12 ม.ค. 2024 เวลา 02:00 • ท่องเที่ยว

ทำการตลาดโรงแรมยังไง? ให้เกาะกลุ่มลูกค้า Staycation

ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกันก่อนว่า Staycation คืออะไร ?
เป็นการผสมคำระหว่าง “Stay” ที่แปลว่า อยู่กับที่ และคำว่า “Vacation” ที่แปลว่า การหยุดพักผ่อน เมื่อรวมคำกันแล้วมีความหมายว่า “การหยุดพักผ่อนแบบอยู่กับที่ หรือพักผ่อนแบบไม่ต้องเดิน” อธิบายแบบเข้าใจง่าย คือการท่องเที่ยวใกล้บ้าน เที่ยวในจังหวัดของตัวเอง ซึ่งเหมาะกับผู้คนยุคนี้ที่ต้องการ Work-life Balance ประหยัดเวลา และไม่เหนื่อยกับการเดินมากเกินไป จัดว่าตอบโจทย์ความต้องการในรูปแบบชีวิตในยุค New Normal
Staycation เข้ามามีบทบาทกับธุรกิจโรงแรมได้อย่างไร ?
เนื่องจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้ลูกค้าต่างชาติที่เป็นฐานลูกค้าหลักของโรงแรม และนักท่องเที่ยวไทยหายไปจากการล็อคดาวน์ ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมแทบจะไม่มีแขกเข้ามาใช้บริการ ทำให้ธุรกิจโรงแรมต้องปรับตัวอย่างมาก ซึ่ง Staycation นี่เองที่ที่ตอบโจทย์คนไทย และเป็นตัวช่วยพลิกฟื้นให้ธุรกิจโรงแรมสามารถกลับมาได้
และถึงแม้ปัจจุบันจะมีการคลายล็อคดาวน์แล้ว Staycation ก็ยังคงสามารถดึงดูดลูกค้าต่างชาติ และลูกค้าไทยบางกลุ่มได้เป็นอย่างดี วันนี้เราจะมาพูดถึงทำการตลาดโรงแรมยังไง? ให้เกาะกลุ่มลูกค้า Staycation
1. ทำแพ็กเกจแบบรวมอาหาร
หนึ่งในปัจจัยหลักของลูกค้าที่จะตัดสินใจจอง Staycation คือ “โรงแรมนี้มีแพ็กเกจพร้อมอาหารหรือไม่” เพราะไฮไลท์ของ Staycation คือไม่ใช่แค่นอนค้างคืน แต่คือการได้ประสบการณ์ที่ดี ทั้งห้องพักและอาหาร แบบที่เดียวครบไม่ต้องเดินทางออกทานอาหารข้างนอก ซึ่งโรงแรมเองก็มีห้องอาหารเพื่อรองรับผู้เข้าพักอยู่แล้ว การที่รวมแพ็กเกจอาหารเข้าไปในโปรโมชั่น จะช่วยทำให้แพ็กเกจดูมี Value เพิ่มขึ้น โดยที่โรงแรมยังสามารถควบคุมต้นทุนได้
2. อัพเกรดห้องพัก
ไฮไลท์ของโรงแรม คือประเภทห้องพักที่หลากหลาย การมอบสิทธิประโยชน์ในการอัพเกรดห้องพักให้ลูกค้าได้พักผ่อนในห้องพักที่มีความพิเศษมากกว่า จึงถือเป็นหนึ่งในการตลาดโรงแรมที่ดึงดูดลูกค้าให้สนใจได้เป็นอย่างดี เพราะลูกค้าจะมองว่าจ่ายเท่าเดิม แต่ได้ประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมในการเข้าพัก แถมเป็นการชูจุดเด่นของ Room Type ของโรงแรมอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการอัพเกรดห้องให้ลูกค้าแบบฟรี ๆ แต่โรงแรมยังสามารถควบคุมต้นทุนได้จากราคาขาย และสิ่งที่รวมในแพ็กเกจ ควบคุมถัวเฉลี่ยให้มีกำไรได้
3. Early check-in กับ Late check-out
เรามักจะคุ้นเคยกับการ เช็คอินโรงแรม เวลา 14.00 น. และเช็คเอาท์เวลา 11.00 น. – 12.00 น. ซึ่งเป็นมาตรฐานของโรงแรมทั่วไป แต่สำหรับการพักผ่อนแบบ Staycation ลูกค้ามักจะมองหาการพักผ่อนที่สะดวกสบาย ไม่เร่งรีบ จึงเกิดเทรนด์ Early check-in ที่สามารถเข้าเช็คอินได้ก่อนเวลา และ Late check-out ข้อเสนอขยายเวลาในการออกจากที่พัก ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีอิสระในการเข้าพัก
4. ให้ Credit ใช้จ่ายในโรงแรม
อีกหนึ่ง การตลาดโรงแรม ที่มาแรงในโปร Staycation คือการมอบเครดิตเงินคืนเพื่อใช้จ่ายในโรงแรม การให้เครดิตเงินคืน ทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้รับส่วนลด หรือไม่ได้จ่ายเต็มจำนวน โดยเครดิตเงินคืนจะมาในรูปแบบเครดิต F&B Credit เป็นเครดิตเพื่อใช้สำหรับทานอาหารในห้องอาหารโรงแรม หรือ Hotel Credit เป็นเครดิตที่สามารถใช้จ่ายภายในโรงแรมได้
5. Workation-friendly มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะแก่การทำงาน
อินเทอร์เน็ตนับเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของทุกคนไปแล้วในยุคนี้ ไม่ว่าจะดูวิดีโอสตรีมมิ่ง หรือทำงานผ่านระบบรีโมทระยะไกล ก็ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานที่ไหลลื่น ปัจจุบันแทบทุกโรงแรมมีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ก็จริง แต่ใช้งานไปไม่นาน ความเร็วดรอป หรือสัญญาณหลุดบ่อย หากโรงแรมนำเรื่องอินเทอร์เน็ตมาเป็นจุดเด่นโปรโมทจะช่วยดึงดูดให้ลูกค้ากลุ่มคนทำงานที่ต้องการเปลี่ยนสถานที่ทำงานมาใช้บริการมากยิ่งขึ้น
รวมไปถึงอาจจะมี Workation Zone ภายในโรงแรม มีโต๊ะ/มุมสำหรับนั่งทำงานโดยเฉพาะ มีไฟฟ้าสำรอง ถ้ามีโปรเจกเตอร์นำเสนองานด้วยก็ยิ่งดี ส่วนเรื่องของบรรยากาศก็ต้องเงียบสงบ ทิวทัศน์สวยงาม ปลอดโปร่ง
6. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นห้องพักราคาเหมา
สำหรับราคาที่พักต่อคืนในเรทโรงแรมอาจสูงเกินไป ไม่แนะนำให้เข้าสงครามลดราคากับคู่แข่ง แต่อาจแบ่งห้องพักจำนวนหนึ่งมาเป็นห้องพักราคาย่อมเยาคิดเป็นราคาเหมาไปเลย มีทั้งแบบรายสัปดาห์ หรือรายเดือน หรืออาจจัดเป็นโปรโมชัน จองขั้นต่ำกี่วันราคาถูกกว่า เป็นแพ็กเกจสำหรับคนที่อยากจะมา Staycation แบบระยะยาว ในส่วนนี้อาจลดบริการบางส่วนจากแพ็กเกจเดิมของโรงแรมแต่ยังคงบริการบางส่วนไว้ เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงจนเกินไปได้
รู้จัก Hotelsup มากขึ้น : https://www.hotelsup.co/
โฆษณา