9 มี.ค. เวลา 08:44 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศส

ตอนที่ 13 สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

ฝรั่งเศสกำลังจะถูกคุกคามด้วยชาติที่เกิดใหม่ทางตะวันตก หลังการแตกสลายลงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้เริ่มต้นมีแนวคิดการรวมตัวของคนชาติพันธ์เดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน คือภาษาเยอรมัน มีทั้งหมด 39 รัฐ และรัฐที่มีความต้องการรวมชาติเยอรมันเป็นหนึ่งเดียว แสดงท่าทีออกมาอย่างเต็มที่ มีความทะเยอทะยาน
รวมทั้งมีแสนยานุภาพทางทหารที่สูงสุดในบรรดา 39 รัฐนั้น นั่นคือ“ปรัสเซีย” หากว่ามันเกิดขึ้นจริง ย่อมกระทบต่อเสถียรภาพของจักรวรรดิฝรั่งเศสอย่างแน่นอน ผู้ที่เป็นผู้นำกระบวนการรวมชาติเยอรมันในครั้งนั้นก็คืออดีตเอกอัครราชทูตปรัสเซียประจำกรุงปารีส
แผนที่ทวีปยุโรปตอนกลางราวปี  ค.ศ.1820 แสดงอาณาเขตของราชอาณาจักรปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) จักรวรรดิออสเตรีย (สีเหลือง) และบรรดารัฐเยอรมันอิสระ (สีเทา) โดยเส้นสีแดงคือเส้นเขตแดนของสมาพันธรัฐเยอรมัน; ทั้งปรัสเซียและออสเตรียปกครองดินแดนที่อยู่นอกสหพันธรัฐ
แน่นอนอยู่ปารีสก็ต้องมีความคุ้นเคยกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ไม่น้อยและพบกันในหลายวาระ อดีตเอกอัคราชฑูตที่กลายมาเป็นเสนาบอดีของรัสเซีย คนนี้มีนามว่าอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค(Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen)
เยอรมันที่เคยเป็นรัฐเล็กๆพวกเขาใช้วิธีการอะไรในการร่วมชาติฝรั่งเศสเข้ามามีปฏิสัมพันธ์จนนำไปสู่สงครามฝรั่งเศสปรัสเซียในปี 1871 และทำให้จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิเยอรมัน ได้เข้ามาประกาศเริ่มต้นจักรวรรดิเยอรมัน ถึงพระราชวังแวร์ซาย
เมื่อเราหันไปทางขวาหรือว่าตะวันออกของฝรั่งเศส รัฐเยอรมันที่ทรงแสนยานุภาพมากที่สุดเคลื่อนไหวอย่างดุดันและน่ากลัว ถ้าเกิดว่าพวกเขาเดินหน้าเหมือนอิตาลีด้วยการรวมชาติสำเร็จแล้วเสถียรภาพของฝรั่งเศสที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นอย่างไร
เรามาไล่เรียงกัน ว่าวิวัฒนาการการก่อนการเกิดชาติเยอรมันรวมถึงสุนทรพจน์บันลือโลก เลือดและเหล็ก โดยเสนาบดี อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (เยอรมัน: Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) นั้นสำคัญอย่างไร และมานำไปสู่สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (อังกฤษ: Franco-Prussian War) รวมถึงจุดจบของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 อย่างไร
อย่างที่เคยกล่าวกันว่า ดินแดนที่ปัจจุบันนี้คือ ”ประเทศเยอรมัน“ นั้น ในอดีตชาติที่แล้วคือ “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานร่วมนับพันปี แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ หนึ่ง ได้กรีฑาทัพเข้ามาทำสงครามในยุโรป ซึ่งขณะนั้นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รวมตัวกันแบบหลวมๆของรัฐต่างๆที่พูดคุยกันด้วยภาษาเยอรมัน
ราชอาณาจักรปรัสเซียภายในสมาพันธรัฐเยอรมัน ค.ศ.1815
ต้องขอบอกว่า ออสเตรียเป็นจักรวรรดิแยกต่างหากออกไป อยู่ภายใต้ราชวงศ์ฮับสบวร์ก และไม่ได้อยู่ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่ง ณ เวลานั้นได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว และกลายมาเป็นสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ หลังจบสิ้นสงครามนโปเลียน
ด้วยข้อตกลงการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) รัฐที่พูดภาษาเยอรมันทั้ง 39 รัฐ ต่างคนต่างอยู่โดยมีรัฐที่พูดภาษาเยอรมันอยู่ทางตอนใต้ คือ ออสเตรีย
ปี ค.ศ.1848 ในรัชสมัยของพระเจ้าวิลเฮมที่1 เป็นปีที่ยุโรปนั้นมีการปฏิวัติอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม รัฐเยอรมันรวมถึงปรัสเซียซึ่งเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดและมีแสนยานุภาพมากที่สุดก็ไม่แตกต่างกัน
ปรัสเซียเองก็เผชิญกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มหัวก้าวหน้า ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยซึ่งก็เหมือนๆกับหลายๆประเทศ ที่ใช้วิธีการสลายการชุมนุมในครั้งนั้นด้วยความรุนแรง
อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค หรือมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Kanzler
สิ่งที่เกิดขึ้น มันนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองภายในระดับนึงเลยทีเดียว และกษัตริย์วิลเฮมที่ 1 แห่งปรัสเซียเอง ได้เปิดโอกาสให้สภาผู้แทนราษฎ (abgeordnetenhaus of berlin) เข้ามามีบทบาทควบคู่กับวุฒิสภาของชนชั้นสูง จึงกลายเป็นระบบสภาคู่กันไป ในบริบทนั้นมหาเสนาบดีของปรัสเซียที่มีชื่อ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค หรือมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Kanzler ซึ่งเป็นผู้ที่มีแนวความคิดในการสร้างปรัสเซียให้ยิ่งใหญ่
ตัวเขาเองมีความมุ่งมั่นจริงจังในการรวมรัฐเยอรมันนีทั้ง 39 รัฐเข้าไว้ด้วยกัน เขาได้แสดงจุดยืนที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ในแง่มุมจุดยืนทางการเมือง เขามองว่า “ชาติต้องมีความสำคัญมากกว่าชนชั้น” แปลง่ายๆว่า เขาเป็นฝ่ายขวาจัด เน้นย้ำเรื่องความเป็นชาติ ส่วนเรื่องชนชั้นเอาไว้ทีหลัง สำหรับคนฝ่ายขวาจัดอย่าง อ็อทโท ฟ็อน บิลสมาร์คด้วยแล้ว เขาคิดเสมอว่า“ถ้าคนในชาตินั้นมีแต่การแตกแยกแบ่งออกเป็นชนชั้น จะไม่มีความสามัคคีเกิดขึ้นในชาติได้เลย”
ตรงกันข้ามกับแนวความคิดของฝ่ายซ้ายที่ตัวเขานั้นไม่ชอบคือ เชื่อว่าชาติเป็นข้ออ้างที่ทำให้ชนชั้นกรรมชีพถูกเอาเปรียบโดยชนชั้นสูงนั่นเอง ซึ่งก็เป็นแนวความคิดซ้าย-ขวาที่แตกต่างกัน เยอรมัน ณ เวลานั้นก็เป็น หนึ่ง ในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
สำหรับอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค แสดงจุดยืนชัดเจนเกี่ยวกับการรวมชาติมาโดยตลอด ตัวเขาพูดถึงทิศทางของเขาในฐานะที่เป็นมหาเสนาบดีของปรัสเซียต่อการรวมชาติเอาไว้อย่างชัดเจน ปัญหาของเราในวันนี้จะไม่สามารถถูกแก้ไขด้วยการพูดคุย หรือการใช้มติเสียงส่วนใหญ่
ภาพยุทธการที่ตึปเปิลโดย Jørgen Valentin Sonne ในเหตุการณ์สงครามชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
แต่ด้วย เลือดและเหล็ก จุดเริ่มต้น ของการรวมชาติปรัสเซีย ที่ถือเป็นรัฐทางตอนเหนือในการผนวก 39 รัฐที่พูดภาษาเยอรมันเข้าด้วยกัน ก็คือการจับมือร่วมกันกับออสเตรียซึ่งเป็นรัฐทางตอนใต้เป็นจักรวรรดิทางตอนใต้
ในการทำสงครามที่เล็กมากนั่นคือการประกาศสงครามกับเดนมาร์กซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือในการเข้าไปยึดพื้นที่ที่มีชื่อว่าชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ แน่นอนที่สุด ว่าพันธมิตรระหว่างปรัสเซียทางตอนเหนือกับออสเตรียทางตอนใต้สามารถเอาชนะรัฐเล็กๆอย่างเดนมาร์กได้ไม่ยาก
ในที่สุดปรัสเซียยึดครองพื้นที่ ชเลสวิช ส่วนออสเตรียครอง ฮ็อลชไตน์ แบ่งกันคนละครึ่ง พวกเขาก็รวมตัวกันในการก่อตั้งสมาพันธรัฐเยอรมัน ด้วยการรวมตัวกับรัฐเยอรมันอื่นๆ ที่มีความต้องการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ด้านปรัสเซียเองแสดงท่าทีว่าเป็นพี่ใหญ่และอยู่เหนือออสเตรียที่เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตอนใต้
ชเลสวิก-โฮลชไตน์หลังสงครามเจ็ดสัปดาห์ ค.ศ.1866
แน่นอนว่า แบบนี้ออสเตรียภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับสบวร์กย่อมไม่พอใจสักเท่าไหร่ ต่อมา ในปี ค.ศ.1866 ปรัสเซียได้เบ่งกล้ามใส่ออสเตรียด้วยความที่ บิสมาร์คเองเคยเป็นเอกอัครราชทูตปรัสเซียประจำกรุงปารีส ตัวเขาจึงรู้ธรรมเนียมและวิธีทางการทูต ประกอบกับได้รับสัญญาณจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
1
จะไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากปรัสเซียเกิดมีความขัดแย้งกับออสเตรียด้วย และหากมีการทำสงครามกันขึ้นมา ฝรั่งเศสจะวางท่าทีนิ่งเฉย ไม่ขอเกี่ยวข้อง จึงทำให้ปรัสเซียไปยั่วยุและมีการฟอร์มพันธมิตรกับรัฐเกิดใหม่อย่าง อิตาลีด้วย
ซึ่งถือว่าเป็นเพื่อนบ้านทางตอนใต้ของออสเตรีย โดยสัญญาว่า ถ้าพันธมิตรปรัสเซียและอิตาลีเอาชนะออสเตรียได้ ดินแดนที่อยู่ในการพิพาทอย่างเวเนโต ก็คือเวนิสกับฟรียูลี จะตกเป็นของอิตาลี ปรัสเซียรุกรานออสเตรียจากทางตอนเหนือ อิตาลี รุกรานออสเตรียจากทางตอนใต้
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นเวเนโตและภาพวาดสงคราม ซาโดวา-เคอนิกเกรตซ์ (โบฮีเมีย Sadova-Königretz )
ภายใต้การนำของจักรพรรดิฟรานซ์โจเซฟ (Franz Joseph) ออสเตรียเองไม่มีทางเลือกอื่น จำต้องถูกบีบให้ทำสงคราม และสงครามนี้จบลงอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงแค่ สอง เดือนครึ่งเท่านั้นเอง 13 มิถุนายน ถึง 26 สิงหาคม สมรภูมิสุดท้ายของสงครามนี้คือ สมรภูมิที่มีชื่อว่า ซาโดวา-เคอนิกเกรตซ์ (โบฮีเมีย) และสุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานความแข็งแกร่งของปรัสเซียที่เหนือกว่าได้ในทุกด้าน
สงครามนั้นจบสิ้นลงด้วยชัยชนะของปรัสเซีย ณ เวลานั้น 2 ผู้นำเหล่าทัพซึ่งถือว่าเป็นเสมือนมือซ้ายและมือขวา ของกระบวนการรวมชาติของ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค มีชื่อว่า อัลเบร็ชท์ ฟ็อน โรน (Albrecht Von Roon) และ เฮ็ลมูท คาร์ล แบร์นฮาร์ท ฟ็อน ม็อลท์เคอ (Helmuth Von Moltke ) ทั้ง 2 คน ได้ร่วมกันกับ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค เขาคือบุคคลที่ทรงอิทธิพลมาก็ที่สุดในการรวมชาติของเยอรมันภายใต้ปรัสเซีย
อัลเบร็ชท์ ฟ็อน โรน (Albrecht Von Roon) และ เฮ็ลมูท คาร์ล แบร์นฮาร์ท ฟ็อน ม็อลท์เคอ (Helmuth Von Moltke )
ในเวลานั้น ออสเตรียถูกขับออกจากสมาพันธรัฐเยอรมนี ปรัสเซียได้เริ่มต้นจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ(เยอรมัน: Norddeutscher Bund)กินพื้นที่ ฮันโนเฟอร์ เซติกโฮสไตล์ นัสเซา แฮมป์เชอร์เคนต์และแฟรงก์เฟิร์ต หากมองแผนที่จะพบ ว่ารัฐเยอรมัน 39 รัฐ ในยุคหลังสงครามนโปเลียน ตอนนี้เหลืออยู่เพียงแค่ 5 รัฐเท่านั้น
เพราะรัฐและแว่นแคว้นเล็กๆยอมศิโรราบกับปรัสเซียไปแล้วเหลือเพียงแค่ 4 รัฐเท่านั้นเอง ได้แก่ บาเยิร์น ไฮเดิลแบร์ค เฮ็สเซินและดาร์มชตัทที่ต่อมา ทั้ง 4 รัฐนี้ก็ต้องยอมเข้าร่วมกับปรัสเซียอยู่ดี เพราะถ้าไม่เช่นนั้นพวกเขาจะถูกฝรั่งเศสภายใต้นโปเลียนที่ 3 รุกรานและอาจจะไม่สามารถป้องกันตนเองได้ ในเวลานั้นพวกเขาก็เลยทยอยเข้าร่วมกันกับปรัสเซียในเวลาต่อมา
สิ่งนี้ทำให้ บิสมาร์คเอง มีอำนาจเพิ่มเติมขึ้น กล่าวคือแทนที่จะสามารถเรียกระดมพลเกณฑ์ทหารได้จากปรัสเซียแต่เพียงอย่างเดียว ณ เวลานั้นบิสมาร์คมีอำนาจในการเรียกเกณฑ์ทหารชายทุกคนในรัฐเยอรมันตอนเหนือได้ทั้งหมดแล้ว
รัฐสมาชิกในสมาพันธรัฐเยอรมัน ค.ศ. 1815–1866
ขนาดกองทัพและแสนยานุภาพของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ (Norddeutscher Bund) มีสูงมาก จนสามารถเขย่าเสถียรภาพของยุโรปได้แล้ว เรากลับมาที่ นโปเลียนที่ 3 กันบ้าง ในสถานการณ์เช่นนี้แน่นอน พระองค์ต้องมองเห็นแล้วว่า ถ้าปรัสเซียรวมตัวกันจนได้รัฐเกิดใหม่ที่เรียกกันว่า “เยอรมัน” คงจะต้องกลายเป็นภัยคุกคามต่อฝรั่งเศสอย่างแน่นอน
2 สัญญาณ ที่ทำให้พระองค์นั้น เริ่มต้นที่จะไม่อดทนกับปรัสเซียแล้ว คือการที่ฝรั่งเศสเองในเวลานั้น ต้องการขยายอิทธิพลไปที่ลักเซมเบิร์ก แต่บิสมาร์คได้แสดงท่าทีต่อต้านอย่างชัดเจนซึ่งเป็นสิ่งที่ นโปเลียนที่ 3 และประชาชนชาวฝรั่งเศสเริ่มจะยอมรับไม่ได้อีกต่อไป
อีกหนึ่ง ชนวนที่เกิดขึ้น คือการที่สเปนนั้นเกิดปัญหาไม่สามารถหาองค์รัชทายาทได้จำเป็นต้องมีการทูลเชิญพระเจ้าเลออปอล(Leopold Hohenzollern_Sigmaringen) ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ของปรัสเซียเข้าครองราชบัลลังก์สเปนแทน ซึ่งหากว่าเป็นแบบนั้น ย่อมมีความหมายว่าสายวงศ์ตระกูลของโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น จะสามารถมีอำนาจในการปกครองสเปนด้วย
พระเจ้าเลออปอลแห่งราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น และครอบครัว
ฝรั่งเศสก็จะถูกขนาบข้าง ทางตะวันออกมีเยอรมัน ทางตอนใต้มีสเปน นโปเลียนที่ 3 ไม่พอพระทัย จึงให้กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสโดยเสนาบดิที่มีชื่อว่า อาเจนอร์ เดอ กรามองต์ (Agenor duc de Gramont ) ส่งเอกสารไปยังเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในปรัสเซีย วินเซนต์ เบเนเดตติ(Vincent Benedetti) ให้แจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือว่า“ทรงไม่พอใจ”
วินเซนต์ เบเนเดตติเข้าเฝ้า จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 ที่เมืองปาร์คเอ็ม ที่พระองค์แปรพระราชฐานอยู่ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ.1870 พระองค์จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมัน ที่มีชื่อว่าไฮน์ริช อาเบเคน (Heinrich Abeken) ส่งโทรเลขที่มีชื่อว่า เอ็ม เทเลแกรม(EMS Telegram) ไปยังเสนาบดี บิสมาร์คที่เบอร์ลิน
มาดูกันก่อนว่าใจความของโทรเลขมันคืออะไร ใจความโทรเลขคือกษัตริย์วิลเฮ็ล์มที่ 1 รับสั่งกับบิสมาร์คเสนาบดีว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสแจ้งพระองค์ว่า ทางฝรั่งเศสก็คือ นโปเลียนที่ 3 ไม่พอใจกับการที่เจ้าชายแห่งราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น จะเข้าไปสืบราชบัลลังก์สเปน โทรเลขนี้จริงๆแล้วถูกหมายว่า “จะเป็นการส่งกันภายใน” แต่บิสมาร์คเอง เอาโทรเลขฉบับนี้ไปเปิดเผยให้กับสาธารณชนในวันเดียวกันคือ วันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ.1870
อาเจนอร์ เดอ กรามองต์ (Agenor duc de Gramont ) ,วินเซนต์ เบเนเดตติ(Vincent Benedetti) , ไฮน์ริช อาเบเคน (Heinrich Abeken) ตามลำดับ
ณ เวลานั้น ปรัสเซียกับสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือพร้อมรบอยู่แล้ว สาธารณชนฝรั่งเศสมองว่า การกระจายโทรเลขนี้ให้กับสาธารณชนได้รับรู้ และทำให้คนเยอรมันเกิดความไม่พอใจ คือการประกาศความคุกคาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลย เป็นการท้าทายจากประเทศที่เกิดใหม่ อายุก็ยังน้อยที่ผ่านมา พ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสมาโดยตลอด อย่ากระนั้นเลย เรามาทำสงครามกันเลยดีกว่า นโปเลียนที่ 3 ต้องทำอย่างนั้นแน่นอน
เพราะเป็นความคาดหวังของสาธารณชนฝรั่งเศสที่เชื่อว่า พระองค์ซึ่งเป็นหลานลุงหรือก็คือหลานปิตุลาของนโปเลียนที่ 1 ต้องทำสงครามสั่งสอนพวกมันคือ พวกสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือหรือชาวเยอรมันซะบ้าง ซึ่งนโปเลียนที่ 3 ในเวลานั้น มีอายุ 62 ปีเข้าไปแล้ว และพระองค์เองก็มีอาการประชวรตามวัย
แต่ด้วยพระขัตติยะมานะ ต้องการที่จะรักษาคะแนนนิยมของพระองค์ท่าน ไม่เพียงแต่เตรียมการประกาศสงครามเท่านั้น แต่ได้เตรียมตัวที่จะเดินหน้านำทัพไปยังแนวหน้าด้วยพระองค์เองอีกด้วย เพราะพระองค์รู้ว่า นี่น่าจะเป็นโอกาสในการสร้างคะแนนนิยมให้พระองค์ได้กลับมาแข็งแกร่ง ยิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังจากที่ทรงเป็นผู้นำฝรั่งเศสมาแล้วถึง 22 ปี
นโปเลียนที่ 3 ค.ศ. 1870-1873 ดูอ่อนแอลงเนื่องจากสุขภาพที่ถดถอยอย่างรวดเร็ว
ฝรั่งเศสเองเตรียมระดมพลในวันที่ 15 กรกฎาคม ก็คือ 2 วันหลังจากที่โทรเลขเอ็ม นั้นถูกเผยแพร่ให้กับสาธารณชนเยอรมัน ณ เวลานั้นฝรั่งเศสเอง แค่รอสัญญาจากรัฐสภา แน่นอนว่านักการเมืองในสภาเอกต้องการตอบโจทย์เสียงประชาชนและมีการโหวตเสียงข้างมาก ให้มีการประกาศสงครามกับปรัสเซียในวันที่ 16 กรกฎาคม และมีการเคลื่อนพลเข้าสู่พรมแดนของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือโดยทันที
เมื่อจะพูดถึงสงครามต้องมาดูกันว่า แล้วแสนยานุภาพของฝรั่งเศสเองกับสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือเทียบกันแล้วเป็นอย่างไร ที่ผ่านมานโปเลียนที่ 3 อาจนำพาฝรั่งเศสยิ่งใหญ่ในหลายด้าน แต่ถ้ามาดูแสนยานุภาพ ฝรั่งเศสในเวลานั้นมีพลเมือง 26 ล้านคน มีทหาร 308,500 นาย 140,000 นายประจำการที่แอลจีเรียอิตาลีและเวียดนาม
ในขณะที่สมาพันธรัฐเยอรมันมีพลเมืองร่วมกัน 22 ล้านคน แต่กำลังพลมากกว่าฝรั่งเศส เกือบเท่าตัว 700,000 นาย มากกว่าฝรั่งเศสทั้งโลกรวมกันเกือบ 2 เท่าตัว และทั้งหมดเลย ประจำการอยู่ที่ภาคพื้นยุโรป 2 ปีก่อนหน้านั้นคือปี ค.ศ.1867 นโปเลียนที่ 3 เองเคยมีแนวคิดในการขยายกองทัพเป็น 1,000,000 นาย
แต่ว่ารัฐสภาสายสาธารณรัฐ ปฏิเสธมาโดยตลอด มาร์แชล แรนดอล์ฟ(Marshal Randon) และ เอมิล โอลิเวียร์ (Emile Ollivier) ตั้งคำถามเสมอว่า เราจะมีกองทัพใหญ่โตไปเพื่ออะไร โลกนี้ไม่มีภัยคุกคามแล้ว จะมีอันตรายจากอะไร ฝรั่งเศสจะต้องไปเจอกับภัยคุกคามอะไร
มาร์แชล แรนดอล์ฟ(Marshal Randon) และ เอมิล โอลิเวียร์ (Emile Ollivier)
เป็นความคิดที่มีเหตุผล เพราะว่าหลังจากที่จบสงครามนโปเลียนที่ 1 แล้วเนี่ย ยุโรปเองไม่เคยมีการรบใหญ่อีกเลย การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (อังกฤษ: Congress of Vienna) ในเวลานั้นเป็นเหมือนตัวสร้างสมดุลการเมืองในยุโรป แต่สำหรับประวัติศาสตร์ บางทีเหตุการณ์กลับมาในรูปแบบเดิม แต่ว่าเราต้องยอมรับว่าบางครั้งมันไม่เป็นไปตามสิ่งที่มันเคยเกิดขึ้นมาก่อน ใครจะคิดว่าท้ายที่สุดแล้วเยอรมันสามารถรวมตัวกันได้อย่างเหนียวแน่น
มีแสนยานุภาพที่แข็งแกร่งพวกเขาจากเดิม 39 รัฐ รวมตัวกันได้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ ต้องการประกาศรัฐใหม่นั่นก็คือ รัฐเยอรมนี กองทัพผสมเยอรมันถูกฝึกฝนอย่างเข้มแข็ง ผนวกกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เยอรมันมีในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมพวกเข้าไม่แพ้ใครในทวีปยุโรป
และมองเห็นผลของสงครามครั้งนี้ได้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า พวกเขาต้องเป็นผู้ชนะ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ทรงนำทัพด้วยพระองค์เอง มีจอมพลฟร็องซัว อคีล บาเซน(Francois Bazaine) แล้วก็ ปาทริส เดอ มัก มาอง (Patrice de MacMahon) ที่ต่อมาก็เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสด้วยและนายพลหลุยส์-ฌูล โตรชู (Louis-Jules Trochu) เป็นแกนนำกองทัพ
ฟร็องซัว อคีล บาเซน(Francois Bazaine) และ ปาทริส เดอ มัก มาอง (Patrice de MacMahon),มกุฎราชกุมาร ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นิคโคเลาส์ คาร์ล (Konig prinz Friedrich) ตามลำดับ
ฝ่ายเยอรมันนำโดยอัลเบร็ชท์ ฟ็อน โรน (Albrecht von Roon) และ เฮ็ลมูท ฟ็อน ม็อลท์เคอ (Helmuth Karl Bernhard von Moltke) สองนายทหารเลือดเหล็กแห่งปรัสเซีย โดยมีมกุฎราชกุมาร ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม นิคโคเลาส์ คาร์ล (Konig prinz Friedrich)นำทัพเข้าสู่สมรภูมิแนวหน้าด้วยพระองค์เอง เป็นการแสดงความกล้าหาญของบุคคลที่ในอนาคตจะกลายเป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซีย เอาเป็นว่าสงครามในครั้งนี้จบลงด้วยการใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งปีแค่นั้นเอง
6 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน จาก 19 กรกฏาคม ค.ศ.1970 สู่ 28 มกราคม ค.ศ.1871 สมรภูมิที่ชี้ขาด คือสมรภูมิที่เมืองแม็ส การศึกที่เชอด็อง ทั้ง 2 สมรภูมินี้ประวัติศาสตร์ชี้ว่ามันไม่ใช่สงคราม แต่มันเป็นการสังหารหมู่ โดยฝ่ายเยอรมันเพราะกองทัพฝรั่งเศสมีกำลังพลที่น้อยกว่าอ่อนแอ แตกต่างจากรัสเซียที่มีวิทยาการสูงกว่า ทหารเองได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มแข็งมากกว่า
สมรภูมิสุดท้ายคือสมรภูมิที่เมืองเชอด็องกองทัพ 60,000 นาย ภายใต้การนำของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ถูกล้อมกรอบเอาไว้ คนที่รอดชีวิตถูกจับเป็นเชลยสงครามทั้งหมด รวมถึงจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ด้วย และมันคือฉากสุดท้ายของสงครามฝรั่งเศสกับว่าที่ชาติเกิดใหม่อย่างสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือนำโดยราชอาณาจักรปรัสเซีย
ยุทธการมารส์-ลา-ตูร์, 16 สิงหาคม ค.ศ. 1870กรมทหารราบเบาที่ 9 เลาเอินบวร์คที่กราฟลอตกระสุนปืนนัดสุดท้ายการป้องกันช็องปีญนีการปิดล้อมกรุงปารีสใน ค.ศ. 1870การประกาศสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน วนตามเข็มนาฬิกา
ทางฝั่งปารีสเองจักรพรรดินียูจีนี (Eugenia) พระชายาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 โดยกฎมณเฑียรบาลแล้ว เมื่อกษัตริย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพราะถูกจับตัวเป็นเชลยสงคราม พระนางยูจิเนียจึงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสทันทีพระนางรับทราบข่าวด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นหญิงแกร่ง มีประสบการณ์ทางการเมืองสูง พระองค์รับสั่งถึงเหตุการณ์ที่นโปเลียนที่ 3 ถูกจับตัวเป็นเชลยศึกว่า
ทำไมเขาไม่ฆ่าตัวตายไปเลยรักษาศักดิ์ศรีของฝรั่งเศสเอาไว้ กับยอมโดนจับเป็นตัวประกันสิ่งนี้มันน่าอับอายยิ่งนัก
จักรพรรดินียูจีนี (Eugenia)
ในมุมหนึ่งสิ่งที่พระนางรับสั่งก็ชอบอยู่และอาจเป็นการแสดงความแข็งแกร่งเมื่อต้องรับบทบาทของผู้นำ แต่อีกมุมหนึ่งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 การที่พระองค์นั้นไม่ฆ่าตัวตาย สาเหตุเพราะว่าพระองค์มองว่าเยอรมันเองจะได้มีตัวแทนจากฝั่งฝรั่งเศสในการเข้าไปพูดคุย
จักรพรรดินียูจีนี (Eugenia)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลยพระองค์จะได้เป็นตัวแทนของทหารที่เป็นเชลยศึกของฝรั่งเศสนั้น พูดคุยกับอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ที่ไม่มากก็น้อย ยังคงให้เกียรติพระองค์ในฐานะที่เป็นประมุขของจักรวรรดิฝรั่งเศสและทำให้ปรัสเซียนั้น ตัดสินใจไม่สังหารทหารที่หลงเหลืออยู่อีกประมาณ 60,000 นายของฝรั่งเศสอย่างเหี้ยมโหด
สิ่งที่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 สร้างมาตลอดพระชนม์ชีพก็ถึงจุดจบที่สงครามที่เชอด็อง ปารีสที่พระองค์สร้างเอาไว้อย่างสวยงาม พระองค์เองก็ไม่สามารถที่จะได้ใช้ชีวิตจวบจนจุดจบที่นครที่พระองค์เนรมิตขึ้นมากับมือ พระองค์ทรงสละราชสมบัติ จากนั้นถูกเนรเทศไปกับครอบครัวไปอยู่ที่ลอนดอนสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสเองเริ่มต้นตั้งรัฐบาลใหม่เป็นสาธารณรัฐที่ 3
ภาพวาดของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เจรจากับ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค
มีรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นในเดือนกันยายนของปี ค.ศ.1870 สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือไม่ได้หยุดปฏิบัติการแค่ที่เมืองเชอด็อง แต่รุกคืบเข้าไปที่ปารีสในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1871 สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน (Deutsche Kaiserreiches) ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1870 พวกเขายึดปารีสได้ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1871
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย เสด็จมายังปารีสและรับการสถาปนาเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมัน ที่ห้องกระจก(The Hall of Mirrors) พระราชวังแวร์ซายในกรุงปารีส เยอรมันประกาศสถาปนาจักรวรรดิของพวกเขาที่ปารีสนครหลวงของฝรั่งเศสประเทศที่พวกเขาเพิ่งเอาชนะสงครามมาสดๆร้อนๆ
จากนั้นทัพจักรวรรดิเยอรมันซึ่งเป็นรัฐเกิดใหม่ ปิดล้อมกรุงปารีสด้วยการใช้ปืนใหญ่ 4 กระบอกล้อมเมือง ถัดมาในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1871 ปิดล้อมไม่ให้มีการส่งอาหารเข้าไปยังกรุงปารีส จนกระทั่งในที่สุดรัฐบาลสาธารณรัฐที่ 3 ต้องยอมลงนามยุติสัญญาหยุดยิงในวันที่ 28 มกราคม
พระเจ้าวิลเฮล์มแห่งปรัสเซียประกาศตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ณ พระราชวังแวร์ซายในกรุงปารีส หลังมีชัยในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
ณ เวลานั้นชาวปารีสมีแนวความคิดเกี่ยวกับภาพต่อไปของฝรั่งเศสแตกต่างกันบางคนอยากได้ทางสายกลางที่จะมีประชาธิปไตยเสรี แต่ก็มีคนที่หัวก้าวหน้าที่ต้องการใช้โอกาสนี้เปลี่ยนแปลงฝรั่งเศสให้เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยรัฐบาลเฉพาะกาล ณ เวลานั้น
นำโดยจอมพล ปาทริส เดอ มัก มาอง (Patrice de MacMahon) ต้องการรักษาความสงบทั่วไป ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังควบคุมไม่ได้ ในขณะที่นักเคลื่อนไหวสายสังคมนิยมนำ โดย หลุยส์ ชาร์ลส เดเลสคลูซ(Louis Delescluze) และ ยาโรสลาฟ ดาโบสกี้ (Jaroslaw Dabowski) นำกลุ่มชนชั้นแรงงานที่ต้องการเปลี่ยนสังคมฝรั่งเศสให้เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ลดบทบาทศาสนจักรกำหนดนโยบายโดยภาคประชาชน สิทธิลูกจ้าง คนงาน ในการเป็นเจ้าของกิจการผู้ประกอบการ
เหตุการณ์นี้ระดมผู้คนนับหมื่นเคลื่อนไหวต้องการโค่นล้มสาธารณรัฐที่ 3 ซึ่งเพิ่งตั้งได้ไม่นาน รัฐบาลรักษาการเวลานั้น ต้องใช้กำลังเข้าปิดล้อมและสังหารผู้เคลื่อนไหวเสียชีวิตราว 10,000 ถึง 15,000 คน จนมีชื่อเรียกสถานการณ์ว่า สัปดาห์เลือด (La Semaine Sanglante) และสามารถจับกุมผู้ร่วมขบวนการหลายหมื่นคนเพื่อรักษาสถานการณ์
ภาพวาดของเหตุการณ์สัปดาห์เลือด (La Semaine Sanglante)
สถานการณ์นี้ผู้สังเกตการณ์ชาวเยอรมัน 2 คนคือคาร์มาร์ท (Karl Marx )และฟรีดริช เอ็งเงิลส์ (Friedrich Engels) มองว่ามันก็ต้นแบบของการแสดงออกซึ่งการเป็น เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ พูดง่ายๆเห็นชอบกับกระบวนการนั้น และเชื่อว่ากรรมาชีพทั้งหมดต้องรวมตัวกัน เพื่อที่จะโค่นล้มรัฐบาลกระฎุมพี รัฐบาลของชนชั้นปกครอง
หลังจากนั้น เยอรมันถอนทัพออกจากฝรั่งเศส แต่ว่าผนวกแคว้น อาลซัส-ลอแรน เข้ามากลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน กลายมาเป็นมหาอำนาจบนภาคพื้นยุโรปอย่างเต็มภาคภูมิ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
หลังจากเว้นว่างประชาธิปไตยในช่วงสาธารณรัฐที่ 2 ไปในปี ค.ศ.1851 ตอนนี้พวกเขากลับมามีประชาธิปไตยอีกครั้ง เรียกว่าสาธารณรัฐที่ 3 ในปี ค.ศ.1871 พระเจ้านโปเลียนกลายเป็นพลเมืองที่ต้องลี้ภัยทางการเมือง ไปจากฝรั่งเศสและถึงแก่อสัญกรรมนอกแผ่นดินฝรั่งเศส สาธารณรัฐที่ 3 เองดำรงอยู่ต่อมาถึงปี ค.ศ.1942 อีกประมาณ 70 กว่าปี
ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถูกนาซีเยอรมันรุกรานเข้าปารีสอีกครั้งหนึ่ง และตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดชี้นำ โดยประธานาธิบดีฟีลิป เปแต็ง (Philippe Petain) สิ้นสุดสาธารณรัฐที่ 3 ก่อนจะกลับมาเป็นสาธารณรัฐอีกครั้งหนึ่ง หลังสิ้นสุดสงครามโลกในปี ค.ศ.1945 เรียกว่าสาธารณรัฐที่ 4
ประธานาธิบดีฟีลิป เปแต็ง (Philippe Petain) และ จักรพรรดิไคเซอร์ วิลเฮ็ล์มที่ 2
สำหรับ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยพระจักรพรรดิวิลเล่มที่ หนึ่ง จนสิ้นรัชกาล รัชกาลถัดมาคือไคเซอร์ ฟรีดริชที่ 3 (Kaiser Friedrich 3) ที่พระองค์ครองราชย์เพียงแค่ปีเดียวก็สวรรคตในปี ค.ศ.1888
แต่จักรพรรดิพระองค์ต่อมาคือจักรพรรดิไคเซอร์ วิลเฮ็ล์มที่ 2 ไม่โปรดเสนาบดีเหล็กคนนี้ จึงมีบัญชาให้ปลดออกจากตำแหน่งในปีที่ 3 แห่งรัชกาลของพระองค์ คือในปี ค.ศ.1891 ซึ่งทำให้เขากลับเกษียณอายุและจบชีวิตอย่างสงบในอีก 8 ปีต่อมาในปี ค.ศ.1898 ด้วยวัย 93 ปี ที่ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ตอนเหนือของเยอรมนี
สำหรับจักรพรรดิไคเซอร์ วิลเฮ็ล์มที่ 2 เองก็กลายมาเป็นพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิเยอรมนี เพราะพระองค์ทรงนำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และพ่ายแพ้ต่อทริปเปิล อองตองต์ (Triple Entente ซึ่งประกอบไปด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย) จักรวรรดิเยอรมนีที่เกิดขึ้นมาในปี ค.ศ.1871 จึงสิ้นสุดภายใน 3 รัชกาลในปี ค.ศ.1914 สิริรวมไม่ถึง 40 ปีด้วยซ้ำ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ฝรั่งเศส ตอนที่ 13

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา