15 มี.ค. เวลา 14:18 • สุขภาพ

#การใช้ยาเบาหวานในช่วงเดือนรอมฎอน

เมื่อวานจ่ายยาผู้ป่วยท่านหนึ่ง เป็นผู้ป่วยเบาหวาน มีรายการยาเบาหวานรายการนึง คือตัวยา Glipizide ซึ่งแพทย์สั่งจำนวนให้น้อยกว่ายาอื่น สอบถามผู้ป่วยได้ความว่า ผู้ป่วยท่านนี้เป็นชาวมุสลิม ซึ่งอยู่ในช่วงถือศีลอด แพทย์จึงสั่งให้งดก่อน เพราะ เกรงว่า ผู้ป่วยจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงเป็นที่มาของบทความเรื่องเล่าในวันนี้คะ
.
(บทความในวันนี้ คัดลอกข้อมูลส่วนหนึ่งมาจาก แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2566)
.
ความเสี่ยงที่พบ หรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานในช่วงถือศีลอด เพราะ เริ่มรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้หลังพระอาทิตย์ตก โดยปกติ จะรับประทานอาหาร 2 มื้อคือ มื้อเย็นและมื้อก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถ้ามีการปรับขนาดยาไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยได้ เช่น
.
1 ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขั้นรุนแรงได้
.
2 มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากการรับประทานอาหารในเวลาที่เปลี่ยนไป และการรวบมื้ออาหารเหลือเพียง 2 มื้อต่อวัน ในช่วงกลางคืน รวมถึงผู้ป่วยบางส่วนลดจำนวนยาเบาหวานลง เพราะกลัวภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้ผู้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
.
จึงมีตัวอย่างของการปรับยาเบาหวาน ที่ใช้บ่อยๆ มาฝากคะ
• กรณีใช้ยา metformin(เมทฟอร์มิน)
วันละ 1 ครั้ง ให้รับประทานเมื่อพระอาทิตย์ตก หรือ มื้อเย็น
วันละ 2 ครั้ง ให้รับประทานเมื่อพระอาทิตย์ตกและก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
วันละ 3 ครั้ง ให้รับประทานยารวบ 2 มื้อ เช่นทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ให้ทาน 2 เม็ด ตอนพระอาทิตย์ตก และ อีก1 เม็ด มื้อเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
• กรณีใช้ยาในกลุ่ม sulfonylurea
แนะนำให้หลีกเลี่ยง *ยาไกลเป็นคาไมด์* เนื่องจากมีรายงานทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
**ให้ใช้ยาอื่นๆเช่น ไกลพิไซด์ หรือไกลคลาไซด์ แทน
ถ้าเป็นวันละ 1 ครั้ง ให้รับประทาน เมื่อพระอาทิตย์ตก
วันละ 2 ครั้ง ให้รับประทานยา(มื้อเช้า)ในขนาดปกติตอนพระอาทิตย์ตก และลดขนาดยา(มื้อเย็น) ที่รับประทานตอนพระอาทิตย์ขึ้น เป็นครึ่งหนึ่งของที่เคยได้ก่อนถือศีลอด
หรือให้งดทานเลยหากมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เช่น ทาน 2 เม็ด เช้า เย็น ให้ทาน 2 เม็ด ตอนพระอาทิตย์ตก และ 1 เม็ดในมื้อ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เป็นต้น
• กรณียาอื่น ที่ไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สามารถรับประทานได้ตามปกติ โดยเริ่มหลังพระอาทิตย์ตก อย่างเช่น
-ไพโอกลิตาโซน (pioglitazone)
- DPP4 inhibitor (ชื่อลงท้ายด้วย กลิปติน-gliptin) เช่น Sitagliptin ,Vildagliptin , Teneligtin
-SGLT4 inhitor( ชื่อลงท้ายด้วย โฟลซิน -Flozin) เช่น Dapagliflozin,Empagliflozin ถึงแม้เป็นกลุ่มที่ไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้เนื่องจากผู้ถือศีลอดไม่สามารถดื่มน้ำได้ในช่วงกลางวัน นอกจากนี้ผู้ใช้ยากลุ่มนี้ ต้องระวัง การเกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ด้วยคะ
.
🌸สำหรับการใช้อินซูลิน ค่อนข้างมีความซับซ้อน ให้ปรึกษาแพทย์นะคะ
.
เมื่อไหร่ที่ควรยุติการถือศีลอด เพราะจะเป็นอันตรายได้
-เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมติดต่อเดซิลิตร
-ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
-ความเจ็บป่วยที่อาจจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือมีภาวะขาดน้ำ
.
.
สำหรับบทความในวันนี้ ตัดตอนมาแค่ส่วนหนึ่ง หวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย ช่วยกันแชร์ถ้าเห็นว่า มีประโยชน์ หรือถ้ามีคำถามฝากทิ้งไว้ใน comment ได้คะ ขอบคุณค่ะ แล้วเจอกันสัปดาห์หน้านะคะ☺
.
.
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
การดูแลตนเองในเดือนรอมฎอน(ถือศีลอด)บทที่ 8
แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2566 Clinical Practice Guidline for Diabetes 2023
โฆษณา