25 ม.ค. เวลา 13:31 • ความคิดเห็น
เรื่องราวของอารมณ์ นั่นหากจิตเราไม่ฝึกฝนมาดี มันก็ยากที่จะรู้จักเท่าทันอารมณ์ เราพูดคำว่า อารมณ์โกรธได้ แต่เราก็ไม่รู้จักอารมณ์โกรธ มีรูปร่างหน้าตา มีตัวมีตนเป็นอย่างไร ทำไมอารมณ์ (ทุกอารมณ์นั้นแหละ) ถึงมีอิทธิฤทธิ์ ..ทำให้คนเราขาดสติ ..ขาดปัญญาที่จะยับยั้ง หรือว่า ไม่ให้มีอารมนั้นเกิดขึ้นมาในกายอีก นั่นก็คือเราต้องฝึกหัดตัวเราเอง ในเรื่องของคำบุญกุศล ช่วยนำพาจิต ให้มีความสุข สุขกายสุขใจ ..
1
คราวนี้ เราก็มาดู เมื่อเรานำกายมาฝึกหัดปฏิบัติธรรม ..การที่เรานำการมาฝึกหัด ปฏิบัติ มาเดินมายืนมานั่งมานอน จิตมีแค่ภาวนา พุทโธ เดินนิ่งๆ ช้าๆ จิตอยู่กับพระ ด้วยคำว่า ภาวนาพุทโธขึ้น (เราก็ไม่รู้ว่า ภาวนาพุทโธ จิตอยู่กับพระเป็นอย่างไรบ้าง) เราก็ทำขึ้นมา มีอารมณ์นึกคิดอะไรเกิดขึ้น เราไปนั่งนิ่ง กายนิ่ง ..ทำจิตเฉย ..พอมดกัดยุงกัด ..เราก็มีเวทนาเกิดขึ้น เราก็อย่าไปใส่ใจ เอาจิตอยู่กับคำภาวนา เราก็อดทนทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องบ่นทำไป..ทำไปเรื่อย ..อดทนทำไป
..จนวันหนึ่ง จิตเริ่มมีความขันติมากขึ้น ยุงกัดมดกัด กายก็นิ่งเฉยได้ จิตก็เฉยได้ นั่นก็แสดงว่าจิตเริ่มมีกำลัง ..เราก็ทำไปเรื่อยจนช่ำชอง .มดกัดยุงกัด ..มันก็นั่งทนได้ เกิดเป็นขันติ เป็นบารมี พอเกิดคำว่า ขันติเป็นบารมีที่จิต จิตมันก็เข้มแข็งขึ้น มดยุงที่กัด มันก็กัดไป จิตก็ไม่ไปทุกร้อนด้วย บังคับให้กายอยู่นิ่งได้ จิตก็นิ่งได้
..นั่นก็เป็นเรื่องของการฝึดหัด ที่เอามาเปรียบเทียบ ยุงกัดมดกัด ก็เหมืิอนอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่ตัวเรา เมื่อจิตของเราอดทนมันขันติเกิดขึ้น ..อารมณ์โกรธ..ก็เหมือนยุง อารมณ์โกรธเกิดขึ้น เราก็อดทนต่ออารมณ์ได้ ..อดทนเพื่อที่จะปล่อยอารมณ์นั้นไป ..เราอยากพูดเมื่อมีอารมณ์ เราปิดปากของเราเงียบ นึกถึงพระ ..เราก็เอาจิตภาวนาพุทโธ ..อดทนอยู่คำพุทโธ พออารมณ์นั้นผ่านไป..ก็เหมือนเราตัดอารมณ์ไปได้ครั้งหนึ่ง ก็เกิดเป็นบารมี
..อารมณ์มาอีกเรากายกระทำอีก ..ทำจนจิตช่ำชอง รู้จักอารมณ์ ปล่อยวางอารมณ์ ..เราก็ฝึกหัด .ไปในคำว่าสร้างบุญกุศลบารมี ที่ต้องอาศัยกายมนุษย์มากระทำ กายสัตว์กายนามธรรมกระทำไม่ได้ อยู่กับทุกข์ก็ทุกข์ทรมานยาวนาน หรือ อยู่กับสุข ก็สุขยาวนาน ..เรื่องราวที่เราจะสลัด ปลดเปลื้องอารมณ์ออกไปนั้น จึ้งต้องนำกายที่อาศัยนั้น มาสร้างให้เกิดเป็นบุญกุศล ทำไปจนเกิดเป็นกายบุญ ถึงตรงนั้นจิตก็ห้อมล้อมด้วยบุญกุศล จิตอยู่ในเรือนก็มีความสุข ..เรื่องทุกข์ร้อน จิตทุรนทุรายกับอารมณ์ ก็น้อยลงไป อารมณ์ก็ไม่ค่อยรบกวนจิต
เรื่องที่คนเราทำพลาด..ผิดพลาดไป ..เราก็ทบทวนว่าผิดพราดไปตอนไหน อารมณ์มันถึงได้ ลุกขึ้นมาย่ำยีเรา ย่ำยีให้จิตของเรามีกรรม ทุกข์ร้อนเกิดขึ้น เนื่องด้วย คำพูดตามอารมณ์คำเดียว ก็เป็นเรื่องใหญ่โต ขนาดฆ่ากันตาย นั่นมันจึงเป็นเรื่องที่ราวต้องฝึกหัด ..เอาอะไรมาฝึกหัด
เราก็เอารอยทั่งสี่ของพระสิทธัตถะมากระทำ .สิ่งที่ท่านกระทำ ก็นำพระจิตของท่านพ้นทุกข์ได้ ..เราก็เอารอยของท่านมาประพฤติ..จิตเราก็จะมีขันติ ..ขันติที่จะทำให้กายสงบ อารมณ์นั้นมาเหมือนคลื่นกระแทกที่เรื่องกาย เราจะรักษาเรือยังไง ไม่ให้ลำเรือนั้นเสียหาย เสียการทรงตัว ไม่ไปหยิบเอาอารมณ์นั้นมาใส่ในลำเรือ เหมือนปล่อยให้น้ำมันเข้ามาในลำเรือ เราควบคุมเรือเพื่อให้เรือนั่นก็คือกายผ่านพ้นอุปสรรค รักษาเรือลำเรือให้เป็นปกติ .นั่นคือต้องใช้สติปัญญาควบคุมเรือลำเรือ คือกายวาจาใจของเรา .
พอคลื่นนั้นจากไป เรื่อก็ลอยอยู่ในน้ำนิ่งคลื่นลมสงบ คลื่นลมที่พัดมาให้เรือโครงเครง เมาคลื่นเมาลม มันก็ไม่มี ..จิตก็มาสู่ดินแดนคลื่นลมสงบ กายสงบจิตสงบ..ไม่มีอารมณ์ ..
โฆษณา