25 ก.พ. เวลา 13:27 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ตอนที่ 12 ยุคทองของปารีส

ถือเป็นช่วงเวลาที่นำพาฝรั่งเศสกลับไปยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในแง่มุมของเศรษฐกิจ สวัสดิการ เพราะยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมน คนที่เป็นชนชั้นแรงงาน ชนชั้นล่างและคนชั้นกลางต่างก็เรียกร้อง เรื่องของสวัสดิการมากขึ้น แตกต่างไปจากยุคก่อนหน้านั้น นอกจากนี้ยังได้ตระหนักถึงระบบการศึกษาให้กับพลเมืองอีกด้วย
หลุยส์ นโปเลียน ถือได้ว่าก่อกำเนิดรัฐสมัยใหม่ให้กับฝรั่งเศสก็ไม่ผิดนัก เรื่องของสวัสดิการ การสร้างระบบการศึกษาแบบภาคบังคับให้คนฝรั่งเศสอ่านออกเขียนได้ นอกจากนี้ยังดำเนินนโยบายในการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสการล่าอาณานิคมซึ่งนโยบายนี้มันหายไปตั้งแต่ยุคลุงของเขา จักรพรรดินโปเลียน
ในมุมเศรษฐกิจแล้ว ต้องบอกว่าเขาคือผู้ที่มาก่อนกาล เพราะในอดีตรัฐไม่เคยต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเลย เพราะเป็นเรื่องของตัวเอกชนกันเอง แต่ว่า หลุยส์ นโปเลียน คนนี้หรือประธานาธิบดีนโปเลียน เลือกที่จะใช้งบประมาณรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเขาตั้งใจที่จะให้ฝรั่งเศสเป็นชาติชั้นนำ จึงสร้างอู่ต่อเรือใหม่ และได้สร้างเรือเครื่องจักรไอน้ำที่ล้ำยุค พร้อมทั้งขยายทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง
มันมีความหมายว่า ฝรั่งเศสจะมีการจ้างงานจำนวนมหาศาล เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปทำงานในโปรเจกต์ต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย พร้อมกันนั้นก็คือการเติบโตของชนชั้นนายทุน และนายธนาคารของฝรั่งเศสด้วย ซึ่งไม่เพียงแค่นั้น เขายังมีการวางแผนในการสร้างปารีสสมัยใหม่ให้ทันสมัยแบบลอนดอนของอังกฤษ
สำหรับคนที่รู้เรื่องสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของฝรั่งเศสเป็นอย่างดี ย่อมต้องตื่นตาตื่นใจกับตึกหรืออาคารที่มีกรอบหน้าต่างแบบทรงสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นมายาวนานแล้ว แต่จะได้เกิดขึ้นอีกจากประธานาธิบดีที่มีชื่อว่า “หลุยส์ นโปเลียน”
อาคารแบบนีโอคลาสสิก
หลุยส์ นโปเลียน ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสได้เดินหน้าในการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสอย่างต่อเนือง เช่น เข้าไปให้การสนับสนุนการรวมชาติของอิตาลี ขยายผลเข้าไปยังพื้นที่ที่ตัวเขาเคยไปลี้ภัยและฝึกทักษะทางการทหาร โดยประกาศตัวเองว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามออสเตรียฮังการี ที่เป็นคู่สงครามกับอิตาลี และต้องการที่จะแย่งชิงเวนิสไปจากอิตาลี
นอกจากนี้ ตัวเขาเองยังแสดงบทบาททางการเมือง โดยเข้าไปมีส่วนปกป้องวาติกันให้เป็นอิสระจากกระบวนการรวมชาติของอิตาลีด้วย ทีนี้ ประเด็นเป็นแบบนี้คือ ด้วยความที่รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐที่2 ของฝรั่งเศส ระบุเอาไว้ว่า ประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 1 วาระ (4ปี) นั่นหมายความว่า วาระของเขาจบสิ้นลงในปี ค.ศ. 1852 เพราะเข้ามาในปี ค.ศ. 1848 หลังจากที่ครองอำนาจได้ 3ปี เขาตระหนักดีว่า คะแนนความนิยมในตัวเขามีเยอะมาก แต่ไม่สามารถเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้ แต่ถ้าลงสมัครเลือกตั้งอีกผิดรัฐธรรมนูญ
ผู้คนมาชุมนุมเรียกร้องเกี่ยวกับการรวมชาติและประเด็นต่างๆ
เขาจึงเลือกวิธีใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจของตัวเอง โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม คือ ฌาคส์ เลอรอย เดอ แซงต์อาร์โนด์ (Jacques Leroy de Saint-Arnaud) เป็นผู้ดำเนินการ ระดมกำลังพลทั้งหมด 30,000 นาย ควบคุมสถานการณ์ในปารีส แน่นอน ว่ามีการต่อต้าน มีผู้ประท้วงเสียชีวิต 400 คน
หนึ่งในผู้ร่วมการต่อต้านในครั้งนี้และเป็นผู้รอดชีวิต ก็คือนักเขียนชื่อดัง วิกตอร์ อูว์โก( Victor Hugo) การรัฐประหารในครั้งนี้ คือการยุติบทบาทของสภานิติบัญญัติเพื่อที่จะเตรียมการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้วาระของประธานาธิบดีจากเดิม 4 ปีเป็น 10 ปีและต่อได้โดยไม่มีขีดจำกัด
วิกตอร์ อูว์โก( Victor Hugo) และ ฌาคส์ เลอรอย เดอ แซงต์อาร์โนด์ (Jacques Leroy de Saint-Arnaud)
วิธีการสร้างความชอบธรรมของเขา ไม่ได้เข้ามาเปลี่ยนเลยทันที เขาสร้างความชอบธรรมด้วยการทำประชามติถามประชาชนก่อน เพราะเขารู้ว่าคะแนนนิยมเขาสูงอยู่แล้ว ฝรั่งเศส ณ เวลานั้นมีคนมีสิทธิเลือกตั้ง 10 ล้านคน มีคนไปใช้สิทธิ์ในประชามติครั้งนั้นกว่า 8 ล้านคน คำถามคือเห็นด้วยกับการทำรัฐประหารของเขาหรือไม่ คนคือจากประมาณ 8 ล้านคน มี 7.5 ล้านคน ที่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารของเขา มีแค่ 600,000 คนเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย
รัฐธรรมนูญไม่มีการกำหนดกรอบการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีอีกต่อไปแล้ว เริ่มต้นบังคับใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ.1852 แน่นอนว่าฝ่ายที่เห็นต่างกับหลุยส์ นโปเลียน มองว่ามันคือการทำประชามติที่สกปรกและมีข้อกังขาเยอะแยะมากมาย ณ เวลานั้น เขาได้สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี และเป็นเจ้าชายด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะมีสายเลือดของโปนาปาร์ค ซึ่งมีฐานันดรดั้งเดิมทั้งสองทาง
หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
ผลในการทำประชามติทำให้เขามีความชอบธรรมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครองอำนาจต่อไป แต่เขาไม่หยุดแค่นั้น 1 ปีต่อมา พฤศจิกายนในปี ค.ศ.1852 เขาทำประชามติอีกครั้ง ถามประชาชนว่าต้องการเปลี่ยนฝรั่งเศส จากสาธารณรัฐเป็นจักรวรรดิหรือไม่ คำตอบคือ 90% ของผู้มีสิทธิลงประชามติตอบว่าต้องการให้ฝรั่งเศสกลับไปเป็นจักรวรรดิ ส่วนที่ว่าการนับคะแนนโปร่งใสหรือเปล่า อันนี้ไม่มีใครทราบได้
แต่เอาเป็นว่า 2 ธันวาคม คือวันสิ้นสุดสาธารณรัฐที่ 2 ของฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐที่มีอายุสั้นที่สุดแค่ 4 ปีเท่านั้น สู่จักรวรรดิที่ 2 ของฝรั่งเศสภายใต้จักรพรรดิซึ่งสถาปนาตัวเองเป็น นโปเลียนที่ 3 สำหรับประธานาธิบดีหลุยส์นโปเลียนแห่งสาธารณรัฐที่ 2 ตอนนี้ก็กลายมาเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสแล้ว เหมือนชีวิตของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 จะมีสีสันไม่แพ้ลุงของเขาเลย
ภาพเหตุการณ์ คณะราชทูตสยามในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓
หลังจากการทำประชามติ นโปเลียนที่ 3 ครองอำนาจต่อมาอีกทั้งหมด 18 ปี นักประวัติศาสตร์แบ่งช่วงแห่งการครองอำนาจ 18 ปีนี้ของนโปเลียน ออกมาเป็น 2 ยุค ยุคที่ 1 ค.ศ.1852 คือปีแห่งการสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ต่อมาอีก 8 ปี ถึงปี ค.ศ.1860 และช่วงที่ 2 คือ ค.ศ.1861 ถึง ค.ศ.1870
ช่วงต้นรัชสมัยของนโปเลียนที่ 3 สิ่งที่เขาประกาศเอาไว้ตอนที่เป็นประธานาธิบดี เขานั้นพูดจริงทำจริง ไม่ใช่แค่หาเสียงก็ คือการที่จะต้องมีการขยายการลงทุนมหาศาลเพื่อการสร้างงานให้คนฝรั่งเศสมีงานทำ อย่างแรก เครือข่ายรถไฟจากเดิมฝรั่งเศสมีเส้นทางน้อยมาก 3500 กิโลเมตรเทียบกับอังกฤษที่มีเส้นทางรถไฟแล้ว 10,000 กิโลเมตร ทั้งที่อังกฤษ เป็นสัดส่วน 60% ของพื้นที่ฝรั่งเศสเท่านั้นเอง นโปเลียนที่ 3 ขยายทางรถไฟมาเป็น 20,000 กิโลเมตรเลย จนสิ้นสุดรัชสมัย
ธนาคาร โซซิเอเต้ เจเนเรล(ฝรั่งเศส: Société Générale S.A.)
การพัฒนาเมืองปารีส นั้นถือได้ว่าเป็นอภิมหาโปรเจคเลย เพราะว่ามันเป็นงานที่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ฝรั่งเศส ณ เวลานั้นรวยแค่ไหน คำตอบคือไม่รวย แต่นโปเลียนใช้วิธีการกู้เงิน มาลงทุนออกหุ้นกู้ เอาเงินมาหมุนเศรษฐกิจ สร้างงานให้กับคนฝรั่งเศส ยุคนี้ ก็คือยุคที่ธนาคารต่างๆของฝรั่งเศส
เริ่มต้นเกิดขึ้นในยุคเวลาดังกล่าว จะพบว่าธนาคารที่ยังคงมีชื่อเสียงโด่งดังในเวลานี้อย่าง โซซิเอเต้ เจเนเรล(ฝรั่งเศส: Société Générale S.A.) ก็เกิดขึ้นมาในยุคนี้ และภาคส่วนธนาคารทำหน้าที่ในการระดมทุน ขายพันธบัตรรัฐบาลของฝรั่งเศส เพื่อที่เอาเงินให้นโปเลียนที่ 3 เข้ามาลงทุนภาครัฐฯ หลายคนอาจเกิดคำถามทำไมต้องเอาเงินจำนวนมหาศาลไปพัฒนาเมืองปารีส เมืองก็สวยมากอยู่แล้วดั่งเทพสร้างเลย
ทำไมจะต้องไปทำอะไรใหม่ด้วย คำตอบคือภาพที่เราเห็น ภาพที่ปารีสสวยๆสะอาด เกิดขึ้นในยุคนี้ ยุคนโปเลียนที่ 3 ตรงกับประเทศไทยคือสมัยรัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 ของรัตนโกสินทร์ ก็มองย้อนกลับไป ปารีสมีสภาพเป็นมหานครที่เก่ามาก ทรุดโทรมมาก อาคารส่วนใหญ่มาจากยุคกลาง ความสกปรกมหาศาล เชื้อโรคหมักหมม ไม่มีสุขอนามัย
ฌอร์ฌ-เออแฌน เอ็วสม็อง(Georges-Eugène Haussmann)
นโปเลียนที่ 3 ครั้งหนึ่งเคยไปลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษรับอิทธิพลจากอังกฤษมาเยอะมากอยากเอาแบบลอนดอน เป็นเมืองที่มีอาคารสวยงาม มีถนนกว้างใหญ่มีสวนสาธารณะ จึงได้แต่งตั้งให้ผู้อำนวยการเขตบริหารแซน ที่มีชื่อ ฌอร์ฌ-เออแฌน เอ็วสม็อง(Georges-Eugène Haussmann) มาเป็นผู้ควบคุมโปรเจกต์ยักษ์นี้
เริ่มต้นด้วยการขยายเขตรับผิดชอบ ของพื้นที่แซน ที่จากเดิม 12 เขต มาเป็น 26 เขต ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ อาคารที่เป็นแลนด์มาร์คของปารีสทุกวันนี้ เช่น พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ สวนทุยเลอรี สรรพสินค้าห้างแพรงตองค์(Printemps) สิ่งเหล้านี่ ถูกสร้างขึ้นในยุคนี้ทั้งหมดเลย และแน่นอน อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวลหรือว่าถนนสายหรูหราที่อยู่รอบประตูชัยฝรั่งเศสถูกสร้างขึ้นมาก่อนก็จริง
ภาพเขตของปารีสทั้ง 26 เขต และสรรพสินค้าห้างแพรงตองค์(Printemps)
ตั้งแต่สมัยราชวงศ์บูร์บงและถูกทำให้ทันสมัยมีถนนกว้างสวยงามแบบทุกวันนี้จากโปรเจกต์ของฌอร์ฌ-เออแฌน เอ็วสม็อง ภายใต้การดูแลของนโปเลียนที่ 3 สำหรับประตูชัยฝรั่งเศส (Arc de Triomphe) ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติที่ยิ่งใหญ่แห่งชัยชนะของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในชัยชนะที่สำคัญที่สุด คือชัยชนะยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ และไปสำเร็จในยุคของพระเจ้าชาลส์ฟิลิปก็คือกษัตริย์พลเมือง
ด้วยโปรเจกต์เหล่านี้ มันทำให้คนมีงานทำมากขึ้น มันทำให้ทุนนิยมในฝรั่งเศสเติบโตขึ้น ในมุมหนึ่ง ยุคนี้คือยุคแห่งการเติบโตทุนนิยมฝรั่งเศส คนที่มีแนวความคิดหัวก้าวหน้าที่อยากเห็นความเท่าเทียมไม่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลยคนที่สังเกตอยู่ห่างๆไม่ได้เกี่ยวไม่ข้อง แต่ขอที่จะไปวิจารณ์หน่อย คาร์ล มากซ์(Karl Marx) โจมตีนโยบายของนโปเลียนที่ 3 อย่างเผ็ดร้อน ตลอดเวลาว่าเอาใจนายทุน
อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวลหรือประตูชัยฝรั่งเศส (Arc de Triomphe)
สำหรับนโยบายการต่างประเทศของนโปเลียนที่ 3 มีความเชื่อว่าฝรั่งเศสมีความกระหายความยิ่งใหญ่อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เขาต้องการคือความยิ่งใหญ่ของคนฝรั่งเศสที่หายไปยาวนานมาก หนึ่ง ในก้าวสำคัญของจักรวรรดิที่ 2 แห่งฝรั่งเศสคือการเข้าไปมีบทบาทในการปกป้องจักรวรรดิออตโตมาน จากการขยายอิทธิพลของรัสเซีย ที่ต่อมาบานปลายกลายเป็นสงครามไครเมีย ค.ศ.1853 - 1856 ที่จบลง
โดยฝ่ายพันธมิตรออตโตมานที่มีฝรั่งเศสและอังกฤษเป็นพันธมิตร ชัยชนะในครั้งนั้นเป็นการแสดงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสในเวทีการเมืองโลกอีกครั้ง ไม่เพียงแต่แค่นั้น อิทธิพลฝรั่งเศสในยุคนั้นทำให้อียิปต์ ซึ่ง ณ เวลานั้นเป็นรัฐบริวารของออตโตมาน เกรงใจฝรั่งเศสและยอมให้บริษัทฝรั่งเศสเข้าไปทำโปรเจควิศวกรรมยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อว่าโปรเจคคลองสุเอซ
ภาพโปรเจคคลองสุเอซ
จำเป็นต้องมีการตีทะลุคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ขุดเจาะตั้งแต่ตอนใต้ของเมดิเตอร์เรเนียน สร้างท่าเรือพอร์ตซาอิด ขุดคลองยาว 193.3 กิโลเมตรลงสู่ทะเลแดงและเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย
สิ่งนี้เป็นการเหยียบจมูกบริติชเอ็มไพร์ที่ครอบครองเส้นทางการค้า(Trade toutes) จากยุโรปสู่มหาสมุทรอินเดียด้วยการอ้อมแอฟริกา แต่เดิมต้องอ้อมแอฟริกาพอมีเส้นทางนี้เปิดเส้นทางการค้าใหม่ประหยัดเวลาไป 8900 กิโลเมตรและฝรั่งเศสจึงเป็นเจ้าแห่งเส้นทางการค้าใหม่ จากเมดิเตอร์เรเนียนสู่พอร์ตซาอิดสู่คลองสุเอซและลงมหาสมุทรอินเดีย โดยที่ไม่ต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮปอีกต่อไป
พิธีเปิดคลองสุเอซ วันที่ 17 พฤศจิกายนปี ค.ศ.1869 นั้นนอกจากเจ้าบ้านก็คือ เจ้าชายมูฮัมหมัด อาลี แห่งอียิปต์ ยังมีสมเด็จพระจักรพรรดินียูเจนี(Eugenia) ชายาของนโปเลียนที่ 3 เสด็จแทนพระองค์ร่วมเปิดโปรเจกต์สะเทือนโลกนี้ด้วยก่อนที่จะไปต่อ
เส้นทางการเดินเรือ ค.ศ.1750
การบริหารคะแนนนิยมของจักรพรรดินโปเลียนซึ่งต้องบอกว่าแตกต่างจากกษัตริย์ฝรั่งเศสในยุคเดิมที่เน้นการเสวยสุข คือพระองค์ ออกรบด้วยพระองค์เอง สมรภูมิแห่งการรวมชาติอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีความสำคัญเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของฝรั่งเศส เพราะว่าเป็นผู้ที่ดับความอหังการ์ของจักรวรรดิออสเตรียฮังการี ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ได้ด้วยพระองค์
ในเวลานั้นร่วมกันกับ กามิลโล เบนโซ (Camillo Benso Cote di Cabvour) จูเซปเป การีบัลดี(giuseppe garibaldi)ในการรบที่สมรภูมิออสเตรีย ถึงแม้พระองค์เองจะไม่ได้ทรงพระปรีชาทางด้านการรบเหมือนลุง ก็คือจักรพรรดินโปเลียนที่ หนึ่ง
กามิลโล เบนโซ (Camillo Benso Cote di Cabvour)และ จูเซปเป การีบัลดี(giuseppe garibaldi)
แต่ก็สร้างคะแนนนิยมได้ว่าพระองค์คือจักรวรรดิผู้สร้างฝรั่งเศสให้ใหญ่โตและเป็นผู้ที่ออกร่วมรบในแนวหน้าเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองทัพของจักรวรรดิฝรั่งเศส นอกจากนี้การเดินหน้าล่าอาณานิคม เช่น แอลจีเรีย โคชินจีน หรือว่าตอนใต้ของเวียดนามและการยึดเวียดนามได้ทั้งประเทศก็เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ก็คือนโปเลียนที่ 3 ดูแล้วทุกอย่างมันดูสมบูรณ์แบบมากเหมือนชีวิตบนกลีบกุหลาบ
แต่ในทางการเมืองแล้วพระองค์คือเผด็จการ กำจัดศัตรูทางการเมือง กดดันชนชั้นล่าง ที่จะก้าวขึ้นมาท้าทายกลุ่มทุนและสังคมฝรั่งเศสใช้นโยบายควบคุมสื่อแบบเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด ถึงแม้ว่าพระองค์ จะเป็นจักรพรรดิในรูปแบบราชาธิปไตยแต่แตกต่างไปจากยุคอื่น พระองค์ทรงสัมผัสได้ถึงแรงกดดันของประชาชนและต้องบริหารคะแนนนิยมของตัวเองเพื่อลดแรงกดดันกับพระองค์เองโดยตลอด
รัฐสภาแห่งปารีส
และด้วยเหตุนี้ ในต้นทศวรรษที่ 60 พระองค์ต้องยอมเสียสละพระราชอำนาจบางส่วนให้สภา ซึ่งถือได้ว่าหมดบทบาทไปนานแล้ว เข้ามาตรวจสอบได้และนักประวัติศาสตร์ จึงระบุบอกว่ายุคแห่งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 จึงแบ่งออกเป็น 2 ยุค ยุคที่ 1 ค.ศ.1852 ถึง 1860 และยุคที่ 2 คือยุคที่พระองค์จำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เอง ด้วยการมอบอำนาจให้สภาเพื่อบริหารคะแนนนิยมของพระองค์เองในฝรั่งเศสระหว่างการครองราชย์ 8 ปีแรก
ฝรั่งเศสคือมหาอำนาจที่ไร้การคุกคามบนพื้นที่ยุโรป ออสเตรียเล็กเกินกว่าที่จะทำอะไรกับฝรั่งเศสได้ อังกฤษเองใส่ใจกับการเมืองและการล่าอาณานิคมไม่ใส่ใจการเมืองบนภาคพื้นยุโรป แต่แล้วฝรั่งเศสเองถูกคุกคามด้วยชาติที่กำลังจะเกิดใหม่ทางตะวันออกของตนเอง รัฐที่พูดภาษาเยอรมัน มีทั้งหมด 39 รัฐ หลังจากการแตกสลายลงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กลุ่มคนพวกนี้เริ่มต้นมีแนวคิดการรวมชาติของคนชาติพันธุ์เดียวกันพูดภาษาเดียวกัน
การก่อตัวรัฐชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเลยภายใต้ความทะเยอทะยานของรัฐที่มีแสนยานุภาพสูงสุดนั่นก็คือ ปรัสเซีย ซึ่งเริ่มต้นแสดงท่าทีไม่น่าไว้วางใจพวกเขาขยายขนาดของกองทัพและแสดงท่าทีว่า พวกเขาต้องการรวมชาติเยอรมัน เป็น หนึ่งเดียว หากว่ามันเกิดขึ้นจริงมันย่อมกระทบเสถียรภาพของจักรวรรดิฝรั่งเศสอย่างแน่นอน ผู้ที่เป็นผู้นำกระบวนการรวมชาติเยอรมันในครั้งนั้นคืออดีตเอกอัครราชทูตปรัสเซียที่ปารีส
อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค(Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) เจ้าของประโยคที่ว่า ปัญหาการรวมชาติเยอรมนี ไม่ใช้หลักการเสียงส่วนใหญ่ แต่ด้วยเลือดและเหล็ก
แน่นอนอยู่ปารีสก็ต้องมีความคุ้นเคยกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ไม่น้อยและพบกันในหลายวาระ อดีตเอกอัคราชฑูตที่กลายมาเป็นเสนาบอดีของรัสเซีย คนนี้มีนามว่าอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค(Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen)
เยอรมันที่เคยเป็นรัฐเล็กๆพวกเขาใช้วิธีการอะไรในการร่วมชาติฝรั่งเศสเข้ามามีปฏิสัมพันธ์จนนำไปสู่สงครามฝรั่งเศสปรัสเซียในปี 1871 และทำให้จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิเยอรมัน ได้เข้ามาประกาศเริ่มต้นจักรวรรดิเยอรมัน ถึงพระราชวังแวร์ซาย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา