=JP
https://en.wikipedia.org/wiki/Smithsonian_Agreement
https://en.wikipedia.org/wiki/Endaka
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
การเงิน
3 บันทึก
7
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
INVESTING NEWS AND ECONOMY SERIES by InvestWay
3
7
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย