Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
24 มี.ค. เวลา 05:00 • สุขภาพ
5 สัญญาณผู้สูงอายุเครียดสะสม ที่อาจพัฒนาเป็นโรคจิตเวชได้
ผู้สูงอายุ วัยที่เสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเกิดความเครียด เผยสัญญาณอันตรายที่ต้องรู้ก่อนสายเกินแก้!
ความเครียด (Stress) ภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก ที่ถูกบีบคั้น กดดัน ทำให้มีอาการแสดงที่ต่างกัน เช่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดหัว ซึมเศร้า บางคนอาจมีอาการประสาทหลอนได้ ซึ่งโดยทั่วไปแต่ละคนจะมีวิธีการปรับตัวให้ผ่านพ้นไปได้ขึ้นกับทักษะการจัดการความเครียดของแต่ละบุคคล แต่ในบางคนที่เกิดความเครียดและหาทางระบายออกไม่ได้หรือเครียดบ่อยๆ กลายเป็นความทุกข์ทรมาน จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล
สูงวัยเครียด
โดยอันที่จริงแล้วความเครียดจะเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกช่วงชีวิต แม้จะเกษียณอายุแล้วก็ยังพบว่า ผู้สูงอายุก็ยังเกิดความเครียดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ที่มากระทบ อาทิ การสูญเสียคู่ชีวิต ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น หรือภาวะทางการเงิน ซึ่งมีโอกาสและอัตราฆ่าตัวตายสูงกว่าวัยอื่นๆ
5 สัญญาณผู้สูงอายุเครียดสะสม
●
นิสัยการกินที่เปลี่ยนแปลงไป บางรายอาจจะกินอาหารมากขึ้น หรือบางรายอาจเบื่ออาหารเนื่องมาจากภาวะความเครียดที่เกิดขึ้น
●
อารมณ์แปรปรวนขึ้นลงเร็วผิดปกติจากอาการเครียด ซึ่งอาจแสดงออกด้วยอาการหงุดหงิดเพิ่มมากขึ้น หรือมีภาวะซึมเศร้า
●
หลงๆ ลืมๆ หรือเกิดปัญหาด้านความทรงจำ อาทิ ลืมชื่อคนสถานที่ หรือสิ่งต่างๆ ที่เคยพบเห็นเป็นประจำ รวมถึงขาดสมาธิได้ง่าย หรืออาจอาการหนักจนลามไปถึงการตัดสินใจ เช่น การใช้จ่ายเงินเกินจากงบประมาณที่กำหนดมาก เนื่องจากไม่สามารถตัดสินใจได้
●
อาการเครียดแสดงออกด้วยปัญหาสุขภาพตัว อย่างเช่น การปวดเมื่อยร่างกาย อาการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น รวมถึงปัญหาในการนอนด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าเกิดอาการเครียดอย่างหนักแล้ว
●
การแยกตัวและปฏิเสธการเข้าสังคม หรือแม้กระทั่งไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชื่นชอบมาก่อน
วิธีการคลายเครียด
●
หาสาเหตุที่ทำให้เราเครียด และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น
●
ดูแลผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หรือขยับร่างกายบ้างไม่นอนติดเตียงนะคะ
●
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
●
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
●
พบปะเพื่อนฝูง เพื่อพูดคุยในเรื่องที่สร้างเสียงหัวเราะ และระบายปัญหาต่างๆ (หากเพื่อนรับฟัง)
●
จัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เช่น จัดบ้าน หรือโต๊ะทำงานให้ผ่อนคลาย ปลูกต้นไม้เล็กๆ หรือแจกันดอกไม้สร้างความสดชื่น
●
ชวนดูภาพยนตร์และอ่านหนังสือตลกหรือสนุกสนาน
หากความเครียดรบกวนการใชช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงกระทบต่อการทำงาน หรือมีผลต่อผู้อื่น การพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาและรักษาอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง โดยจิตแพทย์จะทำการรักษาโดย
●
แพทย์พูดคุยซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยทางการแพทย์และหาสาเหตุของความเครียด
●
ในกรณีความเครียดส่งผลทางกาย เช่น นอนไม่หลับ ปวดท้อง หรือปวดศีรษะ จิตแพทย์อาจให้รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ
●
การให้คำปรึกษาโดยจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้วยการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจและหาสาเหตุของปัญหา ชี้แนะอย่างถูกวิธีเพื่อคลายความเครียด
สำหรับคนที่ไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งของตนเองและผู้อื่น ควรพบจิตแพทย์เพื่อรับการปรึกษาและรักษาอย่างถูกวิธี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลสมิติเวช
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
Facebook Video :
https://www.facebook.com/PPTVHD36/videos
Twitter :
https://twitter.com/PPTVHD36
Instagram :
https://www.instagram.com/pptvhd36/
LINE VOOM :
https://pptv36.tv/174l
TikTok :
https://www.tiktok.com/@pptv.thailand
สุขภาพ
ผู้สูงอายุ
เครียด
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย