11 เม.ย. 2024 เวลา 11:09 • สิ่งแวดล้อม

TSUNAMI

[#Tsunami] [#สึนามิ] หรือคลื่นยักษ์ซัดชายฝั่ง เป็นภัยคุกคามขนาดหญ่ต่อเมืองชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมักมีประชากรหนาแน่น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดหากเกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ
มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกจะสูงขึ้นมากสูงสุดได้ถึง 2.3 เมตรภายในปี ค.ศ. 2100 นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2050 ที่อยู่อาศัยของประชากรโลกมากกว่า 1 พันล้านคนในโซนชายฝั่งทะเลและพื้นที่ราบต่ำจะกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการประสบภัยสึนามิ
กรณีแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปี ค.ศ. 2004 ก่อให้เกิดรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 2.3 แสนราย ใน 14 ประเทศ สร้างความสูญเสียคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การศึกษาในภายหลังประเมินว่าหากมีเหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้นหนึ่งครั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจทันที 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากมิติทางเศรษฐกิจ สึนามิยังส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน สุขภาพ และสุขภาวะของผู้คน ทำให้ผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน เผชิญกับภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะทือนขวัญ เป็นต้น ปัจจุบัน 38% ของผู้ผ่านเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นปี ค.ศ. 2011 ยังคงต้องเข้ารับการบำบัดรักษาโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะทือนขวัญ
การออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันความเสี่ยงจากสึนามิ เช่น การสร้างพื้นที่สงวนชีวมณฑลหรือพื้นที่กันชน การกำหนดกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยงจากสึนามิ (Tsunami risk reduction: TDRR) ในบันดาอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบเปิดเพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติ ‘Urban Hazard Studio’ โดย FutureTales LAB by MQDC เป็นต้น
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- การพัฒนาระบบเตือนภัยทันท่วงทีเพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินกลายเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการออกแบบเมือง
- การออกแบบพื้นที่หลบภัยธรรมชาติและทรัพยากรสำหรับเอาชีวิตเพื่อความช่วยเหลือกลายเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ในอนาคต
- วิชาการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อ้างอิงข้อมูลจาก: IPCC, World Bank, PLOS One, Journal of Affective Disorders, UNDRR
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com และ https://www.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FuturePossible #WellBeingOdyssey #FuturesofHealthandWellness #MQDC
โฆษณา