Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Easy Finance
•
ติดตาม
16 พ.ค. 2024 เวลา 17:00 • ธุรกิจ
เก็บเงินให้มากขึ้นด้วยการลดหย่อนภาษี
การลดหย่อนภาษีเป็นที่บ้างคนที่ทำงานมาเกือบเป็นปีหรือทำงานมานานหลายปีแล้ว ก็อาจไม่รู้เรื่องลดหย่อนภาษีได้ เพราะทุกคนทำงานหาเช้ากินค่ำหรือบ้างคนทำงานเดือนชนเดือนของแต่ละเดือน และในโรงเรียนที่ทุกคนได้อยู่นั้นสอนเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีน้อยมากจนเราไม่รู้เรื่องการลดหย่อนภาษีเลยด้วยซ้ำ ว่าการลดหย่อนภาษีมีหลากหลายประเภท และมันทำให้ทุกคนมีเงินเก็บมากขึ้นได้
การลดหย่อนภาษีหรือค่าลดหย่อนภาษี คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
ของคุณรูปภาพจากThai PBS
ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้
1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง
2. เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ
หักค่าใช้จ่ายด้วยค่าเป็น 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
หากมีรายได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท
รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
หักค่าใช่จ่ายค่าเป็น 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามความเป็นจริง
4. ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ
ไม่มีการหักค่าใช่จ่ายใดๆ
5. รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
- บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ
- ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร
- ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร
- ยานพาหนะ
- ทรัพย์สินอื่น
ตามความเป็นจริงหรืออัตราเหมาตามลำดับ
30%
20%
15%
30%
10%
6. วิชาชีพอิสระ
- ประกอบโรคศิลปะ
- กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม
ตามความเป็นจริงหรืออัตราเหมาตามลำดับ
60%
30%
7. รับเหมาก่อสร้าง
ตามความเป็นจริงหรืออัตราเหมา 60%
8. รายได้อื่น นอกเหนือจาก 1-7
ตามความเป็นจริงหรืออัตราเหมา 40% และ 60%
ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560
ขอบคุณรูปภาพจากSMEMOVE
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
สำหรับค่าลดหย่อนส่วนตัวนั้น ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวได้ปีละ 60,000 บาท โดยสามารถใช้สิทธิได้ทันทีทั้งการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566 ด้วยการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ซึ่งหากยื่นภาษีทางออนไลน์จะมีรายการลดหย่อนส่วนตัวให้โดยอัตโนมัติ
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส ใช้สิทธิลดหย่อนได้ 60,000 บาท
ในกรณีที่ใช้สิทธิลดหย่อนคู่สมรสใช้ลดหย่อนได้สูงสุด 1 คน และต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้ หรือว่ามีรายได้ในปีนั้น ๆ เช่น หากยื่นภาษีในปี 2567 นี้ ก็เท่ากับว่าในปี 2566 ที่ผ่านมา จะต้องไม่มีเงินได้เลย เป็นต้น ส่วนกรณีที่มีเงินได้ทั้งคู่ สามารถยื่นภาษีรวมกันแล้วใช้สิทธิลดหย่อนในหมวดหมู่นี้ได้
3. ค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย คนละ 30,000 บาท
ในกรณีที่ต้องการใช้ค่าลดหย่อนบุตร สามารถใช้สิทธิได้คนละ 30,000 บาท ส่วนถ้ามีบุตรคนที่ 2 โดยนับตั้งแต่ที่เกิดในปี 2561 เป็นต้นไป สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 3 คน และต้องมีชีวิตอยู่เท่านั้น ซึ่งกรณีนี้บุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี ส่วนบุตรที่มีอายุตั้งแต่ 21 – 25 ปี จะต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป และบุตรจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ยกเว้นกรณีที่ได้รับเงินปันผล
4.ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
บุตรที่เลี้ยงดูแลพ่อแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยต้องเป็นพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือก็คือเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง นอกจากนี้ พ่อแม่จะต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ส่วนกรณีที่มีพี่น้องที่มีเงินได้แล้วต้องการใช้สิทธิลดหย่อน จะต้องมีการพูดคุยกันอย่างชัดเจนว่าใครจะใช้สิทธิตรงนี้ เพราะว่าตามกฎหมายให้ใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำกันได้ ส่วนใครที่ใช้สิทธิลดหย่อนบิดามารดา จะต้องทำหนังสือรับรองการหักค่าลดหย่อน หรือ ลย.03 ประกอบกัน
5. ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ใช้สิทธิได้คนละ 60,000 บาท
หากเป็นผู้อุปการะหรือว่าผู้ดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ
60,000 บาท
หากเป็นผู้อุปการะหรือว่าผู้ดูแลผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท แต่เงื่อนไขคือ จะต้องมีหลักฐานในการยื่นประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น บัตรประจำตัวผู้พิการหรือว่าใบรับรองแพทย์ และใบ ลย.04
6. ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ในกรณีที่มีการฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง โดยไม่เกิน 60,000 บาท ซึ่งกรณีที่ยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายแล้วให้เป็นของภรรยา แต่ถ้ากรณีที่
ภรรยาไม่มีเงินได้สามีจึงจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตรงนี้แทนได้ ซึ่งจะต้องยื่นควบคู่กับใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์
7. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน
ประกันสุขภาพ ไม่เกิน 25,000 บาท
ประกันชีวิตทั่วไป + สะสมทรัพย์ รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสังคม 9,000 บาท
ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไม่เกิน 15,000 บาท
กองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ 30% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้ 30% ไม่เกิน 200,000 บาท และหากรวมกับกองทุนอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ข้อมูลอ้างอิง
https://smemove.com/blog/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-2567/
https://www.rd.go.th/556.html
https://www.thaipbs.or.th/news/content/333593
https://www.fwd.co.th/th/article/wealth/5-ways-to-reduce-taxes-for-working-people/
ยิ่งลดหย่อนภาษีได้มาก ก็มีเงินใช้ได้มาก
Easy Finance
การเงิน
ธุรกิจ
การลงทุน
1 บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พื้นฐานเรื่องการเงิน
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย