23 ก.พ. เวลา 02:00 • สุขภาพ

วัยทำงาน อายุ 19-60 ปี ควรไปตรวจสุขภาพอะไรบ้าง

แม้ว่า เราอายุยังน้อย รู้สึกแข็งแรงดี ไม่มีอาการผิดปกติ และไม่มีโรคประจำตัว แต่เราควรตรวจสุขภาพ ทำไมถึงควรตรวจนะหรือ ก็เป็นเพราะว่า โรคบางโรค เราอาจมีความเสี่ยง หรืออาจเป็นแต่ยังไม่แสดงอาการ ตัวอย่างเช่น โรคไขมันโคเลสเตอรอลสูงในเลือด โดยปกติจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ถ้าไขมันสูงนานวันเข้า ผ่านไป 10 ปี 20 ปี สุดท้ายอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ
แล้วคนอายุ 19-60 ปี วัยทำงาน ควรตรวจอะไรบ้าง
จาก แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน ปี 2565 จัดทำโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีข้อแนะนำการตรวจสุขภาพดังนี้
ตรวจร่างกาย
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อประเมินดัชนีมวลกาย
- วัดรอบเอง เพื่อประเมินภาวะอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการเมตาบอลิก (รอบเอวปกติคือ ถ้าเป็นผู้ชาย ต้องไม่เกิน 90 เซนติเมตร ถ้าเป็นผู้หญิง ต้องไม่เกิน 80 เซนติเมตร การวัดรอบเอว)
- วัดความดันโลหิต เพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจการได้ยิน เพื่อคัดกรองการได้ยิน (หมอใช้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือถูกันใกล้หู ถ้าได้ยินสองข้าง คือ ปกติ)
- ตรวจตา เพื่อคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติ ถ้าอายุ 40-60 ปี ควรตรวจอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองภาวะต้อหิน สายตาพิการ
- ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ปีละ 1 ครั้ง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อคัดกรองภาวะโลหิตจาง ตรวจอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงอายุนี้ หรือมีข้อบ่งชี้อื่น ๆ
- ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FPG) เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน อายุ 35 ปีขึ้นไป ตรวจทุด ๆ 3 ปี
- ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด (total cholesterol, HDL, LDL, TG) เพื่อคัดกรองปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ปี
ตรวจคัดกรองมะเร็ง
- การตรวจเต้านม เพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม อายุ 30-39 ปี ตรวจทุก ๆ 3 ปี อายุมากกว่า 40 ปี ตรวจทุกปี
- การตรวจ Pap smear คัดกรองมะเร็งปากมดลูก อายุ 30-65 ปี ตรวจทุก ๆ 3 ปี พิจารณาหยุดตรวจหลัง 65 ปี ถ้าผลตรวจปกติ 3 ครั้งติด
- ตรวจหาเลือดในอุจจาระ (FOBT) เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง อายุ 50 ปีขึ้นไปตรวจทุก 1 ปี และพิจารณาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ถ้าทำได้
- ถ้าเกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 พิจารณาตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) เพื่อคัดกรองปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ
อย่ารอให้ป่วยก่อนแล้วค่อยตรวจรักษา เพราะว่ามันอาจสายเกินแก้
***รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถไปอ่านได้จาก link เอกสารอ้างอิง
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา