4 ก.พ. 2024 เวลา 01:46 • กีฬา

มาเรียนรู้การฝึก #Plyometrics กันเถอะ

#ตอนที่1 สรีรวิทยาของการฝึก Plyometrics
1️⃣ Plyometrics มาจากคำ 2 คำ คือ
1.1 Plyo หมายถึง เพิ่มขึ้น
1.2 metric หมายถึง การวัด
ดังนั้น Plyometrics จะหมายถึง ทำให้สมรรถภาพที่ถูกวัดเพิ่มขึ้น
2️⃣ การสร้างแรงที่เกี่ยวข้องกับการฝึก Plyometrics จะต้องอาศัยกลไกต่างๆ ดังนี้
2.1 Contractile component หรือ Active component
- ได้แก่ actin และ myosin
- ยิ่ง actin กับ myosin จับตัวกันมากเท่าไร แรงที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งสูงเท่านั้น
2.2 Mechanical
- เป็นการนำ elastic component เช่น tendon / fascia มาช่วยในการสร้างแรง
- ยิ่งถูกยืดมาก ความสามารถในการสร้างแรงก็จะยิ่งสูง
2.3 Neurophysiological
- ได้แก่ stretch reflex
- เมื่อ muscle spindles ในกล้ามเนื้อถูกยืด ก็จะส่งสัญญาณประสาทไปที่ไขสันหลัง หลังจากนั้นก็จะส่งสัญญาณกลับมากระตุ้นกล้ามเนื้อมัดนั้นให้เกิดการหดตัว
- ยิ่ง muscle spindles ถูกกระตุ้นมากเท่าไร แรงหรือสัญญาณประสาทที่จะทำให้กล้ามเนื้อหดตัวก็จะยิ่งมากเท่านั้น
3️⃣ ระยะต่างๆ ของการฝึก Plyometrics เรียกว่า “Stretch Shortening Cycle (SSC)” โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
3.1 ระยะที่ 1 Eccentric phase
- เป็นระยะที่กล้ามเนื้อ เอ็น และพังผืดจะถูกยืด ทำให้เกิดการสะสมพลังงาน และเกิดการกระตุ้น muscle spindles
3.2 ระยะที่ 2 Amortization phase
- เป็นระยะที่เชื่อมต่อระหว่าง Eccentric และ Concentric phase
- เป็นระยะที่มีการส่งสัญญาณประสาท
- จะไม่ยืดหรือหยุดเป็นเวลานาน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ 15 มิลลิวินาที (ms)
- ยิ่งระยะนี้สั้นเท่าไร จะยิ่งสร้างแรงในระยะที่ 3 มากขึ้นเท่านั้น
3.3 ระยะที่ 3 Concentric phase
- เป็นระยะที่กล้ามเนื้อหดตัว
📚 สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก #คอร์สออนไลน์ ทาง #วิทยาศาสตร์การกีฬา สำหรับนักฟุตบอล ในหัวข้อ "การฝึก Plyometrics สำหรับนักฟุตบอล" โดยมีรายละเอียดตามลิงก์นี้นะครับ ⏩️ http://bit.ly/3SsCdsZ
👉 กายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การกีฬาโดย @Sahavate Institute
👉 Facebook group: @กายภาพบำบัด และวิทยาศาสตร์การกีฬา โดย Sahavate Institute
👉 Line OpenChat: https://bit.ly/3jQG5Eb
ที่มา: โครงการออกแบบโปรแกรมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสำหรับนักกีฬา (Plyometrics training program design for athletes) โดย @Sports Science Mahidol University
โฆษณา