6 เม.ย. 2024 เวลา 00:01 • ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ย่อโลก บทที่ 1 ฉากที่ 1 ยุคปฐมกาล

คุณอาจจะเชื่อในเรื่องราวในคัมภีร์ทางศาสนา เช่น ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลในภาคพันธสัญญาเดิม ตอนปฐมกาลที่ระบุว่า
“แล้วพระเจ้าตรัสว่า “ให้เราสร้างมนุษย์ขึ้นตามแบบเรา ตามอย่างเรา เพื่อให้เขาครอบครองปลาในทะเล นกในอากาศ สัตว์ใช้งาน สัตว์ป่าทั้งปวงและสัตว์ที่เลื้อยคลาน”-ปฐมกาล 1
แต่กระนั้นก็ตามหากเราสังเกตในความเชื่อของศาสนาต่างๆมากมายที่กระจายไปอยู่ในทุกๆมุมโลก เราจะเห็นบางอย่าง เป็นจุดเล็กๆที่ไม่สละสำคัญอะไร เป็นที่กล่าวอย่างผ่านๆ คือ ในหลายความเชื่อมีการกล่าวถึงการระเบิดครั้งใหญ่และน้ำเสมอ เช่น ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในบางความเชื่อกล่าวว่า มีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ชื่อว่า ปุรุษะ เจ้าสิ่งนี้ระเบิดออกกลายเป็นสิ่งต่างๆมากมาย ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากการระเบิดของมัน หากเราหยุดคิดว่าเป็นเรื่องตำนาน หรือเรื่องราวปรัมปราอย่างว่า
เราจะสังเกตว่าจุดร่วมในส่วนนี้มีบางอย่างที่เป็นเรื่องจริง นั่นคือ การถือกำเนิดของโลกและจักรวาลเกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่ ความจริงนี้ได้ประจักษ์แก่ชาวโลกเมื่อในปี 1927 เมื่อ บาทหลวง ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ ได้เสนอทฤษฎีหนึ่งและทฤษฎีนี้มันถูกตอกย้ำให้มนุษย์ได้เข้าใจมากยิ่งโดยเอ็ดวิน ฮับเบิล ได้ค้นพบการขยายตัวของเอกภพในปี 1929 และเราก็รู้จักในชื่อของ “ทฤษฎีบิ๊กแบง”
เหตุไฉนเล่าเรื่องราวทางศาสนาถึงมีความละหม้ายคล้ายกับเรื่องราวที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ นั่นอาจจะเป็นหนึ่งในความน่าพิศวงของมนุษย์ประการหนึ่งคือ “ความจำ” แต่ความจำนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เรื่องราวถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การเผยแพร่เรื่องราวในอดีตที่จะทำให้ทุกคนเชื่อในสิ่งที่ถ่ายทอดออกมาคือ “ตำนาน” ผู้เขียนอยากชี้ให้เห็นว่า ศาสนาไม่ใช่ความจริงเชิงรูปธรรมหรือเชิงเหตุผลเฉกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ แต่ศาสนาเป็นความจริงในเชิงจริยศาสตร์หรือความจริงในเชิงพฤติกรรมที่ดี
ในยุคแรกเริ่มหรือยุคปฐมกาลหลังการถือกำเนิดของมนุษย์ในทวีปแอฟริกา การถือกำเนิดของมนุษย์ในยุคนั้นไม่ได้สละสำคัญอะไรเหมือนกับครอบครัวขนาดใหญ่ที่เพิ่งจะให้กำเนิดลูกคนกลาง ที่ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกลับเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทรงอำนาจและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ
หลังจากเดินวนเวียนร่อนเร่อยู่ในแอฟริกามาเป็นเวลาอย่างยาวนานมาสักระยะ ราว 70,000 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของมนุษย์ได้แยกออกเป็น 2 กลุ่มขนาดใหญ่ กลุ่มหนึ่งเลือกที่จะมกหมุ่นอยู่กับสถานที่เดิมที่ตนเองอยู่และคุ้นชิน พวกเข้าเลือกที่จะเข้าป่า ท้ายที่สุดพวกเขากลายเป็นบรรพบุรุษของเหล่าลิงทั้งปวง แต่อีกกลุ่มได้เลือกที่จะอพยพโยกย้ายไปยังดินแดนต่างๆและพวกเขาได้กลายเป็น “บรรพบุรุษของมนุษย์ทั้งปวง”
ผู้เขียนมีข้อสังเกตในจุดนี้ว่า การอพยพออกจากแอฟริกาของบรรพบุรุษของมนุษย์นั้น อาจเป็นภาพความทรงจำของมนุษย์ในเชิงศาสนาอันเป็นที่มาของ “การถูกขับไล่ออกจากสวนอีเดนของอดัมและอีฟ” ก็เป็นได้หากเราพิจารณาอะไรบางอย่างโดยตัดเส้นเรื่องหรือการรับรู้ของเวลาออกไป เราจะพบลักษณะที่มีความคล้ายกันคือ เป็นการโยกย้ายจากอีกที่มาอีกที่หนึ่ง ซึ่งคล้ายกับเส้นเรื่องทางประวัติศาสตร์ นั่นคือ การอพยพของมนุษย์ออกจากแอฟริกา
หลักการโยกย้ายออกจากแอฟริกามาสักระยะ หลังการร่รอนในดินแดนต่างๆมาสักพัก เมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว เกิดอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่ทำให้ถือกำเนิด Modern Human นั่นคือ การปฏิวัติเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการที่มนุษย์เริ่มมีการเพาะปลูก ค้นพบเมล็ดพันธุ์พืชที่สามารถเพาะปลูกและบริโภคได้ การปฏิวัติในครั้งนี้ทำให้มนุษย์หยุดที่จะร่อนเร่ไปยังพื้นที่ต่างๆและลงหลักปักฐานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ท้ายที่สุดแล้วในฉากนี้ผู้เขียนอยากจะชี้ให้เห็นถึง 2 ประการ ประการแรกคือ ความจริงในเชิงทฤษฎีหรือข้อเท็จจริงที่ปราศจากสัญญะใดๆ ซึ่งเป็นความจริงที่ว่า มนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานกว่าจะมาเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เราเห็นถึงบางสิ่งที่กิดขึ้นหลังจากมนุษย์นั้นได้กระทำและได้รับมาหลังจากที่ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น บทเรียนแรกของมนุษยชาติ คือ “การเรียนรู้ทำให้เรารู้มากขึ้น”
อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า มนุษย์นั้นมีความกลัวในหลายๆอย่าง แต่ความกลัวที่ทำให้มนุษย์ได้เป็นมนุษย์อย่างทุกวันนี้นั่นคือ “ความกลัวในความไม่รู้ของตนเอง” ซึ่งทำให้มนุษย์ต้องพยายามที่จะหาบางสิ่งบางอย่างมาตอบคำถามในความไม่รู้ของตนเอง ด้วยเหตุนี้มนุษยืที่มีความไม่รู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดจึงพยายามหาความรู้ต่างๆเพื่อมาตอบในในสิ่งตนไม่รู้
สิ่งนี้เองทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้และเกิดเป็นองค์ความรู้ต่างๆที่เกิดจากการถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากคนไม่รู้รุ่นก่อนส่งต่อมาสู่คนที่ไม่รู้ในรุ่นหลัง และคนรุ่นหลังก็พยายามหาความรู้มาตอบคำถามตนเองหรือไขความกระจ่างในคำตอบของคนรุ่นก่อนซึ่งมีข้อน่าสงสัยอยู่ มนุษย์จิงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด
ส่วนประการสุดท้ายคือ เรื่องศาสนา ซึ่งในปัจจุบันเรามักตั้งคำถามกับศาสนาซึ่งมนุษย์ในปัจจุบันมองว่า ศาสนาเป็นเพียงเรื่องเล่า ตำนานที่ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ในการล้างสมองผู้คน ซึ่งในข้อนี้ผู้เขียนอยากจะชี้ให้เห็นว่า หากเราตัดทอนเรื่องเล่า ตำนาน และนิยายต่างๆที่ขับขานให้เราฟังอยู่ออกไป เราจะพบสิ่งที่เป็นแกนกลางของศาสนาซึ่งเราได้มองข้ามไปในหลายๆครั้ง ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่มนุษย์มักจะพึงกระทำและระลึกไว้เสมอคือ “ความรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์และคนในสังคม”
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยมนุษย์ซึ่งกันและกัน ซึ่งการใช้ชีวิตร่วมกันมักจะเป็นปัญหาความความขัดแย้งและปัญหาตามมาเสมอ ด้วยเหตุนี้ศาสนาจึงถือกำเนิดขึ้น ศาสนาเป็นหลักจริยศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการปกครองผู้คนในอดีต และเป็นบรรทัดฐานให้มนุษย์ปฏิบัติอยู่ในกรอบเพื่อให้มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้ หรือที่เราเรียกกันว่า “ศีลธรรมจรรณยา”
ดังนั้นศาสนาเป็นทั้งความจริงและไม่ใช่ความจริงในเวลาเดียวกัน เพราะศาสนาสะท้อนความจริงเพื่อเผยแพร่หลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตที่ถูกที่ควร เป็นความจริงของการใช้ชีวิตหรือความจริงเชิงจริยศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกันศาสนาก็ไม่ใช่ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้หรือเป็นความจริงเชิงประจักษ์เนื่องจากศาสนามุ่งเน้นเรื่องการสั่งสอนเพื่อให้มนุษย์ประพฤติ ปฏิบัติตามเพื่อที่จะทำให้สังคมสงบสุข เพื่อให้ผู้คนเกิดความสำนึกและรับผิดชอบต่อคนในสังคม
ศาสนาจึงต้องผูกเรื่องราวทั้งสวรรค์ นรก ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวต่อการทำบาปและมุ่งเน้นต่อการทำความดีงามเพื่อความสุขของตน ศาสนาจึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องพิสูจน์หาความจริง เพราะความจริงที่ศาสนาต้องการเผยให้เห็นความ “ศีลธรรมที่ดีงามเพื่อสังคมที่สงบสุข”
โฆษณา