5 เม.ย. เวลา 22:38 • ธุรกิจ

รู้จัก SPAC วิธีนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ของสตาร์ทอัพในต่างประเทศ

SPAC หรือ Special Purpose Acquisition Company อีกทางเลือกที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ที่ช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีดั้งเดิม
SPAC หรือที่ใครหลายคนชอบเรียกกันว่า "บริษัทเช็คเปล่า" โดยที่ถูกเรียกว่าบริษัทเช็คเปล่า
นั่นก็เพราะว่า SPAC เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยนักลงทุนหรือผู้สนับสนุนที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจเฉพาะ เพื่อมาระดมทุนจากนักลงทุนรายอื่นๆ โดยจะมีการเข้านำบริษัท SPAC ไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รอไว้ก่อน
2
ส่วนเงินที่ได้จากการระดมทุนนั้นจะนำไปใช้ในการควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการอื่นที่ดูมีแววว่าจะเติบโตในอนาคต
2
หรือให้เข้าใจง่ายๆ ก็เปรียบเหมือนว่านักลงทุนให้เงินกับ SPAC เพื่อนำไปหาบริษัทดีๆ และควบรวมเข้ากับบริษัทเหล่านั้น แล้วดันบริษัทนั้นเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
และโดยทั่วไป SPAC จะมีเวลาประมาณ 2 ปี หลังจากการระดุมเสร็จสิ้นลงในการค้นหาบริษัทดีๆ เพื่อเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการ
เมื่อเข้าซื้อหรือควบรวมเสร็จสิ้น ผู้ถือหุ้นบริษัท SPAC จะได้ถือหุ้นในบริษัทที่เข้าควบรวมตามสัดส่วนโครงสร้างใหม่ และหุ้น SPAC ตัวนั้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อของบริษัทที่เข้าควมรวมแทนนั่นเอง
แต่หากในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการให้เสร็จสิ้นได้ SPAC จะมีการคืนเงินให้แก่นักลงทุนและ SPAC ก็จะต้องปิดตัวลง
ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่สตาร์ทอัพ เนื่องจาก SPAC อาจใช้เวลาประมาณสองถึงสามเดือน ในขณะที่กระบวนการ IPO ทั่วไปอาจใช้เวลาตั้งแต่หกเดือนถึงมากกว่าหนึ่งปีในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
อย่างไรก็ตาม หากสนใจที่จะลงทุนในบริษัทที่ใช้วิธีการนี้ในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ก็มีความเสี่ยงอยู่มากมาย
1. การตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลที่ลดลง ตามเวลาในการดำเนินการเพียงไม่กี่เดือน ทำให้อาจมีการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนจาก SPAC ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องแบกรับ
2. บริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ผ่านวิธีนี้ อาจมีมูลค่าที่สูงเกินจริง เพราะว่าผ่านขั้นตอนการตรวจสอบที่น้อยกว่าขั้นตอนดั้งเดิมอย่าง IPO
3. ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผลตอบแทนของนักลงทุนหรือแนวโน้มของบริษัท อาจไม่ได้เป็นไปทำตามที่บริษัทกำหนดไว้ก็ได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา