Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Easy Finance
•
ติดตาม
14 พ.ค. เวลา 17:00 • ธุรกิจ
ทำไมเราถึงเสียเงินให้รัฐบาลเยอะ
ผู้อ่านทุกคนน่าจะรู้อยู่แล้วว่าภาษีมันไม่ได้มีแค่ภาษีอากร ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษียังมีอีกหลากหลายประเภทที่ผู้อ่านอาจยังไม่รู้ วันนี้ทาง Easy Finance จะมาบอกถึงประเภทของภาษีที่อาจไม่รู้จักหรือรู้จักกันอยู่แล้ว และภาษีแต่ละประเภทก็จะคิดคำนวณเปอร์เซนต์แตกต่างกันไป
โดยภาษีจะแบบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
ได้แก่ ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม
●
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากกการประกอบอาชีพ โดยมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
●
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ได้จากกการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ ของประชาชนหรือที่เรารู้จักกันว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม”
ประเภทภาษีอากร
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีจะจัดเก็บจากประชาชนผู้มีเงินได้ทั่วไป ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยปรกติจะจัดเก็บเป็นปี ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีเงินได้ประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลตามที่กฎหมายภาษี (ประมวลรัษฎากร) กำหนดหน้าที่ไว้ให้
VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม คือการจัดเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ จะถูกเรียกเก็บจากผู้ขายสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของสินค้า 7 % ซึ่งโดยปกติแล้ว VAT มีอัตราภาษีที่ 7% แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ตามกฎหมายกำหนดไว้ที่ 10%
แต่ที่ผ่านมา ประเทศไทยออกกฎหมายลดการเก็บภาษี ให้เหลือ 7% แค่ชั่วคราวแบบปีต่อปี
ภาษีธุรกิจเฉพาะ หมายถึง ภาษีที่เก็บจากกิจการบางประเภท ตามที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษ โดยเป็นภาษีที่ถูกแยกออกมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งทางกรมสรรพากรจะเป็นผู้จัดเก็บภาษีดังกล่าวนี้ ทั้งในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยผู้ที่มีหน้าที่จ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายในวันที่ 30 นับตั้งแต่วันที่เริ่มกิจการ ด้วยการยื่นแบบคำขอ ภ.ธ.01
อากรแสตมป์เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่สรรพากรจัดเก็บจากการทำสัญญา / ตราสาร ต่างๆซึ่งออกเป็นทั้งหมด 28 ประเภทที่ทางสรรพากรเรียกเก็บ หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจะมีผลคือไม่สามารถใช้สัญญา หรือตราสารนั้นเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้
ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้พึงประเมิน คำนี้ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ ในใจ ว่าใครจะมาประเมินอะไรเรา แต่ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย มันคือ เงินได้หรือรายได้ที่เราต้องเอามาเสียภาษีนั่นเองครับ (ในบางมุม เงินได้อาจจะหมายถึง สิ่งที่ทำให้เรารวยขึ้น) ซึ่งกฎหมายภาษีอย่างประมวลรัษฏากรได้ให้ความหมายของเงินได้นี้ไว้ 5 อย่าง คือ
1.
เงิน ซึ่งหมายความรวมถึงทุกอย่างที่ใช้แทนเงินได้
2.
ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น รางวัลต่างๆ
3.
ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น สิ่งที่ไ้ด้รับเพิ่มจากการทำงาน
4.
เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5.
เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด (หมายถึง เครดิตภาษีเงินปันผล
รู้จักเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท
นอกจากนิยามแล้ว กฎหมายยังแบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ตามการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน ซึ่งบางคนอาจจะคุ้นเคยในชื่อมาตรา 40(1) – (8) แห่งประมวลรัษฏากร ดังนี้ครับ
เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ มาตรา 40(1) คือ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน โบนัส ต่างๆ
เงินได้ประเภทที่ 2 หรือ มาตรา 40(2) คือ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า งานที่รับจ้างทำตามสัญญาจ้างเป็นครั้งคราวไป
เงินได้ประเภทที่ 3 หรือ มาตรา 40(3) คือ เงินได้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
เงินได้ประเภทที่ 4 หรือ มาตรา 40(4) คือ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรต่างๆ
เงินได้ประเภทที่ 5 หรือ มาตรา 40(5) คือ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ
เงินได้ประเภทที่ 6 หรือ มาตรา 40(6) คือ เงินได้จากวิชาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป (แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นที่กฎหมายกำหนด
เงินได้ประเภทที่ 7 หรือ มาตรา 40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง
เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ มาตรา 40(8) คือ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้อื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ใน 7 ประเภท
เปรียบเทียบบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีหลักการคำนวณจากฐานภาษีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้
1.
กำไรสุทธิ
2.
ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
3.
เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
4.
การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
โดยปกติแล้ว ฐานภาษีที่ถูกใช้กันบ่อยที่สุดในการคำนวณภาษีเงินได้ประเภทนี้คือ “กำไรสุทธิ”
ซึ่งกำหนดให้นิติบุคคลดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องเสียและคำนวณภาษี
●
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
●
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มีการกระทำกิจการในประเทศไทย (ไม่ใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ) หรือ มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยที่ทำให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
●
กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
●
กิจการร่วมค้า
ประเภทของภาษีมูลค่าเพิ่ม
VAT ที่ถูกเรียกเก็บจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ
- ภาษีขาย คือ VAT ที่เก็บจากลูกค้า และกิจการต้องนำส่งให้กรมสรรพากร โดยกิจการจะเรียกเก็บ VAT รวมกับค่าสินค้าหรือบริการ หรือจะแยกเก็บภาษีก็ได้
- ภาษีซื้อ คือ VAT ที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการเก็บจากเรา (กิจการผู้ซื้อ) และสามารถนำไปขอคืน หรือนำไปหัก กับภาษีขายได้
โดยผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีดังนี้
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร
3. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน
อย่างไรก็ดี มีผู้ประกอบกิจการบางกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
1
ประเภทภาษีธุรกิจเฉพาะ
กิจการหรือธุรกิจต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีอะไรบ้าง
1.
กิจการธนาคาร
2.
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3.
ธุรกิจประกันชีวิต
4.
กิจการโรงรับจำนำ
5.
การประกอบการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ อาทิ การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน การแลกเปลี่ยนเงินตรา ฯลฯ
6.
การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่นับเป็นการค้าหรือการหากำไร
7.
การซื้อ-ขายคืนหลักทรัพย์
8.
ธุรกิจอื่น ๆ ที่กำหนด อาทิ ธุรกิจแฟ็กเตอริง (Factoring)
ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ กับภาษีธุรกิจเฉพาะ
สำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่เห็นได้บ่อย ๆ ก็คือ ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ถือว่าเป็นการค้าหรือการหากำไรจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอย่างชัดเจน ประกอบไปด้วย
●
การจัดสรรที่ดินขาย
●
การขายห้องชุด หรือคอนโด
●
การขายอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน
●
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าตามข้อ 1 – 3 แต่เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขาย หรือแบ่งแยกไว้เพื่อขาย
●
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ
●
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าข่ายทั้ง 5 ข้อดังกล่าว แต่ว่าได้กระทำภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์นั้นมา
โดยอัตราการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน ขายบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ก็ตาม หากถือครองอสังหาริมทรัพย์น้อยกว่า 5 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่หากถือครองมานานกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) หรือว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนานมากกว่า 1 ปี จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยจะคิดในอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาซื้อขาย หรือราคาประเมิน โดยจะยึดราคาที่สูงกว่าสำหรับการใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณ โดยสูตรการคำนวณสามารถใช้ง่าย ๆ ดังนี้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ = [รายรับก่อนหักรายจ่าย หรือราคาประเมิน x อัตราภาษี 3%] x อัตราภาษีท้องถิ่น 10%
ภาษีธุรกิจเฉพาะ = รายรับก่อนหักรายจ่าย หรือราคาประเมิน x อัตราภาษี 3.3%
การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับ “การยกเว้น เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ”
ถึงแม้ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์จะเป็นธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ว่าก็ยังมีข้อยกเว้นด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การถูกเวนคืน การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือการโอนให้แก่ทายาทโดยธรรม การขายอสังหาหลังจาก 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้มา และการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญ ที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี
เพราะฉะนั้น หากใครที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ ก็สามารถได้รับการยกเว้นการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้ เช่น หากขายบ้านที่ได้รับมาจากมรดก และได้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นเกินกว่า 5 ปี ก็ไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภาษีขายบ้าน) เป็นต้น และถึงแม้ว่าจะได้รับการยกเว้นการเสียภาษี แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย, ค่าอากรแสตมป์ และค่าธรรมเนียมการโอน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการขายบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ต้องวางแผนให้ดี
ลักษณะของภาษีอากรแสตมป์
การเสียภาษีอากรแสตมป์คือการซื้ออากรแสตมป์จากสรรพากรดังกล่าวมาแปะติดเอาไว้ในสัญญา / ตราสาร ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด
อากรแสตมป์ (Stamp Duty) เป็นภาษีในรูปแบบหนึ่ง ที่รัฐจัดเก็บจากการกระทำตราสาร(เอกสารแสดงสิทธิ์ต่างๆ) หรือ ทำสัญญา
ภาระภาษี จะเกิดขึ้นเมื่อกระทำตราสารหรือสัญญานั้นเสร็จสมบูรณ์ คือ การลงลายมือชื่อคู่สัญญา*
ต้องเสียอากรแสตมป์ภายใน 15 วัน หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์
จัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์
ตราสารหรือสัญญาที่กฎหมายกำหนด เช่น
สัญญาจ้างทำของ
สัญญากู้ยืมเงิน
สัญญาค้ำประกัน
สัญญาเช่าที่ดิน
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement)
สัญญาร่วมลงทุน (Joint-venture Agreement)
ตราสารหรือสัญญาที่ทำในประเทศไทย
ตราสารหรือสัญญาที่ทำในต่างประเทศ แล้วนำกลับเข้ามาในประเทศไทย (ต้องเสียอากรภายใน 30 วัน)
การเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น “สัญญาเช่าที่ดิน ผู้ให้เช่า เป็นผู้เสียอากร” “สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ เป็นผู้เสียอากร”
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.accrevo.com/articles/item/228
https://www.prosofterp.com/Article/Detail/160528
https://www.taxbugnoms.co/8-types-of-assessable-income/
https://www.accrevo.com/articles/item/361
https://www.taxbugnoms.co/corporate-income-tax/#phasi_ngein_di_nitibukhkhl_khux_xari
https://www.accrevo.com/articles/item/217
https://www.longtunman.com/38410
https://smemove.com/blog/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/
https://www2.accrevo.com/articles/item/18
?
https://tanateauditor.com/revenue-stamp/
https://www.wayaccounting.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3_Que_
ติดต่องานได้ที่
EasyFinance2055@gamil.com
อาหารเสริมบำรุงสมองและสายตา
สามารถซื้อสินค้าได้ที่นี่
https://s.shopee.co.th/2LFdEZeGMF
https://s.shopee.co.th/7UxjNljjKJ
https://s.shopee.co.th/4AhHPsTsfY
https://c.lazada.co.th/t/c.YcrFpK
https://c.lazada.co.th/t/c.YcrFK8
https://c.lazada.co.th/t/c.YcrFKO
https://c.lazada.co.th/t/c.YcG4yj?sub_id1=https%3A%2F%2Fc.lazada.co.th%2Ft%2Fc.YcrFK8&sub_aff_id=https%3A%2F%2Fc.lazada.co.th%2Ft%2Fc.YcrFpK&sub_id2=https%3A%2F%2Fc.lazada.co.th%2Ft%2Fc.YcrFKO
https://c.lazada.co.th/t/c.YcGfVO?sub_id1=https%3A%2F%2Fc.lazada.co.th%2Ft%2Fc.YcrFK8&sub_aff_id=https%3A%2F%2Fc.lazada.co.th%2Ft%2Fc.YcrFpK&sub_id2=https%3A%2F%2Fc.lazada.co.th%2Ft%2Fc.YcrFKO
ภาษีคือการที่ผู้อ่าน
เสียเงินให้กับทางรัฐบาล
Easy Finance
การเงิน
ธุรกิจ
การลงทุน
5 บันทึก
3
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พื้นฐานเรื่องการเงิน
ภาษีคือเงินของพวกเรา
5
3
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย