13 พ.ค. 2024 เวลา 02:00 • ธุรกิจ

ลาตรวจครรภ์ใช้ลาคลอดหรือลาป่วย

คำถามซ้ำคำตอบเดิม เพิ่มเติมรือจำนนวนคนถาม จริงๆถ้าเราใส่ใจสักนิดนึงเสิชหาในเพจนี้จะง่ายและได้คำตอบไวกว่ารอแอดมินตอบอีกค่ะ
แต่ก็เข้าใจแหละว่าโพสต์เก่าเก่ามันอาจจะดันไปข้างล่างข้างล่างแล้วคนที่ถามก็อาจจะไม่รู้วิธีค้นหา วันนี้ได้เอามาใช้อีกรอบหนึ่งกับคำถามเดิมว่า “ ลาไปตรวจครรภ์ใช้ลาคลอดหรือลาป่วย
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 41 บัญญัติว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อการคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วัน วันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรานี้ ให้หมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย...
จากบทบัญญัติของกฎหมายทำให้สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจนว่าเมื่อลูกจ้างหญิงซึ่งมีครรภ์ต้องการลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร ลูกจ้างสามารถใช้วันลาคลอดเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้ โดยกฎหมายถือว่าการลาเพื่อตรวจครรภ์คือการลาคลอดเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ประเด็นคำถามนี้อาจเป็นที่สงสัยแก่ลูกจ้างในช่วงก่อนหน้านี้เนื่องจากก่อนหน้านี้ กฎหมายแรงงานได้กำหนดให้ลูกจ้างเป็นหญิงมีครรภ์ลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน และไม่ได้กล่าวถึงการลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรเอาไว้เลย ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติว่า สรุปแล้วลูกจ้างต้องใช้วันลาอะไรกันแน่ ลากิจ? ลาป่วย? หรือลาคลอด?
ทำให้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ราซกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ฉบับที่แก้ไขใหม่ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พ.ค. 2562 โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลาคลอดเอาไว้ คือเปลี่ยนแปลงจำนวนวันลาคลอดจาก 90 วัน เป็น 98 วัน และเพิ่มข้อความในวรรคสอง เพื่อให้การลาคลอดบุตรหมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วยนั่นเอง สำหรับนายจ้างท่านใดที่ยังไม่ทราบ อย่าลืมปรับปรุงระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ด้วยนะคะ
และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ inbox
#มนุษย์เงินเดือน #พนักงานบริษัท #ออฟฟิศ #hr
โฆษณา