25 ม.ค. เวลา 01:38 • ปรัชญา
เรื่องราวของความคิดนั้น มันพัวพันอยู่ด้วยอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในกาย ในการที่จะขจัความคิด เราก็ต้องรู้จัก อารมณ์นั้นเป็นอย่างไร อารมณ์นั้นให้ทิฐิความคิดเห็น อารมณ์นั้นเกิดขึ้นที่เรือนกาย มันมีอะไร มากมายในกาย
..กายนั้นเปรียบแก้วน้ำ บรรจุทราย ขี้ผงอะไรมากที่เรา เก็บใส่ลงไปๆ แล้วไม่เคยนำออกไปทิ้ง มีแต่เอาเข้า ไม่มีเอาออก .จิตนั้นคือตัวเราเหมือนน้ำที่อยู่ในกาย มันก็สัมผัส .สิ่งต่างที่เกิดขึ้นในกาย เป็นคล้ายความจำ ..เรื่องคล้องเวรกรรม เรื่องที่เราใช้วิญญาณทั้งหกไปรับ..ไปสัมผัสเข้ามา ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง มันก็เก็บเข้ามาๆ เกิดพอใจไม่พอใจ อารมนึกคิดต่างๆ มันสะสมอยู่ในเรือนกาย นานไปกายก็หนัก สิ่งที่อยู่ในเรือนกายก็แผลงฤทธิ์ เป็นสิ่งสกปรก ..เจ็บปวด ตรงนั้นตรงนี้ หนักเนื้อหนัก เส้นเลือดอุตัน แก่เฒ่าชรา .
คราวนี้จะ ทำอย่างไร ในเมื่อเรานั้นมีการใช้กายใช้วิญญาณทั้งหก ไปทำมาหากิน นั่นเป็นเวลาที่เราอยู่กับโลก เราก็หาเวลานำกายนั้นมาอยู่เป็นเวลาของธรรม ..ไปนั่งหน้าพระ สถานที่ที่เข้าสร้างถวายต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สถานที่ที่สงบ หรือไม่เราก็ ไปนั่งหน้าพระ .หิ้งพระปฏิมากรน้อยๆ ที่เป็นพระสมมุติ เพื่อนำภาจิตเรานีอมไปหาพระ ..จิตของผู้ที่มีธรรม
..เรานำกายไปอยู่กราบพระ สวดมนต์ เมื่อเราจะประพฤติปฏิบัติธรรมแต่ละครั้ง ก็กราบพระแล้วอธิษฐานให้เป็น พูดด้วยคำที่สูง เป็นปิยะวาจา การสวดมนต์ก็เป็นคำที่สูงๆ เป็นปิยวาจาออกจากลมปากของเรา เราก็ฝึดหัดทำ การภาวนา จิตเราเป็นจิตน้อยๆ เหมือนน้ำน้อย อยู่ในถุงกาย ..เราก็เอาจิตน้อยๆ เหมือนน้ำยังน้อยอยู่ ภาวนาขึ้นมา ให้จิตนั้นยึดกับคำว่า พุทโธไปเรื่อย ..เมื่อเรากระทำไป อารมณ์นึกคิดมันก็ไหลเข้ามา ..นั้นก็คือ เม็ดทรายของเสียที่เราใส่ลงไปในถุงกาย ..
คราวนี้สิ่งที่จะช่วยให้กายเราเบาบาง เอาสิ่งของออไปจากกาย ก็ต้องนำกายนั้น ไปสร้างบุญกุศล เอาวัตถุที่เราหามาได้ เอามายึดถือเป็นของๆเรา จิตมันยึด เราก็แบ่งปันไป แปรสภาพให้เป็นทานเป็นกุศล ตั้งใจทำ นำจิตมาทำ บันทึกเราสิ่งที่ไม่ดีออกไป เอาสิ่งที่ดีเข้าไปในถุงกาย ..กายก็จะมีสิ่งดี สะสมสิ่งดี น้ำในเรือนกาย ก็มีพื้นที่มีปริมาณ เพิ่มขึ้นแทนที่สิ่งที่เราเอาออกไป
..นั้นก็จะทำให้จิตของเราค่อยๆขยับขยาย รู้จักอารมณ์นึกคิด คือ อารมณ์นึกคิด ก็จะไม่ถมจิตมากจนจิตนั้นหนัก..สิ่งที่หนักมันก็ทุกข์มันก็คือกรรม.. พอเราทำไป กายเบา จิตเราเบา ..จิตก็มีกำลังมากขึ้น รู้จักอารมณ์ ยับยั้งอารมณ์ ขจัดอารมณ์ออกไป มันขั้นเป็นตอน. เหมือนเรียนไปทีละขั้นๆ ทีละชั้น ๆ
อารมณ์นึกคิดอะไร จดจำอะไรมา นำเข้าคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ .เราจึงเห็นคนที่เก่งๆ พอแก่ตัวไป..บ้างก็หลงลืม บ้างก็เดินตัวสั่นปวดเมื่อย เจ็บป่วย เราก็ลองไปสังเกตคนที่แก่เฒ่าชรา ที่เค้าหมั่นสร้างบุญปฏิบัติธรรมมาตลอดเป็นนิจสิน เรือนกายเค้าเป็นอย่างไร ความเจ็บป่วยก็มีเบียดเบียนบ้าง แต่กายก็เดินไปไหนมาไหน ช่วยเหลือตัวเองได้ พึ่งตัวเองได้ นั้นก็คือ บุญกุศลที่เค้าทำ ช่วยพยุงกายพยุงจิต ..
เราเปรียบเทียบคนที่ใช้เวลาทั้งชีวิตอยู่กับโลก กับคนทีแบ่งปันเวลา มนำกายมาสร้างบุญกุศล .ดูที่กาย ดูที่อารมณ์..ของเค้า ว่าเป็นอย่างไร ว่าใครเย็นใครร้อน ..แล้วก็ย้อนกลับมาดูตัวเรา ว่าเราจะเป็นอย่างใร
เมื่อกายนี้ที่บรรจุอะไรลงไป นานไปมันจะเป็นอย่างไร ค่อยๆพิจารณา กลั่นกรอง .ทบทวน สำรวจตรวจสอบตัวเราเอง ..ว่าเราจะใช้กายนี้อย่างไร วิญญาณทั้งหกนี้อย่างไรดี เราจะแบ่งปันสละเวลาอยู่กับโลก มาเป็นเวลาของธรรมบ้างได้มั้ย ก็อยู่ที่ตัวเราเองเรียบเรียงเหตุผลขึ้นมา เราจะใช้เรือนกายพ่อแม่ให้จิตเราอาศัยอยู่ชั่วขณะหนึ่ง เราจะใช้อย่างไร ให้เกิดเป็นคุณ..ขึ้นแก่จิตของเรา
แล้วสิ่งที่เรารู้จักได้อยาก จิตไม่รู้ว่า อารมณ์นั้นคือทุกข์ อารมณ์นั้นเป็นตัวกรรม จิตของเราอาศัยในเรือนกาย ไม่รับรู้เลย ..เค้าจิตว่า เป็นจิตอวิชชา..ปกคลุมจิตที่อาศัยอยู่ในเรือนกาย ไม่สามารถรู้สิ่งต่างๆ ที่อารมณ์นั้นปรุงแต่งให้ทิฐิความคิดได้ ..พอมีความโกรธ ..ก็นึกคิดด้วยอารมณ์โกรธ พอมีอารมณ์ตัณหา พอใจไม่พอใจ มันก็นึกคิดไปตามอารมณ์นั้น..พอยึดอยากได้ ..ก็ใช้กายนั้นไปเสาะแสวงหามา .. มันเป็นเรื่องราวของอารมณ์ทั้งนั้น..คือ ..เราอยู่กับอารมณ์ตลอดเวลา ไม่สามรถพักกายพักจิต หยุดยั้งอารมณ์ได้เลย .
กายนั้นก็เหมือนหุ่น ..ที่อารมณ์นั้นเชิด ..ให้มีกิริยาตามอารมณ์ จะนั่งจะนอนจะยืนจะเดินจะนอนก็มีแต่อารมณ์ปรุงแต่งไปเรื่อย ..อารมณ์มันไหลวนในเรือนกาย ..ส่วนจิตนั้น ..ก็ไม่รู้จักอารมณ์ ทำไปตามอารมณ์ที่สั่งมา ..ด้วยจิตเป็นทาสของอารมณ์ อารมณ์เป็นนายของจิต ..ไม่สามารถเลิกเป็นทาสของอารมณ์ได้เลย เพราะจิตเราไม่มีกำลัง…ต่อสู้ฝืนอารมณ์ได้เลย .
โฆษณา