Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvestWay
•
ติดตาม
21 ก.พ. 2024 เวลา 23:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นกลับมาแข็งค่าได้ยาก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สกุลเงินเงินเยนของญี่ปุ่นเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก และอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ
บทความนี้เลยจะมาลองสำรวจและวิเคราะห์หาสาเหตุกันว่า มีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และทำไมค่าเงินเยนถึงได้กลับมาแข็งค่าขึ้นได้ยาก
โดยเริ่มจากปัจจัยภายนอกอย่างอัตราดอกเบี้นนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเมื่อธนาคารกลางมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้นนโยบาย ค่าเงินของประเทศนั้นๆจะมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น
เนื่องจากเมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งจะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุน นักลงทุนจะเทขายสินทรัพย์อย่างพันธบัตรรัฐบาลในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า
และเนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีขนาดใหญ่และมีมูลค่าตลาดมากที่สุดในโลก
การเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล จึงส่งผลต่อการไหลเวียนหรือการเคลื่อนย้ายของเงินทุนโดยตรง
ตัวอย่างเช่น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ของสหรัฐฯอยู่ที่ 4.181% แต่อัตราผตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.704%
ในกรณีนี้จะเกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุนบางส่วนออกจากตลาดพันธบัตรญี่ปุ่นมาที่สหรัฐฯ
ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการลงทุนในสินทรัพย์ของสหรัฐฯ แะทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือเป็นสกุลเงินหลักของโลกแข็งค่าขึ้น
ในขณะเดียวกันเมื่อความต้องการสกุลเงินเยนของญี่ปุ่นลดลง เงินเยนจึงอ่อนค่าลงนั่นเอง
หลังจากสำรวจปัจจัยสำคัญภายนอกไปแล้ว เรามาต่อกันที่ปัจจัยภายในประเทศกัน
โดยอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้สกุลเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
นั่นก็คือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายหรือสิ่งที่เรียกว่า "Yield Curve Control"
ญี่ปุ่นนั้นมีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาเป็นเวลานานหลายปี ตั้งแต่สมัยที่ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ)
โดยนโยบายดังกล่าวเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับทีต่ำ
ซึ่งที่พวกเขาต้องกระทำเช่นนั้นก็เพื่อช่วยให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนถูกลง เกิดการไหลเวียนของเงิน เพิ่มการใช้จ่ายของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
และมุ่งหวังกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้หลุดออกจากภาวะเงินฝืดภายในประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน
ด้วยการดำเนินนโยบายคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับที่ต่ำบวกกับส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯและญี่ปุ่น จึงเป็นผลให้สกุลเงินเยนอ่อนค่าลง
แต่ถ้าหากการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับที่ต่ำ เป็นต้นเหตุให้สกุลเงินเยนอ่อนค่าแล้วทำไมพวกเขาถึงไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงกัน?
เพราะหากญี่ปุ่นมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ก็จะเบาบางลง
แต่ธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BOJ) กลับเลือกให้วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาสกุลเงินเยนอ่อนค่า
สิ่งที่ทำให้ธนาคารกลางของญี่ปุ่นตัดสินใจทำเช่นนี้ นั่นก็เพราะว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีหนี้สินท่วมนั่นเอง
ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของพวกเขา รวมถึงผลกระทบด้านโครงสร้างประชากรของประเทศญี่ปุ่นเองด้วบ
อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำในขณะเดียวกันก็จะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นตกต่ำลงด้วยเช่นกัน
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าที่ญี่ปุ่นดำเนินนโยบาย Yield Curve Control ก็เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้หลุดออกจากภาวะเงินฝืด เพราะฉะนั้นแม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นจะตกต่ำลง แต่หากจะกระตุ้นเศรษฐกิจพวกเขาก็จำเป็นต้องดำเนินนโยบาย Yield Curve Control นี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม Yield Curve Control นั้นเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นใช้เพื่อควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวให้ต่ำ ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับที่ต่ำ
แต่เมื่ออัตราผลตอบแทนตกต่ำลง การเทขายพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นจะเกิดขึ้น และหากปล่อยให้เกิดการเทขายพันธบัตรรัฐบาลต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ราคาพันธบัตรก็จะลดลง และเมื่อราคาพันธบัตรลดลง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นจะกลับมาดีดตัวสูงขึ้นอีกครั้ง
เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพและความเชื่อมั่นทางการเงิน รวมถึงป้องกันไม่ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นกลับมาดีดตัวสูงขึ้น และยังสามารถดำเนิน Yield Curve Control เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปได้
ธนาคารกลางญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องค่อยเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ถูกเทขายจากนักลงทุนในตลาดอยู่เรื่อยๆ
ซึ่งกระทำนี้เองได้กลายมาเป็นรายจ่ายเพิ่มเติมให้กับธนาคารกลางของญี่ปุ่น
อีกทั้งการกระทำนี้ในอีกบริบท ก็เปรียบเสมือนการเพิ่มสภาพคล่องหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการจ่ายเงินออกไปเพื่อค่อยรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ถูกเทขายอยู่เรื่อยๆ
ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ บวกกับต้นทุนการกู้ยืมเงินที่ถูกจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำของญี่ปุ่น กระตุ้นให้เกิดการสร้างหนี้ใหม่ในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ด้วยโครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นที่เป็นสังคมผู้สูงอายุ เมื่ออายุขัยเพิ่มขึ้นและอัตราการเกิดลดลง ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมและเงินบำนาญเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยสำคัญภายในประเทศทั้งสอง อย่างการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่าง Yield Curve Control และปัญหาด้านโครงสร้างประชากร
ทำให้เกิดหนี้สินจำนวนมากทั้งหนี้สาธารณะและหนี้สินภาคเอกชน โดยในปี 2023 หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 220.6% ต่อ GDP และหนี้ภาคเอกชนอยู่ที่ 121% ต่อ GDP
หนี้จำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ญี่ปุ่นมีโครงสร้างทางการเงินที่เปราะบาง และมีความเสี่ยงสูงอย่างมากหากญี่ปุ่นมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
หากหลายๆคนนึกภาพไม่ออกว่ามันมีความเสี่ยงอย่างไร ให้ลองนึกภาพตามดูว่าในช่วงตลอดหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารพานิชณ์ในญี่ปุ่นได้ปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไปมากเท่าไหร่แล้ว
ซึ่งจากข้อมูลของ World Bank ในปี 2022 มูลค่าสินเชื่อในประเทศของภาคเอกชนที่ปล่อยโดยธนาคารในญี่ปุ่นก็สูงถึง 122.5% ของ GDP แล้ว
แล้วจะเกิดขึ้นอะไรขึ้น หากพวกเขาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่อนค่าของสกุลเงินเยน แน่นอนว่าหนีไม่พ้นภาระทางการเงินของญี่ปุ่นปริมาณมหาศาลที่จะเกิดขึ้น หากว่ามีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้น
ด้วยปัจจัยภายนอกอย่างส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นไม่สามารถควมคุมได้ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุนออกจากญี่ปุ่น ทำให้ความต้องการสกุลเงินเยนของญี่ปุ่นลดน้อยลง
และด้วยปัจจัยภายในประเทศอย่างนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย Yield Curve Control และโครงสร้างประชากร จึงทำให้ธนาคารกลางและรัฐบาลของญี่ปุ่นมีภาระและรายจ่ายเพิ่มขึ้น รวมถึงภาระหนี้ของภาคเอกชน เป็นผลให้ญี่ปุ่นมีหนี้สินท่วมประเทศจำนวนมหาศาล
ซึ่งเป็นผลทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงได้ เนื่องจากมีโครงสร้างหนี้ที่เปราะบาง และความเสี่ยงทางการเงินที่สูง
และเมื่อความต้องการของสกุลเงินเยนลดน้อยลง ประกอบกับปัจจัยที่จะทำให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้นอย่างการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สกุลเงินเยนของญี่ปุ่นจึงได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
และจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมค่าเงินเยนของญี่ปุ่นถึงได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และทำไมถึงกลับมาแข็งค่าได้ยากนั่นเอง
บทความนี้เป็นเพียงแค่การยกข้อมูลปัจจัยบางส่วนมานำเสนอเท่านั้น จริงๆแล้วปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการแข็งค่าหรืออ่อนค่าของสกุลเงินยังมีอีกมากมาย เพื่อนๆ หรือนักลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ด้วยตนเอง
References:
https://tradingeconomics.com/japan/domestic-credit-to-private-sector-by-banks-percent-of-gdp-wb-data.html
https://www.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield
https://www.worldgovernmentbonds.com/bond-historical-data/japan/10-years/#:~:text=The%20Japan%2010%20Years%20Government%20Bond%20has%20a,negative%20spread%20is%20marked%20by%20a%20green%20circle
.
https://www.linkedin.com/pulse/why-japan-most-indebted-country-world-gregorio-punzano/
https://tradingeconomics.com/japan/central-bank-balance-sheet
https://tradingeconomics.com/japan/gdp
การลงทุน
การเงิน
เศรษฐกิจ
4 บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
INVESTING NEWS AND ECONOMY SERIES by InvestWay
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย