Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvestWay
•
ติดตาม
7 มี.ค. เวลา 23:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำความเข้าใจว่าทำไมหากไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ราคาสินทรัพย์อาจจะไม่เติบโต
โดยทั่วไปแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจมักส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ผู้คนสูญเสียงาน ธุรกิจล้มละลาย กำลังบริโภคและราคาสินทรัพย์มักจะปรับตัวลดลง
เป็นความจริงที่เราทุกคนรู้กันดีว่าวิกฤตเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่น่ากลัวและน่ากังวลใจ แต่ในอีกบริบทหนึ่งวิกฤตเศรษฐกิจก็มักจะเป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจขาขึ้นรอบใหม่ด้วยเช่นกัน
บทความนี้จะพาหลายๆคน มาคิดวิเคราะห์และมองในมุมที่ต่างออกไป ว่าทำไมหากไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ราคาสินทรัพย์ต่างๆ อาจจะไม่เติบโตขึ้น
ประโยคที่ว่า หากไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจราคาสินทรัพย์จะไม่เติบโต เป็นแนวคิดในหมู่นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนกลุ่มหนึ่ง
พวกเขาได้ตั้งคำถามกับวิกฤตเศรษฐกิจในหลายๆครั้งที่ผ่านมา และสังเกตเห็นว่าในทุกๆครั้งหลังจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น
ราคาสินทรัพย์ต่างๆ โดยรวมมักจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตหรือราคาสูงกว่าวิกฤตครั้งก่อนหน้าเสมอ และแต่ละวิกฤตก็จะมีตัวแปรที่ค่อยผลักดันราคาสินทรัพย์ต่างกันออกไป
เพื่อทำความเข้าใจและทำให้เห็นภาพแนวคิดนี้มากขึ้น จะขอย้อนไปในปี 2008 ในวิกฤต Subprime ของสหรัฐฯ
โดยวิกฤตครั้งนั้นสาเหตุหลักส่วนใหญ่มาจากการที่ธนาคารในสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้นมีการปล่อยสินเชื่อบ้าน (Mortgage) แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่เรียกว่า "Subprime borrowers" มากจนเกินไป
ประจวบเหมาะกับที่เวลานั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงถึง 5.25%
สินเชื่อบ้านที่มีความเสี่ยงสูงจำนวนมากบวกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูง จึงเป็นเหตุให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้จำนวนมาก จนทำให้หลายธนาคารต้องล้มละลายและปิดตัวลง
ซึ่งสาระของบทความจะอยู่ที่ตรงนี้ เพราะเมื่อระบบเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงวิกฤต ในหลายๆครั้งมันมักจะตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างของระบบการเงินหรือการคลัง เพื่อที่จะช่วยทำให้วิกฤตครั้งนั้นผ่านพ้นไปได้และทำให้ระบบเศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อไปได้
สำหรับวิกฤต Subprime ตัวแปรสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯผ่านวิกฤตครั้งนั้นไปได้ ก็คือ การที่รัฐบาลและธนาคารกลางปล่อยเงินกู้ฉุกเฉินให้กับสถาบันการเงิน รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบการเงินหรือการคลังของสหรัฐฯ
ซึ่งนอกจากจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบการเงินและการคลังของสหรัฐฯแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์อื่นๆของสหรัฐฯด้วยเช่นกัน
นั่นก็เพราะว่า หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินและการคลังในวิกฤต Subprime นั้นกลับผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ในสหรัฐฯ เติบโตขึ้น หลังจากจบวิกฤตเศรษฐกิจ
ทำไมถึงเป็นแบบนั้นเราลองมาดูแผนภูมิต่อไปนี้และคิดวิเคราะห์ตามกัน
●
หนี้สินและเงินทุน รวมถึงเงินฝากกับธนาคารกลาง นอกเหนือจากทุนสำรองของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ
ที่มา Fred.stlouisfed.org
●
สินทรัพย์รวมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (รวมหนี้สินและสินทรัพย์อื่นๆ)
ที่มา Fred.stlouisfed.org
●
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ที่มา Trading Economics
เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาในวิกฤต Subprime ในปี 2008 ทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ จำเป็นต้องใชเงินทุนจำนวนมหาศาลหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ พวกเขาจึงจำเป็นต้องมีการขยายงบดุลของพวกเขา เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ
แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง ก็คือ ช่วยเหลือและฟื้นฟูดังกล่าว ทำให้มีสภาพคล่องหรือเงินทุนจำนวนมหาศาลไหลเข้าระบบการเงิน รวมถึงธนาคารพานิชน์ของสหรัฐฯ และบวกกับการลดอัตราดอกเบี้ยลดจนเข้าใกล้ศูนย์ของธนาคารกลาง
คำถามคือ หากวิกฤต Subprime จบลง ด้วยสภาพคล่องใหม่ปริมาณมหาศาลบวกกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก จะส่งผลต่อระบบเศรฐกิจสหรัฐฯ อย่างไร?
แน่นอนว่าด้วยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำแบบนี้ ต้องทำให้เกิดการกู้ยืมและการปล่อยสินเชื่อใหม่ในภาคธุรกิจและประชาชนอย่างแน่นอน และกระตุ้นในเกิดการสร้าง ผลผลิตทางเศรษฐกิจ (Productivity) ซึ่งจะนำไปสู่อัตราการจ้างงานและรายได้ของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
●
อัตราการจ้างงานของสหรัฐฯ
ที่มา Trading Economics
●
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ
ทั้งต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ รวมถึงการเติบโตของผลผลิตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และกำลังบริโภคของประชาชน ล้วนแล้วแต่เป็นผลดีต่อการสร้างรายได้และทำกำไรของบริษัทต่างๆ ทำให้ผลดำเนินงานออกมาดี ซึ่งท้ายที่สุดผลลัพธ์ต่างๆจะถูกแสดงออกไปทางด้านราคาสินทรัพย์นั่นเอง
หรืออย่างในช่วงวิกฤตโรคระบาด Covid-19 ในปี 2020 ที่กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ได้มีการทำอะไรคล้ายๆกับช่วงวิกฤต Subprime
นั่นก็คือ ลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่องใหม่ปริมาณมหาศาลในระบบการเงินและมาตรการกรระตุ้นเศรษฐกิจมากมาย ซึ่งมากกว่าครั้งวิกฤต Subprime ด้วยซ้ำ
ซึ่งผลลัพธ์หลังจากที่วิกฤตโรคระบาดจบลงก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิกฤต Subprime นั่นก็คือ ราคาสินทรัพย์ต่างๆ มีการปรับตัวสูงขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินและการคลัง
●
NASDAQ INDEX
ที่มา Fred.stlouisfed.org
จะเห็นได้ว่าเพื่อที่จะแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้นในหลายๆครั้งมักจะตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินหรือการคลังเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะทำให้ปริมาณเงินหรือสภาพคล่องในระบบการเงินและเศรษฐกิจสูงขึ้น
แต่เราก็ต้องไม่ลืมกฏพื้นฐานที่ว่า ปริมาณเงินในระบบยิ่งมีมาก เงินก็ยิ่งเฟ้อและด้อยค่าลง เพราะฉะนั้นกองทุนต่างๆรวมถึงนักลงทุนหลายคนจึงมักจะนำเงินที่ด้อยค่าลงทุกวันเหล่านั้น ไปเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์อะไรสักอย่างเพื่อที่จะรักษาความมั่งคั่งของตนเอาไว้ ซึ่งจะผลักดันราคาสินทรัพย์เหล่านั้นให้สูงขึ้น
อย่างเช่น ปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ที่เลือกหุ้นเป็นที่เก็บรักษาความมั่งคั่งของเขา และเป็นหลุมหลบภัยจากการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินและการคลังนั่นเอง
ดังนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวิกฤตเศรษฐกิจแต่ละครั้ง นั้นส่งผลต่อราคาสินทรัพย์อย่างนัยสำคัญ
กลไกต่างๆ เช่น อุปสงค์และอุปทาน ดอกเบี้ย ความเชื่อมั่น ปริมาณเงินใหม่ในระบบ นโยบายการเงินของธนาคารกลาง และนโยบายของรัฐบาล ล้วนมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของราคาสินทรัพย์
อย่างไรก็ดี วิกฤตเศรษฐกิจไม่ได้เป็นตัวแปรหรือเงื่อนไขที่จำเป็น สำหรับการเติบโตของราคาสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว
ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อราคา เช่น สภาพเศรษฐกิจโลก สงคราม เทคโนโลยี และความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงความสามารถของบริษัทต่างๆเองก็ด้วย
และหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้นักลงทุนมือใหม่หลายๆคน เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิกฤตเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ และตัดสินใจในการลงทุนต่อจากนี้ได้ดียิ่งขึ้น
References:
https://tradingeconomics.com/united-states/interest-rate
https://www.investopedia.com/terms/s/subprime.asp
https://fred.stlouisfed.org/series/WTREGEN#
https://www.federalreserve.gov/monetarypolicy/bst_recenttrends.htm
https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
https://www.blockdit.com/posts/6502a4e80648cbc43d832fa8?id=6502a4e80648cbc43d832fa8&series=64674c47614aaa7d47574f36
https://tradingeconomics.com/united-states/gdp
เศรษฐกิจ
การลงทุน
ธุรกิจ
4 บันทึก
4
2
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
INVESTING NEWS AND ECONOMY SERIES by InvestWay
4
4
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย